ReadyPlanet.com


ภรรยาแอบไปมีชู้ หลอกเงิน ทิ้งลูกไป ค่อนปีแล้ว


สามารถฟ้องหย่าและร้องขอสิทธิ์เลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่

ทางภรรยา เคยแบบมีชู้หลายครั้งแล้ว3-4 ครั้ง แต่ก็เห็นแก่ลูกให้อภัย ทะเลาะกันมาโดยตลอด

เป้นคนไม่ค่อยทำการทำงาน เอาแต่พูดอวดอ้าง ใช้แต่เงินแต่งตัว เที่ยวกลางคืน ทำอะไรไม่เป้นชิ้นเป็นอัน ไม่เคยอยุ่บ้านดูแลลูก  ล้างผลาญสมบัติ หลอกเงินไป แจกเพื่อน(อวดรวย) ไปให้ชายชู้(รู้ที่หลัง) 

ช่วงหลังมานี่จับได้ว่ามีชู้อีกตั้งแต่กลางปีที่แล้ว โทรคุยกะชู้ไปตอนเดือนตุลาให้เค้าเลิกกัน  เธอก็หลอกว่าเลิกกันแล้วแต่จะขอไปเรียนผุ้ช่วยพยาบาลที่กรุงเทพ(หาเงินให้ไป 5หมื่น)  แล้วก้มาขอเงินใช้ช่วงเรียนเรื่อยๆ  พอถึงเวลา3เดือนที่จะเรียนจบก็โทรมาบอกว่า จะไม่กลับแล้ว จะอยุ่กับชายชู้

ทางผมมีรูป เยอะแยะ ทั้งที่เค้าหอมแก้มกัน  ไปเที่ยวด้วยกัน ถ่ายรูปคู่กัน  ทะเบียนสมรสผมกับภรรยา

ผมพยายามโทรตกลงขอหย่าหลายรอบแล้ว เค้าก็เล่นแง่ จะเอาแต่เงิน กลั่นแกล้ง( ผมเองตอนนี้ก็จะมีแฟนใหม่ชีวิตใหม่ เพิ่งคบกัน)

ไม่ทราบว่าผมสามารถฟ้องหย่าและขอสิทธิ์ขาดในการเลี้ยงดูลูกได้หรือไม่  (ทางเค้าต้องการเงินจากผม อ้างว่าจะเอาไปเลี้ยงเอง และมาบังคับจะขอค่าเลี้ยงดู ซึ่งทางเค้าไม่ได้มีรายได้ขนาดที่จะเลี้ยงได้ และผู้หญิงคนนี้ไม่เคยเลี้ยงดู ดูแลเด็กเลยตั้งแต่เกิดไม่เคยให้นม  ไม่เคยจับอาบน้ำ ไม่เคยป้อนข้าวเด็ก เอาแต่แต่งตัวสวยกับไปเที่ยว) 



ผู้ตั้งกระทู้ ชาย :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-25 13:32:03


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2205250)

ฟ้องหย่าได้ครับ และฟังดูแล้วเธอคงยินดีหย่าให้โดยไม่ยุ่งยากนักเพราะตามพฤติการณ์ก็เป็นความประสงค์ของเธออยู่แล้ว

สำหรับเรื่องอำนาจปกครองบุตรนั้น คงต้องมีการพิสูจน์กันอีกเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะให้ใครเป็นผู้เลี้ยงดู หรืออาจจะให้แบ่งกันดูแลก็ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-08-12 15:59:42


ความคิดเห็นที่ 2 (2205251)

ให้อภัยสิทธิฟ้องหย่าหมดไป | จงใจละทิ้งร้าง(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2524)

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันมีบุตร 1 คน เมื่อต้นปี 2519 จำเลยประพฤติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาโดยทะเลาะวิวาทกับโจทก์ ใช้มีดแทงทำร้ายโจทก์ได้รับบาดเจ็บ โจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยามีบุตรด้วยกัน จึงมิได้ร้องทุกข์กล่าวโทษโจทก์ต่อมาจำเลยพาบุตรไปอาศัยอยู่ที่อื่น เป็นการจงใจละทิ้งร้างโจทก์เกินกว่าหนึ่งปี ขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่า ถ้าจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลย และให้จำเลยส่งมอบบุตรมาอยู่ในความปกครองของโจทก์

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่เคยทะเลาะหรือทำร้ายร่างกายโจทก์ พี่สาวโจทก์ทุบตีด่าว่าและไล่จำเลย โจทก์จึงพาจำเลยและบุตรไปอยู่กับมารดาจำเลยแล้วโจทก์ไม่ยอมส่งเสียค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยและบุตร จึงฟ้องแย้งขอให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยและบุตรเดือนละ 3,000 บาทนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะตายและบุตรบรรลุนิติภาวะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-08-12 16:04:02


ความคิดเห็นที่ 3 (2205252)

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2697/2548)

บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์เสมือนเป็นลูกหนี้ร่วมกัน หลังจากหย่าขาดจากกันแล้ว กรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเงินนั้นจากอีกฝ่ายหนึ่งได้แม้บุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม แต่การเรียกร้องเงินดังกล่าวนี้มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปแล้ว

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-08-12 16:06:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล