ReadyPlanet.com


คดียึดทรัพย์


บริษัท ก. ไปฟ้องยึดทรัพย์บริษัท ข.  แต่ไม่รู้ว่า มี ธนาคาร ค. เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์  บริษัท ก. เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญา  หนี้ซึ่งธนาคาร หรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์มีมากเกินกว่าทรัพย์ที่ยึดมาทรัพย์อยู่ระหว่างการบังคับคดี  แต่มีผู้ร้องขัดทรัพย์  จึงยังไม่สามารถบังคับคดีได้ เพราะต้องรอศาลสั่ง  ต่อมา ธนาคาร ค. ได้มีคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิ์

ถามว่า ธนาคาร ค. จะสามารถทำได้หรือไม่อย่างไร  และบริษัท ก. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาจะทำอย่างไร  (บริษัท ก. ประสงค์จะบังคับคดี) รบกวนช่วยชี้แนะด้วยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ เมย์ :: วันที่ลงประกาศ 2011-08-23 19:47:38


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2219830)

แต่ไม่รู้ว่า มี ธนาคาร ค. เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ

ตอบ ข้ออ้างว่าไม่รู้ว่าธนาคารเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธินั้นฟังไม่ขึ้นครับ เพราะเขาแสดงอยู่ในเอกสารสิทธิอยู่แล้วเช่น ในฐานะผู้รับจำนอง ซื้อฝาก หรืออะไรก็ตาม

ถามว่า ธนาคาร ค. จะสามารถทำได้หรือไม่อย่างไร

ตอบ  สามารถทำได้ครับ

มาตรา 287 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 288 และ มาตรา 289 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการบังคับคดีแก่ ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย

และบริษัท ก. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาจะทำอย่างไร  (บริษัท ก. ประสงค์จะบังคับคดี)

ตอบ สืบทรัพย์อื่น ๆ ของลูกหนี้และบังคับคดีได้ภายใน 10 ปี นับศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-09-25 12:25:16


ความคิดเห็นที่ 2 (2219831)

สิทธิของ-เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และเจ้าหนี้อื่น ๆ

สิทธิของผู้รับจำนองต่อทรัพย์ที่จำนองในกรณีที่ทรัพย์จำนองถูกเจ้าหนี้อื่นยึดไว้ขายทอดตลาดนั้นต้องเป็นไปตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 289 คือให้นำเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ดังกล่าวได้นำมาชำระหนี้ให้กับผู้รับจำเนองก่อน หากมีเงินเหลือเจ้าหนี้อื่นจึงจะขอรับชำระหนี้ได้

เจ้าหนี้จำนองย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่ผู้จำนองเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยแม้ว่าผู้จำนองจะไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่ทรัพย์ถูกยึดนำออกขายทอดตลาดก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ผู้รับจำนองในฐานะเป็นบุคคลภายนอกจะใช้สิทธิของเจ้าหนี้จำนองซึ่งถือว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายเพื่อรับชำระหนี้จำนองในส่วนของทรัพย์ที่ผู้จำนองเป็นเจ้าของรวม

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2550
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-09-25 12:30:00


ความคิดเห็นที่ 3 (2219833)

มาตรา 289 ถ้าบุคคลใดชอบที่จะบังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ หรือชอบที่จะได้เงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้นได้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ก็ดี หรืออาศัยอำนาจแห่ง บุริมสิทธิก็ดี บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่อาจบังคับเอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองหลุด ผู้รับจำนองจะมีคำขอดั่งกล่าวข้างต้นให้เอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองนั้นหลุดก็ได้

ในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ อันได้ไปจดทะเบียนไว้นั้น ให้ยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออก ขายทอดตลาด ส่วนในกรณีอื่น ๆ ให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนส่งคำบอก กล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 319

ถ้าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เอาทรัพย์ที่จำนองหลุด การยึดทรัพย์ที่ จำนองนั้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ในกรณีอื่น ๆ ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต ตามคำร้องขอเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะได้รับแต่เงินที่เหลือ ถ้าหากมี ภายหลังที่หักชำระค่าธรรมเนียมการบังคับจำนองและ ชำระหนี้ผู้รับจำนองหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแล้ว

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-09-25 12:32:38



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล