ReadyPlanet.com


อำนาจของผู้จัดการนิติบุคคล คอนโดมีเนียม


ผมซื้อคอนโดไ้ว้ที่ห้องหนึ่งครับ ซึ่งเมื่อก่อนเรียกเก็บค่าส่วนกลางเป็นรายเดือน ต่อมามีการประชุมเจ้าของร่วมประจำปี และเปลี่ยนแปลงเป็นเรียกเก็บล่วงหน้าเป็นรายปี ซึ่งเป็นเงินที่มากพอสมควร รวมทั้งเรียกเก็บค่าปรับจากเงินค่าส่วนกลาง ซึ่งในครั้งนั้นผมไม่ได้เ้ข้าร่วมประชุมเนื่องจากอยู่ต่างประเทศ และไม่ได้พักอาศัยที่คอนโด  ทำให้ขำระค่าส่วนกลางล่าช้าจนต้องเสียค่าปรับ ตาม พ.ร.บ. อาคารชุด ปี ๕๒ และ ระเีบียบทีี่นิติ ฯ กำหนดขึ้นมา ซึ่งมีผมก็ได้ชำระค่าส่วนกลางจนครบ ในเวลาต่อมา แต่ยังมีค่าปรับค่าชำระไม่จบ จนเกิดความสงสัย และได้ทำจดหมายลงทะเบียนถึงผู้จัดการคอนโด ขอให้ชี้แจงเรื่องค่าปรับเป็นลายลักษณ์อักษร หลายครั้ง แต่ผู้จัดการก็ไม่ตอบ ผมมีข้อสงสัยดังนี้

1. ผู้จัดการมีอำนาจที่จะไม่ตอบผมในฐานะเจ้าของร่วมที่ได้ความเดือดร้อนหรือไม่

2. วิธีการเรียกเก็บค่าปรับ จะเห็นว่า เป็นการเรียกเก็บค่าปรับจากค่าส่วนกลางที่ค้างชำระล่วงหน้า เช่น กำหนดให้จ่ายล่วงหน้า 1 ปี โดยชำระภายในเดือน ม.ค. แต่ ผมไปชำระ ในเดือน มี.ค. แต่เรียกเก็บค่าปรับผมจากยอดทั้งหมด คือทั้งปี จะเป็นการเรียกเก็บค่าปรับที่ิผิดกฎหมาย เนื่องจากเป็นการเรียกเก็บจากเงินล่วงหน้าหรือไม่

3. การเรียกเก็บค่าปรับ ไม่ได้มีการคิดเป็นรายวัน แต่เรียกเก็บทั้งเดือน ผมชำระโดยโอนผ่านธนาคารในวันที่ 31 มี.ค. แต่ทางนิติฯ ออกใบเสร็จให้ผม ในวันที่ ๒ เม.ย. เนื่องจากติดวันหยุด โดยอ้างว่าระบบคอมพิวเตอร์ตัดช่วงเช้า แต่ผมโอนเงินช่วงบ่าย และแฟกซ์สำเนาในโอนเงินให้ช่วงบ่าย ทำให้ผมต้องเสียค่าปรับ เพิ่มขึ้นอีกเดือน ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง เพราะระบบธนาคารยังยึดถือวันที่ชำระเงินเป็นหลัก นอกจากนั้นยังนำเงินค่าส่วนกลางที่ชำระไปชำระค่าปรับก่อน ทำให้ผมค้างค่าส่วนกลาง เพื่อเรียกค่าปรับผมอีกในเดือนถัดไป จึงสงสัยว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำที่เกินอำนาจและผิดกฎหมายหรือไม่

4. จากกฎหมาย พ.ร.บ.อาคารชุด และระเบียบข้อบังคับ ฯ ที่ออกมา ไม่ได้กำหนดรายละเอียด คงกำหนดว่า เสียค่าปรับร้อยละ 12 ต่อปี แต่การที่ผู้จัดการและนิติบุคคลมาตีความเอง โดยอาจเลือกปฏิบัติ หรือกระทำการจนเกินกว่าเหตุ รวมทั้งไม่สนใจความเดือดร้อนของเจ้าของร่วม โดยอ้างว่า เป็นมติที่ประชุม แต่มาดำเนินการเอง โดยอาจไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของเจ้าของร่วมที่เข้าร่วมประชุมในวันนั้น ตลอดจนไม่สนใจในการชี้แจง ทำให้ผมสงสัยในการบริหารงานของผู้จัดการและนิติบุคคล ว่าอาจมีการทุจริตเกิดขึ้น โดยอาศัยช่องว่างของกฎหมาย ผมจะสามารถแจ้งว่าดำเนินคดี ทั้งในส่วนของการคิดค่าปรับที่เกินกว่าเหตุ การไม่ตอบจดหมาย หรือการบริหารงานได้หรือไม่ครับ



ผู้ตั้งกระทู้ เอก :: วันที่ลงประกาศ 2012-03-15 21:21:05


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2261043)

ขอแสดงความเห็นเท่าที่เข้าใจนะครับ เนื่องจากผมไม่ค่อยคุ้นเคยกับ พ.ร.บ. อาคารชุด หากท่านผู้รู้ท่านใดผ่านมาพบคำถามช่วยตอบให้กับผู้ถามเป็นวิทยาทานด้วยนะครับ

1. ผู้จัดการมีอำนาจที่จะไม่ตอบผมในฐานะเจ้าของร่วมที่ได้ความเดือดร้อนหรือไม่

ตอบ - พอตอบได้ว่า เราไม่มีสิทธิที่จะไปบังคับให้เขาตอบหรือไม่ตอบเพราะคงไม่มีกฎหมายรับรองกำหนดบังคับให้ผู้จัดการนิติบุคคลดำเนินการและมีบทลงโทษไว้ แต่ไม่ตัดสิทธิของเจ้าของรวมที่จะใช้สิทธิทางศาลในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้จัดการนิติบุคคลได้ครับ

2. วิธีการเรียกเก็บค่าปรับ จะเห็นว่า เป็นการเรียกเก็บค่าปรับจากค่าส่วนกลางที่ค้างชำระล่วงหน้า เช่น กำหนดให้จ่ายล่วงหน้า 1 ปี โดยชำระภายในเดือน ม.ค. แต่ ผมไปชำระ ในเดือน มี.ค. แต่เรียกเก็บค่าปรับผมจากยอดทั้งหมด คือทั้งปี จะเป็นการเรียกเก็บค่าปรับที่ิผิดกฎหมาย เนื่องจากเป็นการเรียกเก็บจากเงินล่วงหน้าหรือไม่

ตอบ - ประเด็นตามคำถามข้อนี้ คุณมีข้อสงสัยว่านิติบุคคลอาคารชุดมีสิทธิเรียกเก็บค่าปรับจากการเรียกเก็บค่าส่วนกลางล่วงหน้าได้หรือไม่ พอตอบได้ว่า เมื่อมีข้อตกลงกันว่าจะต้องชำระล่วงหน้า หากไม่ชำระให้สิทธิเรียกค่าปรับได้ ผมเห็นว่าเป็นข้อตกลงร่วมกันและให้สิทธิเรียกค่าปรับได้ จึงไม่น่าจะผิดกฎหมายนะครับ คงต้องไปดูมติของที่ประชุมให้ชัดเจนอีกนะครับ

3. การเรียกเก็บค่าปรับ ไม่ได้มีการคิดเป็นรายวัน แต่เรียกเก็บทั้งเดือน ผมชำระโดยโอนผ่านธนาคารในวันที่ 31 มี.ค. แต่ทางนิติฯ ออกใบเสร็จให้ผม ในวันที่ ๒ เม.ย. เนื่องจากติดวันหยุด โดยอ้างว่าระบบคอมพิวเตอร์ตัดช่วงเช้า แต่ผมโอนเงินช่วงบ่าย และแฟกซ์สำเนาในโอนเงินให้ช่วงบ่าย ทำให้ผมต้องเสียค่าปรับ เพิ่มขึ้นอีกเดือน ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง เพราะระบบธนาคารยังยึดถือวันที่ชำระเงินเป็นหลัก นอกจากนั้นยังนำเงินค่าส่วนกลางที่ชำระไปชำระค่าปรับก่อน ทำให้ผมค้างค่าส่วนกลาง เพื่อเรียกค่าปรับผมอีกในเดือนถัดไป จึงสงสัยว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำที่เกินอำนาจและผิดกฎหมายหรือไม่

ตอบ -คำถามข้อนี้ที่เกี่ยวกับการคิดค่าปรับ หากไม่มีข้อตกลงที่ชัดแจ้งในการคิดค่าปรับคงมีปัญหาที่คุณต้องไปใช้สิทธิทางศาลถึงการคิดค่าปรับไม่ถูกต้อง และในประเด็นการคิดดอกเบี้ยชำระล่าช้าของระบบธนาคารที่คิดเป็นรายวัน อันนี้มีอยู่จริง แต่จะนำมาใช้กับกรณีของค่าปรับการชำระค่าส่วนกลางล่าช้าได้หรือไม่ ผมไม่แน่ใจครับ

4. จากกฎหมาย พ.ร.บ.อาคารชุด และระเบียบข้อบังคับ ฯ ที่ออกมา ไม่ได้กำหนดรายละเอียด คงกำหนดว่า เสียค่าปรับร้อยละ 12 ต่อปี แต่การที่ผู้จัดการและนิติบุคคลมาตีความเอง โดยอาจเลือกปฏิบัติ หรือกระทำการจนเกินกว่าเหตุ รวมทั้งไม่สนใจความเดือดร้อนของเจ้าของร่วม โดยอ้างว่า เป็นมติที่ประชุม แต่มาดำเนินการเอง โดยอาจไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของเจ้าของร่วมที่เข้าร่วมประชุมในวันนั้น ตลอดจนไม่สนใจในการชี้แจง ทำให้ผมสงสัยในการบริหารงานของผู้จัดการและนิติบุคคล ว่าอาจมีการทุจริตเกิดขึ้น โดยอาศัยช่องว่างของกฎหมาย ผมจะสามารถแจ้งว่าดำเนินคดี ทั้งในส่วนของการคิดค่าปรับที่เกินกว่าเหตุ การไม่ตอบจดหมาย หรือการบริหารงานได้หรือไม่ครับ

ตอบ - ในเรื่องกำหนดค่าเสียหายที่ไม่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย ผมเคยต่อสู้คดีหนึ่งในเรื่องนี้ว่า นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ไม่สิทธิคิดดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ตามที่(โจทก์) เรียกร้องมา เสียดายที่ไม่มีการสืบพยานกันเพราะทางนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ยินยอมตามที่ฝ่ายจำเลย (ลูกบ้าน) ต่อสู้ ซึ่งผมก็อยากจะสรุปว่ายังมีข้อสงสัยว่าเขามีสิทธิ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-03-18 12:16:53



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล