ReadyPlanet.com


คดีแพ่ง ถูกฟ้องญาติยายเรียกที่ดินมรดก


 รบกวนช่วยชี้แนะด้วยคะ ตามีภรรยาสองคน มีลูกกับยายคนที่ 1 ภายหลังยายคนที่ 1 คลอดแม่แล้วออกจากบ้านไป ยายคนที่ 2 ไปแจ้งเกิดเป็นมารดาผู้กำเนิด มีตาคือบิดาผู้ให้กำเนิด เวลาผ่านไปตาได้เสียชีวิตไป เหลือยายกับแม่เป็นผู้รับมรดกที่ดินและเงิน ภายหลังยายได้แต่งงานใหม่จดทะเบียนสมรส หลังจากนั้นยายได้เสียชีวิตลง เหลือแต่แม่ของดิฉันกับตาที่ยายแต่งงานใหม่ ตอนแบ่งมรดกตาไม่ขอรับมรดกที่ดิน จึงไปเซ็นยินยอมสละมรดกที่ดินให้แม่ทั้งหมด แต่พอเวลาผ่านไป 2 ปีญาติข้างยายฟ้องเรียกมรดกที่ดินคืนโดยอ้างว่าเป็นที่ดินเก่าของยาย และกล่าวหาว่าแม่แอบอ้างเป็นบุตรของยายคำถามคือ 1. แม่มีสิทธิได้เท่าเทียมกับลูกแท้ๆหรือเปล่าคะ 2. ญาติสามารถทำการฟ้องเรียกที่ดินคืนได้ไหมคะ 3. แม่สามารถฟ้องกลับได้หรือไม่คะ ๅ



ผู้ตั้งกระทู้ คนน่าสงสาร :: วันที่ลงประกาศ 2014-08-24 14:17:17


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3711675)

1. แม่มีสิทธิได้เท่าเทียมกับลูกแท้ๆหรือเปล่าคะ

ตอบ - เมื่อเอกสารที่ทางราชการออกให้ว่าแม่เป็นบุตรของยาย ย่อมต้องสันนิษฐานว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามเอกสารทางราชการออกให้ หากผู้ใดเกิดความเสียหายจากการแจ้งข้อความอันเท็จก็ต้องไปดำเนินการร้องขอให้ศาลเพิกถอนความเป็นมารดากับบุตรซึ่งก็เป็นรายละเอียดที่จะต้องไปว่ากันในชั้นศาล แต่ตราบใดที่เอกสารยังแสดงว่าแม่เป็นบุตรของยายย่อมมีสิทธิเสมือนแม่เป็นบุตรของยายทุกประการครับ

2. ญาติสามารถทำการฟ้องเรียกที่ดินคืนได้ไหมคะ

ตอบ - คำว่า "ญาติ" คือใครครับ หากพิจารณาคำตอบตามข้อ 1. เมื่อคุณแม่เป็นบุตรของยายอยู่ตราบใด ญาติอื่น ๆ ย่อมถูกตัดโดยทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ไปแล้ว และสามีชอบด้วยกฎหมายของยายสละมรดกไปแล้ว ญาติจึงไม่มีสิทธิในขณะที่ยายมีทายาทลำดับที่ 1 อยู่ครับ

3. แม่สามารถฟ้องกลับได้หรือไม่คะ

ตอบ - จะฟ้องกลับในประเด็นใดครับ ยังไม่เข้าใจคำถามครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2014-09-24 17:20:13


ความคิดเห็นที่ 2 (3711700)

สิทธิรับมรดกก่อนหลัง น้องชายร่วมบิดาเป็นทายาทลำดับที่ 4, ลุงเป็นทายาทลำดับที่ 6 เสียชีวิตมีบุตรรับแทนที่

เจ้ามรดกผู้ตายมีน้องชายร่วมบิดาเดียวกัน(ลำดับที่ 4) และมีบุตรชอบด้วยกฎหมายของลุงซึ่งลุงเสียชีวิตแล้ว(ลำดับที่ 6)บุตรของลุงจึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ลุงของผู้ตายเมื่อลุงเป็นทายาทลำดับที่ 6 จึงถูกน้องชายลำดับที่ 4 ตัดไม่ให้ได้รับมรดกเพราะทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดก

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2014-09-24 18:32:18



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล