ReadyPlanet.com


เรื่องของลูกสาว


คือมีเรื่องจะถามนะครับคือผมได้แยกกับภรรยาไปกว่า 5-6 ปีแล้ว แต่ทางยายเขาเอาลูกสาวผมไปเลี้ยงตั้งแต่ 3 ขวบ

จนถึง 11 ขวบทางบ้านผมก็พอส่งเสียบ้างและก็ยังรับลูกไปเที่ยวซื้อของบ้างแต่ตอนนี้ลูกสาวอยากมาอยู่กับผมส่วนทางภรรยาเก่าเขาก็มีสามีใหม่ ส่วนผมก็มีภรรยาใหม่แล้วและก็เข้ากับลูกสาวผมได้ดี  ติดตรงที่ขอยายเขาให้ยกลูกสาวผมคืนนี้ละครับ ไม่ยอมเพราะลูกสาวผมเอ่ยปากจะมาเที่ยวเล่นบ้านผมทางยายชอบต่อว่าผมเลยตัดสินใจจะใช้ทางกฏหมายนี้ละครับเพื่อเอาลูกคืนเพราะกลัวเด็กจะเป็นเด็กเก็บกดเขาโทรมาหาผมที่ไรร้องอยากจะอยู่กับผมตลอดเกือบ 5-6 ปี ช่วยชี้แนะที่ครับว่าผมจะทำไงดี



ผู้ตั้งกระทู้ จักรพันธุ์ :: วันที่ลงประกาศ 2014-10-28 11:33:53


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3872988)

 ข้อเท็จจริงไม่ได้บอกมาว่าทางคุณเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของบุตรหรือไม่? กล่าวคือ มีการจดทะเบียนสมรสกับภรรยาเดิมหรือไม่? หรือมีการไปจดทะเบียนรับรองบุตรหรือไม่? ซึ่งจากที่เล่ามานั้นแนวโน้มเข้าใจว่าไม่ใช่บิดาชอบด้วยกฎหายของบุตร หรือบุตรสาวเป็นบุตรนอกสมรส 

กรณีที่คุณเป็นบิดานอกกฏหมาย ย่อมไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกัน เบื้องต้นเลยจะต้องไปจดทะเบียนรับรองบุตรเสียก่อน แต่การจดทะเบียนรับรองบุตรนั้นมีเงื่อนไขว่าจะต้องให้มารดาเด็กไปให้ความยินยอมด้วย และเด็กนั้นมีอายุที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะให้ความยินยอมด้วยตนเองได้ เช่นเด็กควรจะมีอายุ 8 - 9 ปี เจ้าหน้าที่จึงจะดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรให้ ซึ่งกรณีของคุณเด็กอายุ 11 ปี แล้วจึงสามารถให้ความยินยอมได้แล้ว

ในกรณีที่มารดาเด็กไม่ไปให้ความยินยอมก็ต้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งให้คุณจดทะเบียนรับรองบุตรได้แทนการให้ความยินยอมของมารดาเด็กได้ครับ

เมื่อศาลอนุญาตให้คุณจดทะเบียนรับรองบุตรแล้วและทางมารดาเด็กไม่ได้มาคัดค้านอะไร จะมีผลทางกฎหมายว่าคุณเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายและมีอำนาจปกครองร่วมกับมารดา

ขั้นตอนต่อไปหากว่าข้อเท็จจริงปรกฏว่า มารดาเด็กไม่อุปการะเลี้ยงดูบุตร ย่อมมีเหตุถอนอำนาจปกครองของมารดาที่มีต่อบุตรได้และคุณขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวได้ แต่ศาลจะพิจารณาเป็นประการใดก็ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แวดล้อมที่ศาลได้จากรายงานสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและแยาวชนที่ทำความเห็นไปถึงศาล และหากได้ความว่าเด็กได้ไปให้ถ้อยคำที่สถานพินิจฯ ว่าประสงค์จะกับบิดา ก็จะเป็นประโยชน์แก่คดีของบิดาทีขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว

 

ไอดีไลน์  ID line  :    leenont

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258 วันที่ตอบ 2015-09-20 12:48:41



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล