ReadyPlanet.com


ค่าชดเชยกรณีว่างงานจากประกันสังคม นายจ้างแจ้งว่าลาออก แต่เพราะย้ายสถานประกอบการ


กรณี นายจ้าง ย้ายสถานประกอบการ แล้ว นายจ้างแจ้งประกันสังคมว่า ลาออก และ จ่ายค่าชดเชยพิเศษให้เรา ตามกฎหมายกำหนด
ผมแจ้งประกันสังคมว่า เลิกจ้าง เพราะ ย้ายสถานประกอบการ ไม่ตรงกัน ผมเลยมีปัญหาตรงค่าชดเชยจากประกันสังคม ซึ่งทำให้ยังไม่ได้เงิน 2 เดือนมาแล้ว เพราะไม่รู้ใครผิดใครถูก

ฝ่ายบุคคล บอกว่า บริษัทไม่ได้ปิดกิจการ เป็นเราลาออกและได้จ่ายค่าชดเชยให้ตามกฎหมาย
ผมไม่ติดใจอะไรเรื่องค่าชดเชยเพราะนายจ้างจ่ายให้ตามกฎหมายจริง

แต่ไม่เข้าใจเรื่องแจ้งประกันสังคมน่ะครับ เพราะ ลาออก กับเลิกจ้าง ได้ไม่เท่ากัน แค่อยากได้ความถูกต้องเพื่อสิทธิประโยชน์ของตัวเองน่ะครับ กรณีต้องเป้นลาออกหรือเลิกจ้าง ครับ

หนังสือที่แจกให้พนักงานทุกคน
เรื่อง เลิกจ้างพนักงาน และย้ายบริษัท
เนื่องจากบริษัทย้ายสถานประกอบการของบริษัท ซึ่งพนักงานทุกคนทราบดี จากผลของการย้ายสถานประกอบการ มีพนักงงานจำนวนหนึ่งไม่สามารถย้ายไปทำงานที่โรงงานใหม่ได้ บริษัทจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงาน บริษัทได้ดำเนินการจ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแก่พนักงานทุกคนเรียบร้อยแล้ว

ช่วยตอบข้อสงสัย เรื่องนี้ให้ผมด้วยนะครับ ขอบพระคุณอย่างสูงครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ตี๋ :: วันที่ลงประกาศ 2012-03-14 12:31:47


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2261146)

กรณีตามคำถาม พอได้ข้อสรุปว่า มีการเลิกจ้าง มีการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายจึงเป็นกรณีที่ลูกจ้างไม่ประสงค์ที่จะติดตามไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตาม มาตรา 120 จึงไม่ใช่การลาออก แต่เป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างตามที่กฎหมายรับรองให้สิทธิทำได้ครับ

มาตรา 120 ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตาม ปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วยให้ลูกจ้างมีสิทธิ บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่ น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตาม มาตรา 118
-- ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถาน ประกอบกิจการล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชย พิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย สามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ด้วย
 ---ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำขอให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน พิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบ กิจการว่า เป็นกรณีที่นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือลูกจ้าง มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม วรรคหนึ่งหรือไม่
 ----คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ในกรณีที่นายจ้างเป็น ฝ่ายดำเนินคดีไปสู่ศาลนายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างที่ยื่นคำขอตามวรรคสาม จึงจะฟ้องคดีได้
 -----การบอกเลิกสัญญาจ้างตาม มาตรา นี้ ลูกจ้างต้องใช้สิทธิภาย ในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ หรือ นับแต่วันที่คำวินิจฉัยของคณะกรรมกาสวัสดิการแรงงานหรือ คำพิพากษาของศาลเป็นที่สุด

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-03-18 19:24:14



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล