ReadyPlanet.com


สอบถาม เรื่อง สารเสพติดประเภท 1 ยาไอซ์ มีไว้ครอบครองและพยายายามจำหน่าย


รบกวนสอบถามเรื่อง ยาเสพติพประเภท 1 ยาไอซ์  ขนาดน้ำหนัก0.35 กรัม น้ำหนักไม่รวมถุงประมาณ 0.04 กรัม  ตำรวจได้มีการจับกุมก่อนที่จะมีการจำหน่ายเกิดขึ้น

1. มีตำรวจได้มี การล่อซื้อและจับของกลางได้ คือ ยาไอซ์ชนิดเกล็ดขาว และโทรศัพท์มือถือ และมีหมายเลขโทศัพท์โดยให้สายลับโทรศัพท์ไป แต่ยังไม่ได้จำหน่ายโดยตำรวจจับได้และให้ผู้ต้องหารับสารภาพว่ามีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่าย คือจะทราบว่าถ้าตั้งข้อหานี้ เป็นคดีร้ายแรงใช่ไหมคะ แล้วโอกาสที่เราจะยื่นอุธรณ์เป็นไปได้ไหมคะ  แล้วถ้าไม่สามารถยื่นอุธรณ์มีโอกาศที่จะทำให้หนักเป็นเบาได้ไหมคะ

2. ยาเสพติดประเภท 1 ยาไอซ์ ขนาด 0.04 กรัม ถือว่ามีไว้ครอบครองและพยายามจำหน่ายได้ไหมคะ ถ้าในปริมาณขนาดของยาไม่เกิน 1 กรัม  การจำคุก ประมาณกี่ปีได้คะ

3. เนื่องจากผู้ต้องหาเค้าไม่เคยโดนคดีจำหน่าย แต่เคยโดนคดีเสพ  ศาลเค้าจะเอาดคีมารวมกันไหมคะ แล้วจะเพิ่มข้อหารึป่าวคะ

4. ถ้าผู้ต้องหา มีบุพพการีที่ต้องดูแลและป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม ไม่มีญาติมาดูแล และถ้ามีโทษจำคุก มากกว่า 5 ปี จะร้องขอความเห็นใจจากศาลได้ไหมคะ



ผู้ตั้งกระทู้ สารเสพติดประเภท 1 ยาไอซ์ :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-26 18:39:41


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2229402)

. มีตำรวจได้มี การล่อซื้อและจับของกลางได้ คือ ยาไอซ์ชนิดเกล็ดขาว และโทรศัพท์มือถือ และมีหมายเลขโทศัพท์โดยให้สายลับโทรศัพท์ไป แต่ยังไม่ได้จำหน่ายโดยตำรวจจับได้และให้ผู้ต้องหารับสารภาพว่ามีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่าย คือจะทราบว่าถ้าตั้งข้อหานี้ เป็นคดีร้ายแรงใช่ไหมคะ แล้วโอกาสที่เราจะยื่นอุธรณ์เป็นไปได้ไหมคะ  แล้วถ้าไม่สามารถยื่นอุธรณ์มีโอกาศที่จะทำให้หนักเป็นเบาได้ไหมคะ

ตอบ-  การตั้งข้อกล่าวหาต้องดูจากพฤติการณ์แวดล้อม กรณีตามคำถามได้ข้อเท็จจริงว่ามีการล่อซื้อ ดังนั้นเมื่อพบยาเสพติดของกลางได้จากผู้ต้องหา ถือได้ว่าผู้ต้องหามีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนของสารเสพติดของกลาง เป็นคดีร้ายแรงครับ

2. ยาเสพติดประเภท 1 ยาไอซ์ ขนาด 0.04 กรัม ถือว่ามีไว้ครอบครองและพยายามจำหน่ายได้ไหมคะ ถ้าในปริมาณขนาดของยาไม่เกิน 1 กรัม  การจำคุก ประมาณกี่ปีได้คะ

ตอบ - ครอบครองเพื่อจำหน่ายครับ คำตอบตามข้อ 2 คือไม่ต้องคำนึงถึงจำนวน อาจมีบางคนสับสนว่าข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามมาตรา 15 เป็นคุณแก่ผู้ต้องหา จริง ๆ ไม่เป็นคุณครับคือถ้าปริมาณมีเท่ากับมาตรา 15 กฎหมายให้สันนิษฐานว่าเป็นอย่างที่กฎหมายสันนิษฐานคือผิดแล้ว เว้นแต่ผู้ต้องหาจะพิสูจน์ได้เป็นอย่างอื่น แต่ไม่ได้หมายความว่าหากน้อยกว่าจำนวนที่กำหนดดังกล่าวจะไม่สามารถตั้งข้อกล่าวหาใด ๆ ได้

มาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เว้นแต่รัฐมนตรีได้อนุญาตเฉพาะในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
(1) เด็กซ์โตรไลเซอร์ไยด์ หรือ แอล เอส ดี มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ศูนย์จุดเจ็ดห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปหรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่สามร้อยมิลลิกรัมขึ้นไป
(2) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป
(3) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 นอกจาก (1) และ (2) มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามกรัมขึ้นไป

3. เนื่องจากผู้ต้องหาเค้าไม่เคยโดนคดีจำหน่าย แต่เคยโดนคดีเสพ  ศาลเค้าจะเอาดคีมารวมกันไหมคะ แล้วจะเพิ่มข้อหารึป่าวคะ

ตอบ - ถ้าได้พ้นโทษมาแล้วเกิน 5 ปี หรือได้รับประโยชน์จาก พรบ. ล้างมลทินฯ ก็คงเพิ่มโทษไม่ได้ครับ

4. ถ้าผู้ต้องหา มีบุพพการีที่ต้องดูแลและป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม ไม่มีญาติมาดูแล และถ้ามีโทษจำคุก มากกว่า 5 ปี จะร้องขอความเห็นใจจากศาลได้ไหมคะ

ตอบ - คดีเกี่ยวกับยาเสพติด ศาลถือว่าเป็นคดีร้ายแรง คงคาดหวังยากครับ แต่อย่างไรก็ตามเป็นสิทธิของจำเลยทุกคนที่จะขอความเมตตาจากศาลได้ครับ ศาลจะพิจารณาอย่างไรก็ว่ากันอีกเรื่องหนึ่งครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-11-03 15:23:41



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล