ReadyPlanet.com


ปรึกษาเรื่องบ้านถูกยึดขายทอดตลาดค่ะ


ขอรบกวนเรียนถามท่านทนายดังนี้ค่ะ

                พ่อหนูมีอาชีพรับราชการและได้กู้เงินจาก ธอส. มาสร้างบ้านราคาประมาณหนึ่งล้านบาท  ต่อมาพ่อขาดส่งกับ ธอส. ศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดบ้านหลังนั้นตั้งแต่ปี 50  จนปัจจุบันยังขายทอดตลาดไม่ได้  หนูขอรบกวนถามข้อสงสัยตามนี้ค่ะ

1.               การขายทอดตลาดจะมีระยะเวลานานเท่าไหร่คะ แล้วถ้าขายไม่ได้จริง ๆ จะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป

2.               อีก 8 ปี พ่อหนูจะเกษียณอายุราชการ ทางธนาคารจะมีการอายัดเงินบำนาญพ่อไหมคะ  แล้วจะมีการฟ้องล้มละลายหรือไม่คะ

3.               มีบางคนบอกว่า ถ้าขายทอดตลาดแล้วเงินยังไม่พอกับที่กู้ จะต้องมีการใช้เงินส่วนที่ขาด กรณีนี้ถ้าพ่อหนูมีเงินใช้ไม่พอ หนี้สินนี้จะตกมาถึงลูกไหมคะ หนูจะต้องรับผิดชอบด้วยหรือเปล่า

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ปา :: วันที่ลงประกาศ 2012-03-18 20:05:02


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2261286)

1. การขายทอดตลาดจะมีระยะเวลานานเท่าไหร่คะ แล้วถ้าขายไม่ได้จริง ๆ จะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป

ตอบ - ระยะเวลาขายไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ แต่ขายได้แน่นอนครับ แต่ยิ่งขายยากยิ่งขายได้ราคาถูกเป็นเหตุให้ลูกหนี้ต้องรับผิดส่วนที่ขาดสูง ดังนั้นแนะนำให้ไปดูแลการขายและไปคัดค้านราคาไว้ หรือหาบุคคลมาซื้อในราคาที่เหมาะสม

2.   อีก 8 ปี พ่อหนูจะเกษียณอายุราชการ ทางธนาคารจะมีการอายัดเงินบำนาญพ่อไหมคะ  แล้วจะมีการฟ้องล้มละลายหรือไม่คะ

ตอบ -  เงินบำนาญ อายัดไม่ได้ครับ สำหรับฟ้องล้มละลายหรือไม่? ถ้าหนี้มีจำนวน 1,000,000 บาท เจ้าหนี้ก็มีสิทธิฟ้องล้มละลายได้ครับ

มาตรา 286 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นสิทธิ เรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความ รับผิดแห่งการบังคับคดี
 (1) เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ และเงินรายได้เป็น คราว ๆ อันบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพเป็นจำนวนตาม ที่ศาลเห็นสมควร
 (2) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และเบี้ยหวัดของข้าราชการ หรือลูกจ้างของรัฐบาล และเงินสงเคราะห์หรือบำนาญที่รัฐบาลได้จ่าย ให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น
 (3) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์หรือรายได้ อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงานนอกจากที่ กล่าวไว้ใน (2) ที่นายจ้างจ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้นหรือคู่สมรส หรือ ญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้นเป็นจำนวนตามที่ศาลเห็นสมควร
 (4) เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับอันเนื่อง มาแต่ความตายของบุคคลอื่น เป็นจำนวนตามที่จำเป็นในการดำเนิน การฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตายที่ศาลเห็นสมควร
 ในการกำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) ให้ศาลกำหนดให้ ไม่น้อยกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น ทั้งนี้โดยคำนึงถึงฐานะในทางครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และจำนวนบุพการีและผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาด้วย
 ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกคำสั่งอายัดตาม มาตรา 311 วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจกำหนดจำนวนเงิน ตาม (1) (3) และ (4) และให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับแก่ การกำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) โดยอนุโลม แต่ถ้าเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วน ได้เสียในการบังคับคดีไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับ คดีกำหนด บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการกำหนดจำนวนเงินเช่นว่านั้น เพื่อขอให้ศาล กำหนดจำนวนเงินใหม่ได้
 ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งการดำรงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้เปลี่ยนแปลงไป บุคคลตามวรรคสามจะยื่นคำร้องให้ศาลหรือ เจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี กำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) ใหม่ก็ได้
 คำสั่งของศาลที่เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนเงินตาม มาตรานี้ ให้ อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล อุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
 

3.   มีบางคนบอกว่า ถ้าขายทอดตลาดแล้วเงินยังไม่พอกับที่กู้ จะต้องมีการใช้เงินส่วนที่ขาด กรณีนี้ถ้าพ่อหนูมีเงินใช้ไม่พอ หนี้สินนี้จะตกมาถึงลูกไหมคะ หนูจะต้องรับผิดชอบด้วยหรือเปล่า

ตอบ - หนี้ของใครคนนั้นก็รับผิดชอบเอาเอง เจ้าหนี้จะมายึดทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-03-19 13:17:43


ความคิดเห็นที่ 2 (2264069)

  ขอบคุณท่านทนายมากค่ะ หนูขอรบกวนถามอีกนิดค่ะว่าถ่ากรณีพ่อหนูเสียชีวิตลง หนี้สินนี้จะมีผลกับหนูไหมคะ ขอบคุณมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปารมี วันที่ตอบ 2012-03-31 23:16:16


ความคิดเห็นที่ 3 (2264156)

ทายาทไม่ต้องรับผิดชอบหนี้สินของผู้ตายเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับมาจากผู้ตายครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-04-01 13:28:15



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล