ReadyPlanet.com


คู่สมรสแอบไปค้ำประกันเงินกู้โดยไม่ได้รับความยินยอม


กรณีที่คู่สมรสแอบไปค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยา (แอบบอกว่าเป็นโสด) ไม่ทราบว่าจะสามารถไปเพิกถอนการทำนิติกรรมนั้นได้หรือไม่คะ และกรณีที่มีคู่สมรสแล้วบอกว่าเป็นโสดนั้นมีความผิดทางกฎหมายอย่างไรบ้างคะ และมีบทลงโทษอย่างไรจะได้ไปบอกกับคู่สมรสค่ะ

 

                                                                                                 



ผู้ตั้งกระทู้ รุ่งรัตน์ (rungrat6974-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-10-14 18:30:34


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2231746)

การค้ำประกัน ถ้าไม่ต้องนำสินสมรสไปเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการสินสมรส คู่สมรสจัดการหรือดำเนินการได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งครับ

ถามว่าเพิกถอนได้หรือไม่ พิจารณาแล้วคุณยังไม่ได้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้เพิกถอนนะครับ แต่หากเจ้าหนี้รู้เขาจะดำเนินการอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขาเพราะการค้ำประกันเป็นเรื่องเฉพาะตัว เจ้าหนี้ไม่ได้ขอหลักประกัน แสดงว่าผู้ค้ำประกันมีความน่าเชื่อถือ หากลูกหนี้ผิดนัดก็บังคับเอากับผู้ค้ำประกันได้

โดยสรุปคือสัญญาค้ำประกันไม่เสียไป ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันแม้จะแจ้งเท็จว่าเป็นโสดก็ตามครับ และคุณไม่ต้องรับผิดชดใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้ แต่เจ้าหนี้นำยึดทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสส่วนของคู่สมรสได้ครึ่งหนึ่งครับ

มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความ ยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยา จัดการได้มิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง


 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-11-13 12:51:27



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล