ReadyPlanet.com


ใครเป็นผู้ฟ้อง(ถนนนี้เป็นถนนสาธารณะไหมคะ)


กทม.ทำถนนผ่าเข้าไปในที่ดินเอกชนโดยเจ้าของที่ดินไม่ได้คัดค้าน ชาวบ้านจึงใช้สัญจรมาเป็นเวลา 30-40 ปี จนเข้าใจกันว่าเป็นถนนสาธารณะของกทม. ต่อมาเจ้าของที่ดินตายจึงยกที่ดินดังกล่าวให้ทายาท ๆ ได้ทำรั้วเหล็กปิดถนนไม่ไห้ชาวบ้านใช้สัญจรได้อีก แล้วได้เทปูนปิดพื้นถนนและคูน้ำกทม.เป็นเนื้อเดียวกันดูรวมเป็นที่ดินผืนเดียวที่ไม่เคยมีถนนตัดผ่านเหมือนก่อน พร้อมทั้งถอนป้ายชื่อซอยที่ทางกทม.ปักเอาไว้ออกเสีย  ชาวบ้านต้องเปลี่ยนไปใช้ถนนอีกสายที่ไกลกว่าและเป็นถนนแบบเดียวกับที่ดินแปลงแรกแต่เจ้าของที่ดินยังไม่ได้ปิดถนน สำหรับดิฉันได้ซื้อที่ดินข้างในก่อนถูกปิดถนน 1ปี กรณีนี้ดิฉัน หรือชาวบ้านที่ไม่ได้มีที่ดินบริเวณนี้แต่ใช้สัญจรมายาวนาน หรือ กทม.เป็นผู้ฟ้องเจ้าของที่ดินที่ปิดถนนคะ และจะฟ้องไต่สวนฉุกเฉินให้เปิดถนนได้ไหมคะแลั ถนนนี้เป็นถนนสาธารณะไหมคะ



ผู้ตั้งกระทู้ หงส์ :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-06 15:43:35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2224595)

ถนนดังกล่าวยังไม่เป็นถนนสาธารณะครับแม้จะได้ใช้มาเป็นเวลานานเกิน 10 ปีก็ตามครับ แต่ถนนดังกล่าวอาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินแปลงที่ใช้ถนนนี้ออกสู่ถนนสาธารณะได้ แต่ก็ต้องให้ศาลมีคำสั่งครับ

สำหรับ กทม. คงไม่ฟ้องเพราะไม่มีอำนาจฟ้องครับ เจ้าของที่ดินยังไม่ได้ยกให้เป็นที่ดินของ กทม. ครับ และ กทม ก็คงไม่เป็นโจทก์ฟ้องเพราะไมได้รับความเสียหายจากการปิดถนนครับ

ส่วนเรื่องการไต่สวนฉุกเฉินเป็นขั้นตอนของการดำเนินคดีครับ โจทก์มีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อศาลได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-10-12 10:40:54


ความคิดเห็นที่ 2 (2224598)

เพียงทำหนังสือแสดงเจตนายกให้เป็นทางสาธารณปรโยชน์ไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย

ที่ดินแปลงดังกล่าวเดิมมีชื่อเจ้าของรวม 3 คน คือ นายชื้น, นายช้วน, นายล้วน  ต่อมานายชื้นได้ทำหนังสือยกทางให้เป็นทางสาธารณประโยชน์กว้าง 6 เมตร ยาวตลอดแนวเขตที่ดิน ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2505  และเมื่อปี 2508 ยังมีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้อีก 1 ฉบับ การบันทึกเมื่อปี 2508 นายช้วนกับนายล้วน ทำหนังสือมอบอำนาจให้นายชื้นทำนิติกรรมแทนด้วย การยกที่ดินให้ให้เป็นทางสาะาระณประโยชน์ไม่ได้จดทะเบียนยกให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่  ภายหลังชาวบ้านใช้เป็นทางเข้าออกหมู่บ้านโดยตลอด จึงเป็นทางสาธารณะแล้ว แต่เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนว่ามีการยกให้เป็นทางสาธารณะ ในปี 2518 จึงไปพบนายชื้นและให้ทำบันทึกยืนยันว่าแสดงเจตนายกให้เป็นทางสาธารณะแล้ว  หลังจากนั้นการเคหะแห่งชาติวางท่อประปาเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านมีน้ำใช้ ซึ่งเจ้าของใหม่ก็ไม่ได้คัดค้านแต่อย่างใด นอกจากนี้การเคหะแห่งชาติยังปรับปรุงทางพิพาทเป็นถนนลาดยางอีกด้วย ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งเทศบาลตำบลปากเกร็ด ทางพิพาทจึงอยู่ในความดูแลของเทศบาลตำบลปากเกร็ด


คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4377/2549(คลิ๊ก)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-10-12 10:52:13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล