ReadyPlanet.com


เรื่องร้านโทรศัพท์มือถือครับ


ผมเปิดร้านขายโทรศัพท์มือถือ อยู่จังหวัดชัยภูมิ วันนี้ไปที่ว่าการอำเภอมาปลัดสอบถามว่าได้ทำใบอนุญาติค้าของเก่าเหรอยัง ผมก็ตอบไปว่ายัง เพราะผมขายแต่ของใหม่ไม่ได้ขายของเก่า  แก่ก็เลยตอบมาว่า ไม่ได้ ต้องทำ และเสียค่าธรรมเนียนปีละ5000บาท   ขายเหรอว่าไม่ขายก็ต้องทำเพราะเป็นร้านขายมือถือ  ร้านทองเค้ายังทำเลย

ผมก็งงละครับ   ผมไม่ได้ขายของมือสองเลยแล้วไม่ได้รับซื้อด้วย  ผมทำไม่ต้องทำ    สรุปนะครับ

ผมต้องทำใบอนญาติค้าของเก่าเหรอไม่ ถ้าทำก็ต้องเป็นปีหน้า เพราะใบอนุญาติหมดตามปีปฎิทิน   ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ อภิชาติ :: วันที่ลงประกาศ 2011-08-03 17:35:56


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2211823)

หากแน่ใจว่าขายของใหม่ก็ไม่เข้าข่ายครับ

วันนี้ 5 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 11.00 น. นายสรชาติ ครองยุทธ์ ปลัดอำเภอเมืองอุบลราชธานี ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และชุดจัดระเบียบสังคม จ.อุบลราชธานี ตรวจสอบใบอนุญาตค้าของเก่าร้านจำหน่ายโทรศัพท์บริเวณด้านหน้าห้างบิ๊กซีอุบล จากการตรวจสอบร้านจำน่ายโทรศัพท์ทั้งหมดพบว่ามี อยู่เพียง 3ร้าน ที่ไม่สามารถแสดงใบอนุญาตค้าของเก่าแก่เจ้าหน้าที่ขณะที่ทำการตรวจได้จึงได้เชิญตัวผู้ดูแลร้านพร้อมทั้งยึดโทรศัพท์มือถือ มือสองที่วางขายหน้าร้านทั้งหมด 28 เครื่อง ไว้เป็นขอกลางพร้อมทั้งแจ้งข้อกล่าวหาแก่นายสกุลชัย  อายุ 27 ปี ผู้ดูลาร้านเอ็ม ซี โฟน นายเฉลิมพล  อายุ 28 ปี ผู้ดูแลร้าน ไอที โฟน และ นายนนพิชัย คำสุข อายุ 22 ปี ผู้ดูแลร้าน เลม่อนโฟน ว่า ประกอบการค้าของเก่าโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 12 แห่ง พรบ.การควบคุมการขายทอดตลาด

   นายสรชาติ กล่าวว่าการที่ผู้ประกอบการร้านค้าจะซื้อ หรือ จำหน่ายสินค้ามือสอง จะต้องมายื่นเรื่องขอใบอนุญาตประกอบการค้าค้าของเก่าตาม พรบ การควบคุมการขายทอดตลาด หากผู้ประกอบการรายใดไม่ขออนุญาตตามที่กล่าวมาแล้วนั้นต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 5 หมื่นบาท นายสรชาติยังกล่าวอีกว่าหาผู้ประกอบการรายใดต้องการที่จะขออนุญาตค้าของเก่าสามารถติดต่อยื่นคำร้องที่งานปกครอง ที่ว่าการอำเภอได้ทุกวันราชการโดยมีค่าธรรมเนียม 5000 บาท ต่อปี

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2011-09-01 23:14:39


ความคิดเห็นที่ 2 (2211824)

พระราชบัญญัติ ควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474
 
 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรควบคุมกิจการขายทอดตลาดและ ค้าของเก่าให้ดีขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยบท มาตราต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติควบคุม การขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474"
มาตรา 2* ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2474
*[รก.2474/-/72/24 พฤษภาคม 2474] 
 
มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ "ของเก่า" หมายความว่า ทรัพย์ที่เสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือ จำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้รวมถึงของโบราณด้วย "เสนาบดี" หมายความว่า เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
มาตรา 4* ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบการอาชีพดังต่อไปนี้ โดยมิได้ รับอนุญาตสำหรับกิจการนั้น ๆ จากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต
(1) การขายทอดตลาด นอกจากการขายทอดตลาดซึ่งเจ้าหน้าที่ ของรัฐบาลเป็นผู้ขาย หรือการขายทอดตลาดเพื่อประโยชน์ของสมาคมหรือ สาธารณประโยชน์ ซึ่งรัฐมนตรีสั่งเป็นหนังสือให้ยกเว้นเฉพาะกรณี
(2) การค้าของเก่า นอกจากการค้าของเก่าบางประเภทหรือ บางชนิดซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศยกเว้นในราชกิจจานุเบกษา
ของเก่าซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศยกเว้นดังกล่าวในวรรคก่อน เมื่อเห็น สมควร รัฐมนตรีจะประกาศเพิกถอนการยกเว้นเสียทั้งหมด หรือแต่เพียง บางประเภท บางชนิดก็ได้ ผู้ค้าของเก่าประเภทหรือชนิดซึ่งได้มีประกาศ เพิกถอนการยกเว้นดังกล่าวแล้ว จำต้องรับใบอนุญาตภายในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
*[มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2481]
มาตรา 5 คำร้องขอใบอนุญาตประกอบการอาชีพขายทอดตลาด หรือค้าของเก่านั้น ท่านให้ทำตามแบบที่ระบุไว้ในกฎเสนาบดีและยื่นต่อ เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต
มาตรา 6* ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ร้องขอตามความใน มาตรา 5 เว้นแต่ผู้นั้นจะมีคุณสมบัติและพื้นความรู้ดังต่อไปนี้
(1) มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
(2) มีความรู้หนังสือไทยพออ่านออกเขียนได้ 
 
(3) เป็นผู้ที่ไม่เคยต้องโทษจำคุกตามกฎหมายลักษณะอาญา ภาค 2 ส่วนที่ 5 หมวดที่ 5 หมวดที่ 6 หมวดที่ 7 หมวดที่ 8 และส่วนที่ 9 หมวดที่ 1 หมวดที่ 2 หมวดที่ 3 หมวดที่ 4 หมวดที่ 5 และหมวดที่ 6 *[มาตรา 6 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2495]
มาตรา 6 ทวิ* ใบอนุญาตประกอบการอาชีพขายทอดตลาดหรือค้า ของเก่า หากสูญหายไปในกรณีใดก็ตาม ให้ผู้รับใบอนุญาตไปขอรับใบแทน ใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตภายในระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่ วันสูญหาย
*[มาตรา 6 ทวิ เพิ่มเติมในพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2495]
มาตรา 7 ผู้ทอดตลาดต้อง
(ก) แสดงคำแจ้งความแห่งการขายทุกคราวไว้ ณ สถานที่ขายให้ เห็นได้แจ้ง
(ข) อยู่ ณ ที่ขายในเวลาขายทอดตลาดและพร้อมที่จะแสดงใบอนุญาต ต่อนายตรวจ เมื่อเรียกตรวจ
(ค) มีสมุดบัญชีสำหรับการขายทุกคราว และจดรายการข้อสำคัญ ทั้งปวงแห่งการขายนั้น ๆ ลงไว้
(ฆ) แจ้งวันและสถานที่ขายให้นายตรวจทราบล่วงหน้าอย่างน้อย สามวันเต็ม
(ง) แสดงนามของตนและคำว่า ผู้ทอดตลาด ไว้เหนือประตูชั้นนอก แห่งสำนักงาน
เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถ้านายตรวจประสงค์จะทราบ รายการข้อสำคัญอันเกี่ยวกับทรัพย์ที่ขายและได้มีหนังสือแสดงความประสงค์นี้แล้ว ท่านว่าผู้ทอดตลาดต้องบอกรายการที่ประสงค์นั้น 
 
มาตรา 8* ผู้ค้าของเก่า ต้อง (ก) แสดงนามของตนและคำว่า ผู้ค้าของเก่า ไว้ ณ ที่ทำการค้า ของตน พร้อมทั้งใบอนุญาตในที่อันเห็นได้แจ้ง (ข) มีสมุดบัญชีสำหรับการค้าของตนและจดรายการข้อสำคัญทั้งปวง แห่งการค้าลงไว้ทุกราย สมุดบัญชีตามที่กล่าวนี้ต้องทำตามแบบและนำมาให้ เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตลงนามและประทับตราก่อนทุกเล่ม (ค) แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือนายตรวจ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัย ว่าทรัพย์ที่มีผู้มาเสนอหรือโอนให้ตนนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยทางทุจริต (ฆ) ทำเลขลำดับเป็นเครื่องหมายปิดไว้ที่ของให้ตรงกับเลขลำดับ ในสมุดบัญชีเพื่อสะดวกในการสำรวจ *[มาตรา 8 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2495]
มาตรา 9* ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่า ผู้รับอนุญาตขาดคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในมาตรา 6 (1) (2) หรือต้องคำพิพากษา ถึงที่สุดให้จำคุกตามความผิดซึ่งได้ระบุไว้ตามมาตรา 6 (3) หรือต้องคำพิพากษา ในฐานทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ถึงสองครั้งในปีเดียวกัน
*[มาตรา 9 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2495]
มาตรา 10 เมื่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาต หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกให้แล้วก็ดี ท่านว่าเสนาบดีจะสั่งเปลี่ยนแปลง คำสั่งของเจ้าพนักงานก็ได้ แต่ผู้ร้องหรือผู้รับใบอนุญาตต้องยื่นคำร้องต่อเสนาบดี ภายในสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าวคำสั่งของเจ้าพนักงานเป็นต้นไป
มาตรา 11* ท่านว่าใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้เป็นใบอนุญาต เฉพาะตัว โอนกันไม่ได้ และสมบูรณ์เพียงวันที่ 31 ธันวาคมทุกปี
*[แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2484] 
 
มาตรา 12* ผู้ใดประกอบอาชีพขายทอดตลาดและค้าของเก่า โดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือประกอบอาชีพขายทอดตลาดหรือค้าของเก่า ภายหลังที่ได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับการขาย ทอดตลาดหรือค้าของเก่าประเภทโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุตามกฎหมายว่าด้วย โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ *[มาตรา 12 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535]
มาตรา 12 ทวิ* ผู้รับใบอนุญาตผู้ใด ทำการขายทอดตลาดหรือ ค้า ของเก่าโดยใบอนุญาตขาดอายุหรือทำการขายทอดตลาดหรือค้าของเก่าโดย ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 ทวิ มาตรา 7 มาตรา 8 (ก) (ข) (ฆ) หรือ มาตรา 13 หรือฝ่าฝืนกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองพันบาท
*[มาตรา 12 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535]
มาตรา 12 ตรี* ผู้รับใบอนุญาตประกอบอาชีพขายทอดตลาดหรือค้า ของเก่าผู้ใดไม่แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือนายตรวจ ทันทีเมื่อมีเหตุอันควร สงสัยว่าทรัพย์ที่มีผู้มาเสนอหรือโอนให้ตนนั้นเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึง สามหมื่นบาท 
 
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์ อันเป็นโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท *[มาตรา 12 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535]
มาตรา 12 จัตวา* ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติ นี้เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการ กระทำนั้นตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
*[มาตรา 12 จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535]
มาตรา 13* ในระหว่างตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก นายตรวจและเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีตั้งให้มีหน้าที่ควบคุมการขายทอดตลาด และค้าของเก่า ชอบที่จะเข้าตรวจใบอนุญาต สมุดบัญชี และทรัพย์สิ่งของใน ร้านค้าได้ ผู้รับใบอนุญาตต้องนำใบอนุญาต สมุด บัญชี และทรัพย์สิ่งของตามที่ เรียกตรวจ ออกให้ตรวจโดยทันที
*[มาตรา 13 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2495]
มาตรา 14 บุคคลใดประกอบการอาชีพขายทอดตลาดหรือค้าของเก่า อยู่ในวันประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ ท่านให้ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตภายใน กำหนดสามเดือนนับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นต้นไป 
 
มาตรา 15 ให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่รักษาการให้ เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎเสนาบดี ตั้งเจ้าพนักงาน ผู้ออกใบอนุญาต และนายตรวจกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต และว่าด้วยกิจการอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎเสนาบดีนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ประกาศมา ณ วันที่ 15 พฤษภาคม พุทธศักราช 2474 เป็นปีที่ 7 ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2011-09-01 23:19:54



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล