ReadyPlanet.com


เรียกร้องค่าเสียหายเงินดาวน์ในการเช่าซื้อตามมูลละเมิด


  จุดปรสงค์มีดังนี้ค่ะ

1. ต้องการเรียกร้องค่าเสียหาย โดยให้คู่กรณีชดใช้ในส่วนเกินจากที่ประกันจ่ายให้ ได้หรือไม่

2. ค่าเสียประโยชน์จากการใช้รถยนต์จะต้องใช้เกณฑ์ใดในการคำนวตัวเงิน

เหตุการณ์มีดังนี้ค่ะ

            สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ รถยนต์เก๋ง ของข้าพเจ้า ได้จอดติดสัญญาณไฟจราจรอยู่ที่บริเวณสี่แยกอเวนิว เกษตร-นวมินทร์ จนกระทั่งได้มีรถยนต์ ของคู่กรณี นาย B พุ่งมาชนรถยนต์ที่มีข้าพเจ้าเป็นผู้ขับ และได้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน

            ต่อมาข้าพเจ้าได้ให้บริษัทประกันดำเนินการจัดซ่อมรถยนต์ซึ่งทางบริษัทแจ้งให้ทราบว่าจะใช้เวลาในการซ่อมแซมไม่ต่ำกว่า ๒ ซึ่งทางบริษัทได้ประเมินความเสียหาย เป็นจำนวนเงิน ๒๗๙,๒๗๗ บาท โดยให้ความเห็นว่า ไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ในสภาพดีอย่างเดิมและคุณค่าของรถยนต์คันดังกล่าวได้เสื่อมไปมากกว่าปกติประกอบกับข้าพเจ้าเพิ่งซื้อรถยนต์คันดังกล่าวมาเป็นเวลาแค่ ๑๐ เดือน โดยซื้อ-ขาย เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  ข้าพเจ้าจึงมีความประสงค์ต้องการคืนซากรถยนต์คันดังกล่าว โดยบริษัทประกันได้ให้ข้าพเจ้าทำหนังสือแสดงความยินยอมในการคืนซาก ((แต่ข้าพเจ้าเกรงว่าหากข้าพเจ้าทำแล้วจะเกิดผลเสียต่อข้าพเจ้าคือ เจ้าหนี้จะเปลี่ยนจากข้าพเจ้าไปเป็น บริษัทประัภัยซึ่งอาจทำให้ข้าพเจ้าไม่สามารถเรียกร้องสิทธิใดๆ ได้อีก))

                โดยบริษัทจะคืนเงินทุนประกันทั้งสิ้น 490,000 ให้กับไฟแนนซ์ เพื่อหักค่าค้างชำระทั้งสิ้น 267,213 บาท ข้าพเจ้าได้รับเงินในส่วนนี้ 213,787 ซึงข้าพเจ้ามียอดที่ข้าพเจ้าได้ชำระไปแล้วทั้งสิ้น 362,007 บาท โดยแบ่งเป็นเงินดาวน์ 300,000 เงินที่ผ่อน11 งวด 62,007 บาท

                ข้าพเจ้ามีความสงสัยว่าข้าพเจ้าสามารถเรียกร้องส่วนต่างจากคู่กกรณีเป็นจำนวนเงิน 148,220 บาท เพื่อให้เท่ากับมูลค่าเดิมที่ข้าเจ้าได้เสียไปได้หรือไม่คะ

แล้วสำหรับค่าเสียประโยชน์จากการใช้รถจะคิดคำนวณอย่างไร ??

  



ผู้ตั้งกระทู้ i :: วันที่ลงประกาศ 2011-12-22 16:33:10


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2249872)

1. ต้องการเรียกร้องค่าเสียหาย โดยให้คู่กรณีชดใช้ในส่วนเกินจากที่ประกันจ่ายให้ ได้หรือไม่

ตอบ - โดยหลักแล้ว ผู้ใดมาทำละเมิดกับเราจนทำให้เราได้รับความเสียหาย ย่อมต้องรับผิดแห่งการทำละเมิดนั้น ในกรณีตามคำถามนั้น เมื่อประกันภัยได้รับผิดตามสัญญาประกันภัยแล้วก็ยังไม่ครอบไปถึงค่าเสียหายที่เราได้รับ ส่วนที่ขาดอยู่จำนวนใด ผู้ทำละเมิดย่อมต้องรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินค่าเสียหายที่ผู้ทำละเมิดจะต้องรับผิดนั้นจะเป็นจำนวนเท่าใดนั้นคงต้องคำนึงตามความเป็นจริง เช่น ต้องพิสูจน์ว่า หากรพยนต์ไม่ได้รับความเสียหายแล้ว รถยนต์ของคุณมีการซื้อขายกันในท้องตลาดที่ราคาใด ไม่ใช่เรียกราคาโดยใช้จำนวนเงินที่ชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อไปแล้วคงไม่ได้เพราะรถยนต์ของคุณได้ใช้ประโยชน์ตลอดมานับแต่วันที่เช่าซื้อย่อมเสื่อมราคา คือต้องหักค่าใช้รถยนต์ 10 เดือนออกไปด้วย ส่วนจะหักเท่าใดนั้นนอกจากต้องดูราคาท้องตลาดแล้ว ศาลจะกำหนดให้ตามที่เห็นสมควรครับ

2. ค่าเสียประโยชน์จากการใช้รถยนต์จะต้องใช้เกณฑ์ใดในการคำนวตัวเงิน

ตอบ - กรณีที่คุณคืนซากให้แก่ผู้รับประกันภัย ผมมองว่าไม่น่าที่จะเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ได้หรือหากเรียกได้ก็จะไม่คุ้มค่าดำเนินคดี แต่ในกรณีที่ไม่คืนซาก โดยให้ช่างซ่อมนั้น ตามปกติก็ต้องอ้างอิงค่าใช้จ่ายจากการจัดหารถยนต์อื่นมาทดแทนหรือการที่ต้องใช้จ่ายในการเดินทางโดยพาหนะอื่น เช่น เช่ารถยนต์ หรือใช้บริการรถแท็กซี่ หรือหากนำรถยนต์ออกให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละเท่าใดเป็นต้น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-02-02 07:59:39



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล