ReadyPlanet.com


อยากจำนองบ้านแต่ติดมีชื่อลูกด้วยอายุ17 ทำให้จำนองไม่ได้


 คือ ตัวดิฉันและสามี ซื้อบ้านและที่ดินไว้ 1 หลังที่ จ.เชียงใหม่ เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดีประสบปัญหาทางการเงินจึงตัดสินใจยื่นเรื่องขอทำจำนองบ้านกับแบงค์ แต่ปัญหาคือ ตอนโอนกรรมสิทธิ์ แฟนใส่ชื่อลูกสาวเข้าไปด้วยซึ่งปัจจุบันลูกสาวมีอายุ 17 ปีกว่าๆทำให้ไม่สามารถทำการจำนองที่ดินดังกล่าวได้ค่ะ

 
อยากขอเรียนปรึกษาท่านผู้รู้ค่ะ
 
ว่าดิฉันควรทำอย่างไรจึงจะจำนองบ้านได้ค่ะ/มีหนทางใดบ้างค่ะ


ผู้ตั้งกระทู้ คุณแม่ :: วันที่ลงประกาศ 2014-09-15 15:11:51


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3743901)

การที่สามีใส่ชื่อลูกสาวให้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินแปลงดังกล่าวตามคำถาม มีผลทำให้ลูกสาวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับบิดาของเขา เมื่อไม่มีการระบุส่วนของที่ดินว่าใครมีส่วนคนละเท่าใดกฎหมายให้สันนิษฐานว่ามีส่วนเท่า ๆ กัน ตามมาตรา 1357  "ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วน เท่ากัน " ตามปกติการจำนองสามารถทำได้เฉพาะส่วนของตัวเองคือสามารถจำนองเฉพาะส่วนของพ่อได้ แต่ส่วนใหญ่เจ้าหนี้จะไม่อยากได้เพราะบังคับคดียาก หากจะให้ดีก็ยื่นขอแบ่งแยกโฉนดที่ดินไปเลยก็ได้ แต่ในกรณีนี้ต้องใช้เวลานานมากเนื่องจากจะต้องขออนุญาตศาลเสียก่อน

 


เจ้าของรวมจดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน-ยึดขายทอดตลาดได้


การจำนองไม่ผูกพันตัวทรัพย์ทั้งหมด การที่จำเลยเจ้าของรวมคนหนึ่งจดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตนต่อโจทก์จึงเป็นการจำนองเฉพาะส่วนแห่งสิทธิของตนเท่านั้น ย่อมไม่กระทบถึงส่วนแห่งสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า หากจำเลยไม่ชำระให้ยึดที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์

 


การซื้อขายทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวม

เจ้าของผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับคนอื่น และมิได้แบ่งแยกว่าส่วนของใครอยู่ตอนไหนและมีเนื้อที่เท่าใด ถือว่าผู้มีชื่อในโฉนดซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันจึงยังเป็นเจ้าของรวมอยู่ตามส่วนที่ตนถือกรรมสิทธิ์ ที่นาส่วนที่ซื้อขายตามสัญญาจะได้ระบุที่ดินเนื้อที่ 5 ไร่ 1 งานที่ตกลงซึ่งขายกันนั้นเป็นการซื้อขายตัวทรัพย์ มิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วน ของผู้ขาย การขายตัวทรัพย์ที่ถือกรรมสิทธิ์รวมนั้น เจ้าของรวมคนหนึ่งจะกระทำได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน

 

 

การแบ่งแยก
-  กรณีผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถ ขอทำบันทึกข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซึ่งผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับบุคคลอื่นอยู่ จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เนื่องจากบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามนัยมาตรา ๘๕๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ตอบข้อหารือจังหวัดนนทบุรี ที่ มท ๐๖๐๘/๙๖๖๑ ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๒ เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๖๐๘/ว ๙๙๑๐ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๑๒)


เจ้าของรวมขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของตน

การเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่มิได้ระบุว่าเจ้าของรวมคนใดเป็นเจ้าของที่ดินส่วนไหน กรรมสิทธิ์รวมของเจ้าของรวมแต่ละคนย่อมครอบไปเหนือที่ดินทั้งแปลง

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258 วันที่ตอบ 2014-12-06 12:09:51


ความคิดเห็นที่ 2 (3743902)

สิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นทรัพย์สินของผู้เยาว์

สัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นนิติกรรมเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของผู้เยาว์นั้น ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือบิดา มารดา จะกระทำแทนผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ไม่ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นผู้เยาว์จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ก็ตาม ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2014-12-06 12:23:07



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล