ReadyPlanet.com


การลงโทษพนักงาน กรณีที่บริษัทไม่ได้จัดทำกฏ ระเบียบข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษร


เนื่องจากว่า พนักงานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ได้กระทำความผิด กล่าวคือ ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่หัวหน้างานได้มอบหมายให้ทำ ทั้งนี้ หัวหน้างานได้มีการแบ่งงานใหม่ระหว่างพนักงานท่านนี้ซึ่งทำงานกับบริษัทมานาน กับพนักงานใหม่ที่เพิ่งเข้ามาเริ่มงาน เนื่องจากหัวหน้างานได้รับแจ้งรายละเอียดจากกรรมการผู้จัดการว่า พนักงานท่านนี้มีปัญหาสุขภาพ ส่งผลทำให้การทำงานขาดประสิทธิภาพ (เช่น คำนวณค่าจ้างพนักงานผิดพลาด ไม่มีการติดตามงาน เป็นต้น) ซึ่งหัวหน้างานได้มีการปรับเปลี่ยนงานใหม่ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน และเป็นการลดความเสี่ยงต่อบริษัทอันเนื่องมาจากการหย่อนสมรรถภาพในการทำงานของพนักงานท่านนั้น ซึ่งหัวหน้างานได้เรียกพนักงานมาแจ้งให้รับทราบด้วยวาจา แต่ปรากฏว่าพนักงานยังเลือกที่จะปฏิบัติงานที่ตนเองต้องการจะทำอยู่ในบางเรื่อง โดยไม่แจ้งให้หัวหน้างานทราบ และเมื่อหัวหน้างานทราบก็ได้แจ้งเตือนพนักงานถึงหน้าที่ใหม่ที่ได้รับผิดชอบ แต่ก็ยังปรากฏว่าพนักงานยังคงทำเช่นเดิม นอกจากนี้ ยังพบว่าในปี 2556 พนักงานท่านนี้ได้ลาป่วย แต่ไม่มีการลงบันทึกการลาตามแนวปฏิบัติที่กำหนด ซึ่งกรณีที่พนักงานลาจะต้องกรอกไบลาและยื่นขออนุมัติ แต่เนื่องจากปี 2556 นั้น ตำแหน่งหัวหน้างานของพนักงานท่านนี้ว่าง ไม่มีผู้ปฏิบัติงาน พนักงานท่านนี้เลยปฏิบัติตนตามใจตนเอง (นึกอยากจะลาก็ลา แต่ไม่เคยส่งใบลา) เมื่อหัวหน้างานเข้ามาเริ่มงาน ได้กำหนดเป้าหมายในการทำงานให้กับพนักงานท่านนี้ และพอถึงกลางปีได้มีการประเมินผลการทำงาน ซึ่งปรากฏว่าผลการทำงานไม่มีความคืบหน้า ซึ่งหัวหน้างานได้สอบถาม แต่พนักงานกลับอ้างว่าที่งานไม่คืบหน้าเพราะหัวหน้างานใช้ตนให้ไปทำหน้าที่อื่นเพิ่มเติม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว งานที่หัวหน้างานมอบหมายเพิ่มเติมนั้น คือการนัดหมายผู้สมัครงาน ซึ่งคำสั่งดังกล่าวนี้ถือเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฏหมาย เพราะในสภาวะทั่วไป พนักงานในทีมท่านอื่นก็ได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนพนักงานท่านนี้ ซึ่งไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง นอกจากนี้ พนักงานยังเขียนเมลล์ถึงกรรมการผู้จัดการกล่าวหาว่า หัวหน้างานมีอคติส่วนตัวต่อตนเอง เพราะตนเองพยายามทำงานอย่างเต็มที่แล้ว (ซึ่งในความเป็นจริงกรรมการผู้จัดการทราบดีว่า ผลการทำงานของพนักงานท่านนี้ไม่โอเค แต่ไม่เคยแจ้งให้พนักงานรับทราบโดยตรง) นอกจากนี้ พนักงานท่านนี้ยังส่งเมลล์ถึงหัวหน้างานพร้อมทั้ง สำเนาถึงกรรมการผู้จัดการว่า ตนเองต้องการเข้าไปปรึกษาหัวหน้างาน แต่หัวหน้างานมักปิดประตูคุยเรื่องส่วนตัว ซึ่งในความเป็นจริง หัวหน้างานต้องมีการประชุมกับทีมงาน หรือพนักงานแผนกอื่นที่มาปรึกษาปัญหาด้านงานบุคคล และเป็นเรื่องลับ จำเป็นต้องปิดประตู ในกรณีนี้ หัวหน้างานสามารถเอาผิดกับพนักงานได้หรือไม่ กรุณาแนะนำด้วย



ผู้ตั้งกระทู้ line manager :: วันที่ลงประกาศ 2014-09-17 08:31:46


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3744300)

จากข้อเท็จจริงที่เล่ามา หัวหน้างาน กับพนักงาน ต่างอยู่ในฐานะของลูกจ้างด้วยกันทั้งคู่ กรณีที่พนักงานส่งเมลล์ถึงกรรมการผู้จัดการ หากข้อความไม่เป็นการใส่ความให้ได้รับความเสียหายก็คงไม่มีช่องจะเอาผิดได้ การที่เขาเมลล์แจ้งกรรมการผู้จัดการสามารถมองว่าเป็นการเข้าใจโดยสุจริตว่า หัวหน้างานปิดประตูคุยเรื่องส่วนตัว เพราะเป็นเรื่องยากแก่การพิสูน์ และโดยพฤติการณ์ข้อความดังกล่าวยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องร้ายแรงทำให้หัวหน้างานเสียหายที่จะเอาผิดกับพนักงานได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258 วันที่ตอบ 2014-12-07 12:58:21



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล