ReadyPlanet.com


นำเอกสารไปใช้


มีเรื่องฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงดู ซึ่งมีหมายศาลจากอัยการมาเรียบร้อย อยากทราบว่า

1. หลักฐานที่เค้านำมาประกอบการฟ้องร้อง หากเป็นเอกสารส่วนตัวที่เรามิได้ยินยอม สามารถทำได้หรือไม่ เพราะในเอกสารสำเนาระบุชัดเจนว่าเรานำไปใช้ทำธุรกรรมอย่างอื่น แต่เค้านำมาประกอบการนี้ จะสามารถฟ้องร้องได้หรือไม่

2. หากในเนื้อหาที่กล่าวแสดงรายละเอียดในหมายศาลนั้น ไม่เป็นความจริงแล้วเราสามารถหาหลักฐานพิสูจน์ได้ จะสามารถปกป้องสิทธิ์หรือฟ้องร้องกลับในข้อหาหมิ่นประมาทได้หรือไม่

3. หากในตอนแรกเราส่งแฟกซ์เอกสารสำเนาบัตรไป แล้วเค้านำไปลงชื่อในสูติบัตรเอง (ซึ่งตอนนั้นตกอยู่ในสถานการณ์จำยอมทำตามทุกอย่าง) แต่หากพิสูจน์คราวหลังได้ว่าไม่ได้เป็นบุตรของตนจริง และนำชื่อออกจากสูติบัตร จะถือว่าเรามีความผิดในฐานแจ้งการเท็จหรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ เป็นธรรม :: วันที่ลงประกาศ 2012-03-09 11:02:11


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2262163)

1. หลักฐานที่เค้านำมาประกอบการฟ้องร้อง หากเป็นเอกสารส่วนตัวที่เรามิได้ยินยอม สามารถทำได้หรือไม่ เพราะในเอกสารสำเนาระบุชัดเจนว่าเรานำไปใช้ทำธุรกรรมอย่างอื่น แต่เค้านำมาประกอบการนี้ จะสามารถฟ้องร้องได้หรือไม่

ตอบ - เอกสาร ทุกชนิด เป็นพยานหลักฐานเพื่อประโยชน์ในทางคดีได้ทั้งนั้นครับ แม้เราจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม และไม่มีกฎหมายห้ามว่าต้องเป็นเอกสารส่วนตัวหรือเอกสารทางราชการ เว้นแต่เราจะโต้แย้งคัดค้านว่าเป็นเอกสารเท็จ

2. หากในเนื้อหาที่กล่าวแสดงรายละเอียดในหมายศาลนั้น ไม่เป็นความจริงแล้วเราสามารถหาหลักฐานพิสูจน์ได้ จะสามารถปกป้องสิทธิ์หรือฟ้องร้องกลับในข้อหาหมิ่นประมาทได้หรือไม่

ตอบ - ถ้าเป็นประเด็นในคดี ก็สามารถฟ้องในข้อหาเบิกความเท็จได้ครับ

3. หากในตอนแรกเราส่งแฟกซ์เอกสารสำเนาบัตรไป แล้วเค้านำไปลงชื่อในสูติบัตรเอง (ซึ่งตอนนั้นตกอยู่ในสถานการณ์จำยอมทำตามทุกอย่าง) แต่หากพิสูจน์คราวหลังได้ว่าไม่ได้เป็นบุตรของตนจริง และนำชื่อออกจากสูติบัตร จะถือว่าเรามีความผิดในฐานแจ้งการเท็จหรือไม่

ตอบ - แจ้งความเท็จ คือแจ้งเรื่องที่ไม่เป็นความจริง แต่การยอมรับว่าเด็กเป็นบุตรโดยยินยอมให้ลงชื่อเป็นบิดาและยินยอมให้ใช้นามสกุล หากได้กระทำโดยสุจริต คือเรามีเพศสัมพันธ์กับแม่ของเด็กในระยะที่หญิงนั้นควรจะตั้งครรภ์ได้ ก็ไม่เป็นแจ้งความเท็จ เพราะเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นบุตรของเราจริง ๆ แม้ต่อมาในภายหลังจะปรากฏหลักฐานว่าเด็กไม่ใช่บุตรที่แท้จริงก็สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ตรงกับความเป็นจริงได้ครับ โดยคำสั่งศาล

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-03-22 15:11:07



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล