ReadyPlanet.com


เจ้าของอู่ซ่อมรถร้องเรียนตำรวจ


  ร.ต.อ.ภาคิน  ฯขับรถเก๋งไปจอดบนถนนหน้าตลาดสด  แม่ค้าขับรถถอยหลังมาชนด้านหน้ารถได้รับความเสียหาย แม่ค้าตกลงยินยอมซ่อมรถให้กับ ร.ต.อ.ภาคิน ฯ ให้อยู่ในสภาพเดิม  มีการลงบันทึกประจำวันที่ สภ.ฯ เป็นที่เรียบร้อย และพากันไป ที่อู่ซ่อมรถแห่งหนึ่งในเมือง  โดย แม่ค้าและสามีแม่ค้าบอกกับเจ้าของอู่ซ่อมรถว่าจะรับผิดชอบออกค่าซ่อมแซมรถของ ร.ต.อ.ภาคิน ฯ ทั้งหมด  แต่ไม่ได้มีบันทึกการสั่งซ่อม หรือลงเอกสารใด ๆ  เนื่องจาก เจ้าของอู่รถเคยรู้จักกับ ร.ต.อ.ภาคิน ฯ  และสรุปค่าใช้จ่ายทั้งค่าอะไหล่ รวมค่าแรง 70,000  บาท   พอถึงเวลาเอารถออก ร.ต.อ.ภาคิน ฯ ก็มาขับรถออกไป ก่อนขับรถออกไป เจ้าของอู่ได้โทรศัพท์หาแม่ค้า  แม่ค้าบอกว่าอีกสองวันจะนำเงินมาชำระทั้งหมดที่อู่   เจ้าของอู่พูดว่า หากอีกสองวัน แม่ค้าไม่ชำระค่าซ่อม ขอให้ ร.ต.อ.ภาคิน ฯ สำรองจ่ายก่อนได้ไหม  หรือไม่ก็เอารถมาจอดไว้ก่อน   ร.ต.อ.ภาคิน ฯ บอกว่า ไม่มีปัญหา   พอครบสองวัน แม่ค้ามาที่อู่รถบอกว่า ตอนนี้ยังหาเงินไม่ได้สักบาทเลย  เจ้าของร้านทวงถามแม่ค้าอีกหลายครั้ง แม่ค้านำเงินมาจ่ายให้ครึ่งหนึ่ง เจ้าของอู่ไม่ยอมรับจะขอทีเดียวหมดเลย  และทวงถามเอากับ ร.ต.อ.ภาคิน ฯ  แต่ ร.ต.อ.ภาคิน ฯ บอกว่าไม่ใช่หน้าที่ของตนที่จะต้องมาจ่ายให้  ขอให้ไปฟ้องร้องเอากับ แม่ค้าฝ่ายที่่มาชนรถตน  ท้าทายกัน  เจ้าของอู่ซ่อมรถไม่พอใจ จึงทำหนังสือร้องเรียนไปยังผู้บังคับบัญชาของ ร.ต.อ.ภาคิน ฯ แจ้งว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม   

         ถามว่า    1 . การกระทำของ ร.ต.อ.ภาคิน ฯ ที่ไม่ยอมสำรองเงินจ่ายให้อู่ก่อน จะผิดอะไรบ้าง  ทางแพ่งหรือทางอาญา  หรือทางวินัยของข้าราชการ 

                        2.  เจ้าของอู่ซ่อม จะสามารถฟ้องร้องเรียกค่าซ่อมและค่าอะไหล่ จากใครในกรณีนี้ได้บ้างครับ  ต้องฟ้องภายในระยะเวลาเท่าใด  

 



ผู้ตั้งกระทู้ พานทองเทียม :: วันที่ลงประกาศ 2014-09-19 20:22:12


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3745758)

1 . การกระทำของ ร.ต.อ.ภาคิน ฯ ที่ไม่ยอมสำรองเงินจ่ายให้อู่ก่อน จะผิดอะไรบ้าง  ทางแพ่งหรือทางอาญา  หรือทางวินัยของข้าราชการ

ตอบ - ผิดสัญญาจ้างทำของ ไม่เป็นความผิดทางอาญา และทางวินัยของข้าการครับ


                       
2.  เจ้าของอู่ซ่อม จะสามารถฟ้องร้องเรียกค่าซ่อมและค่าอะไหล่ จากใครในกรณีนี้ได้บ้างครับ  ต้องฟ้องภายในระยะเวลาเท่าใด 

ตอบ - ใครเป็นคู่สัญญาก็ฟ้องได้หมด ในกรณีนี้ต้องรับผิดทั้งสองคนเลยเป็นลูกหนี้ร่วม อู่ซ่อมรถเป็นผู้ประกอบการเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปี

มาตรา 193/34  สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้  ให้มีกำหนดอายุความสองปี
(1)  ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปอุตสาหกรรมหรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
(2) ...

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258 วันที่ตอบ 2014-12-10 09:49:44


ความคิดเห็นที่ 2 (3745790)

คำพิพากษาที่  1343/2551

 กรณีที่ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี นั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) บัญญัติยกเว้นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของกำหนดอายุความดังกล่าวไว้ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดข้อยกเว้นโดยให้พิจารณาถึงกิจการของฝ่ายลูกหนี้เป็นสำคัญ กรณีใดจะเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวหรือไม่ จึงไม่จำต้องคำนึงว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าหนี้ด้วยหรือไม่

          จำเลยที่ 1 ซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์นำไปจำหน่ายหรือนำไปผสมเป็นคอรกรีตผสมเสร็จจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ย่อมถือได้ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้นั้นเอง อันเป็นกรณีที่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี แต่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2014-12-10 12:29:43



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล