ReadyPlanet.com


พ่อเป้นข้าราชการตำรวจจดทะเบียนสมรสใหม่ค่ะ


อยากทราบว่าตอนนี้พ่อได้จดทะเบียนสมรสใหม่แต่มีลูกกับภรรยาเก่า 3 คนถ้าเกิดพ่อเสียชีวิต ลูกจะมีสิทธิในมรดกอย่างไรคะ



ผู้ตั้งกระทู้ ศุภพิชญ์ (milk-internet-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-08-25 16:27:21


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2221075)

พ่อจดทะเบียนสมรสใหม่ ต้องดูว่าก่อนจดทะเบียนสมรสใหม่พ่อมีทรัพย์สินอะไรก่อนที่จะจดทะเบียนสมรสใหม่เพื่อแยกทรัพย์สินของพ่อว่าอะไรเป็นสินส่วนตัว และอะไรเป็นสินสมรสกับภริยาใหม่

เมื่อทราบสินส่วนตัวแล้ว ก็มาแยกสินสมรสดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าเมื่อแบ่งครึ่งแล้วตกเป็นของพ่อ ดังนั้นนำสินส่วนตัวก่อนสมรสและสินสมรสมารวมกัน อันถือว่าเป็นมรดกของพ่อ

เมื่อพ่อเสียชีวิตมรดกของพ่อตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของพ่อ  แล้วทายาทโดยธรรมของพ่อคือใครบ้าง????

มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
 

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635

มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการ รับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่ง เสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) แต่มี ทายาทตาม มาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้น ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตาม มาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
(4) ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมี ชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด

กรณีตามคำถามนั้นเห็นว่า พ่อจดทะเบียนสมรสใหม่ มีบุตรกับภรรยาเก่า 3 คน ไม่มีบุตรกับภรรยาใหม่ ดังนั้นทายาทโดยธรรมคือ บุตร 3 คน + ภรรยาใหม่ รวม 4 คน (ปู่กับย่าเสียชีวิตแล้ว) กฎหมายบอกว่า คู่สมรสของพ่อได้ส่วนแบ่งเสมือนว่าเป็นทายาทชั้นบุตร จึงนำมรดกของพ่อมาแบ่งเป็น 4 ส่วนและทุกคนได้คนละส่วนเท่า ๆ กัน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-09-29 13:46:28


ความคิดเห็นที่ 2 (2221106)

โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรของผู้ตาย ๆ จดทะเบียนสมรสใหม่กับจำเลย ต่อมาโจทก์และจำเลยตกลงแบ่งทรัพย์มรดกโดยทำเป็นหนังสือสัญญาแบ่งมรดก โจทก์ขอเป็นผู้จัดการมรดก จำเลยอ้างว่าได้ทำหนังสือสัญญาแบ่งมรดกโดย
 โจทก์ทั้งสองกระทำหลอกลวงโดยฉ้อฉลจำเลยว่า ทรัพย์มรดกของผู้ตายมีเพียงเท่าที่โจทก์แจ้ง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยทราบถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายก่อนทำหนังสือสัญญาแบ่งมรดก ดังนั้นสัญญาแบ่งมรดกไม่ตกเป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ทั้งสองมิได้กระทำการปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลจำเลยในการทำหนังสือสัญญาแบ่งมรดกดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว ในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายที่มิได้ระบุว่าที่ดิน 2 แปลง ที่จังหวัดนครสวรรค์ด้วย ก็ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดินดังกล่าวอันเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองถูกกำจัดมิให้ได้มรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  686/2548(คลิ๊ก)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-09-29 15:28:30



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล