ReadyPlanet.com


ผู้ค้ำประกัน


สวีสดีครับ

ผมมีข้อสงสัยอยากรบกวนสอบถามเรื่องเกี่ยวกับการเช่าซื้อรถยนตร์ เรื่องมีว่า

 ในปี 2004 ผมได้ไปค้ำประกันการซื้อรถยนตร์ให้กับญาติ กับบริษัท จี อี  หลังจากนั้นปี 2006 ทางบริษัท จี อี ได้ทำการยึดรถคันดังกล่าวคืนไป ในวันที่ยึดรถได้มีการทำข้อตกลงการค้ำประกันใหม่โดยเปลี่ยนชื่อผู้ที่ค้ำประกันใหม่(หากมีปัญหา)

 ต่อมาปี 2010 ได้มีผู้แจ้งว่ารถคันดังกล่าวยังมียอดส่วนต่างจากการขายทอดตลาดอยู่ 45000 บาท ผมจึงได้ชี้แจงตามข้อมูลข้างต้น โดยผู้ที่แจ้งจะเป็นบริษัท อยุทธยา แคปปิตอล จำกัด ในปี 2011 และ 2012 ก็มีการดำเนินการเหมือนเช่นเดิม คือมีเจ้าหน้าที่โทรมาแจ้งและมีหนังสือให้ติดต่อกลับ

 อยากทราบว่ากรณีนี้ผมควรทำอย่างไรครับ รบกวนด้วยครับ

  ขอบคุณล่างหน้า

 



ผู้ตั้งกระทู้ ปรีชา :: วันที่ลงประกาศ 2012-03-17 15:05:53


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2261014)

จากข้อเท็จจริงที่เล่ามานั้น ยังไม่แน่ใจว่ามีข้อตกลงเปลี่ยนตัวผู้ค้ำประกันเป็นคนใหม่สำเร็จหรือไม่? เพราะในทางปฏิบัติ ผู้ให้เช่าซื้อไม่ค่อยให้ความร่วมมือที่จะเปลี่ยนตัวผู้ค้ำประกัน ดังนั้นหากได้ข้อยุติเกี่ยวกับตัวผู้ค้ำประกันว่า ได้เปลี่ยนไปเป็นบุคคลอื่นแล้ว คุณในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นหรือรับผิดชอบตามข้อตกลงใหม่ซึ่งก็ต้องไปสอบถามข้อมูลกับผู้เช่าซื้อให้ได้ความชัดเจนเสียก่อนครับ

ในปี 2010 ทางผู้ให้เช่าซื้อคงได้โอนสิทธิเรียกร้องไปให้บริษัท อยุธยา.. ซึ่งสามารถทำได้ ตรงนี้ไม่ใช่ประเด็นครับ สำหรับคำแนะนำน่าจะได้ไปเจรจาไกล่เกลี่ยประนอมหนี้กับทาง บริษัท อยุธยา หากตกลงกันได้ก็อาจไม่ต้องถูกฟ้องครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-03-18 09:47:58


ความคิดเห็นที่ 2 (2261019)

มาตรา 680    อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
--อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

 มาตรา 681    อันค้ำประกันนั้นจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์
 --หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขจะประกันไว้เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้ นั้นอาจเป็นผลได้จริงก็ประกันได้
 ---หนี้อันเกิดแต่สัญญาซึ่งไม่ผูกพันลูกหนี้ เพราะทำด้วยความสำคัญผิดหรือเพราะเป็นผู้ไร้ความสามารถนั้นก็อาจจะมีประกันอย่างสมบูรณ์ได้ ถ้าหากว่าผู้ค้ำประกันรู้เหตุสำคัญผิดหรือไร้ความสามารถนั้นในขณะที่เข้าทำสัญญาผูกพันตน

มาตรา 682    ท่านว่าบุคคลจะยอมเข้าเป็นผู้รับเรือนคือเป็นประกันของผู้ค้ำประกันอีกชั้นหนึ่งก็เป็นได้
 --ถ้าบุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันไซร้ท่านว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้นมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่ามิได้เข้ารับค้ำประกันรวมกัน

 มาตรา 683    อันค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัดนั้นย่อมคุ้มถึงดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระตลอดจนค่าภารติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นด้วย

 มาตรา 684    ผู้ค้ำประกันย่อมรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้แต่ถ้าโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้นั้นก่อนไซร้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันหาต้องรับผิดเพื่อใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมเช่นนั้นไม่

 มาตรา 685    ถ้าเมื่อบังคับตามสัญญาค้ำประกันนั้น ผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนและอุปกรณ์ด้วยไซร้หนี้ยังเหลืออยู่เท่าใด ท่านว่าลูกหนี้ยังคงรับผิดต่อเจ้าหนี้ในส่วนที่เหลือนั้น

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2012-03-18 10:11:10



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล