ReadyPlanet.com


บุตรที่เกิดด้วยกันและรับรองเอกสารว่าเป็นบุตรจะเรียกค่าเลี้ยงดูจากบิดาที่รับราชการได้หรือไม่


มีบุตรด้วยกันมีการแต่งงานกันอยู่ด้วยกันตั้งแต่สามีของดิฉันยังไม่รับราชการอยู่ด้วยกันประมาณ5ปี  ก็เข้ารับราชการแต่ก็ไม่ได้จดทะเบียนสมรถกัน  เพระดิฉันชวนก็ปฏิเสธไม่ยอม  เพราะว่าไม่ได้อยู่ด้วยกันตลอด  สามีดิฉันจึงห่างเหินไปมีใหม่  และไม่ส่งเสียบุตรที่เกิดร่วมกัน

ดิฉันอย่ากทราบว่า

1. จะสามารถฟ้องเพื่อเรียกร้องค่าเลี้ยงดูได้หรือไม่เพราะทางสามีดิฉันยังไม่ได้จดทะเบียนกับใคร

2.ถ้าได้จะต้องนำเอกสารใดไปยื่นกับใคร  ที่ไหน 

กรุณาตอบกลับทางอีเมลด้วยนะคะ



ผู้ตั้งกระทู้ pooh (boomboom_oneday-at-hotmail-dot-co-dot-th) :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-06 11:53:01


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2224407)

1. จะสามารถฟ้องเพื่อเรียกร้องค่าเลี้ยงดูได้หรือไม่เพราะทางสามีดิฉันยังไม่ได้จดทะเบียนกับใคร

ตอบ การที่จะเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรได้นั้นต้องให้บิดาและบุตรมีฐานะเป็นบิดาและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนครับ ส่วนทางสามีคุณจะไปจดทะเบียนสมรสกับใครหรือไม่ก็ไม่มีผลถึงความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตรครับ ดังนั้นในกรณีของคุณสามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีครับ เอกสารที่สำคัญคือใบสูติบัตรที่มีชื่อบิดาแสดงในฐานะบิดาผู้ให้กำเนิดครับ

มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบ ด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จด ทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

เมื่อศาลมีคำสั่งว่าเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็เกิดสิทธิและหน้าที่กันตามกฎหมาย กล่าวคือบิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร และแม้บุตรเองก็มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดาด้วย

มาตรา 1563 บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา

มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควร แก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะ ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้

ในทางปฏิบัติแล้วการที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้นก็สามารถดำเนินการในคราวเดียวกันกับการขอคำสั่งศาลว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเลยครับ จะได้ไม่ต้องเสียเวลา

2.ถ้าได้จะต้องนำเอกสารใดไปยื่นกับใคร  ที่ไหน 

ตอบ-วิธีการดำเนินการนั้นต้องติดต่อทนายความดำเนินการให้ครับ ทนายความจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องเอกสารเองครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-10-11 15:26:17


ความคิดเห็นที่ 2 (2224412)

ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรเกิดหน้าที่แก่บิดา
 เมื่อศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรแล้ว หน้าที่ของบิดาก็เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายคือหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ นอกจากนั้นเกิดสิทธิในการใช้อำนาจปกครองด้วยซึ่งรวมถึงสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตรได้ด้วย ในคดีนี้ สามีฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้เด็กหญิง ญ. (บุตรนอกกฎหมาย)เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตน และขอให้ตนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร  และอุปการะเลี้ยงดู ส่วนภริยา(นอกกฎหมาย)ฟ้องแย้งขอให้บิดา(สามี)เด็กจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง  การฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวเนื่องจากฟ้องของโจทก์ที่ขอให้เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนั่งเอง ศาลฎีกาเห็นว่าการฟ้องแย้งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะไม่จำเป็นต้องรอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนจึงจะมาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาเด็กในภายหลังเป็นการเสียเวลา

            คำพิพากษาศาลฎีกาที่6996-6997/2550(คลิ๊ก)
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-10-11 15:33:32


ความคิดเห็นที่ 3 (2224419)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  635/2550(คลิ๊ก)
ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนเด็กหญิงอันธิกาผู้เยาว์เป็นบุตรของผู้ร้อง

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-10-11 15:51:50


ความคิดเห็นที่ 4 (2224420)

บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร
อยู่กินฉันสามีภริยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตร 1 คน สามีฟ้องภริยาว่าใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวบุตรมิชอบ ขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองโดยให้สามีเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ต่อสามีภริยาทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าให้สามีไปจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร  ให้บุตรไปอยู่กับสามี หากผิดสัญญาบังคับได้ทันที ศาลพิพากษาตามยอม ต่อมาสามียื่นคำร้องต่อศาลว่าภริยาผิดสัญญา ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าสามีเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คดีนี้ได้ความว่า สามียังไม่ได้ไปจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ดังนั้น สามีจึงยังไม่เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของบุตร จึงไม่อาจบังคับคดีให้สามีเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6981/2547(อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่)

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-10-11 15:53:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล