ReadyPlanet.com


ผมเอารถเขามาขับแล้วเกิดอุบัติเหตุต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง


โดยเกิดอุบัติเหตุไม่มีคนอื่นได้รับบาดเจ็บมีผมคนเดียว(ไปคนเดียวเป็นรถยนต์)โดยรถมีประกันภัยชั้นหนึ่ง สถาพรถเสียหายพอสมควร ประกันสามารถซ่อมได้ แต่ในขณะเดียวกันประกันก็สามารถคืนทุนประกันได้เหมือนกัน

ปัญหาอยู่ที่ เจ้าของรถจะไม่เอารถคือไม่ซ่อมจะเอาทุนประกันภัย ซึ่งรถเขาออกมาทั้งหมด 130,000 บาท และเหลือค่างวดทั้งหมดประมาณ 390,000 คืนเจ้าของรถจะเอาเงินทุนประกันมาจ่ายค่างวดที่เหลือทั้งหด ซึ่งเมื่อเอาเงินทุนประกันมาจ่ายค่างวดที่เหลือแล้ว เงินก็จะเหลือ 10,000 บาท (ทุนประกันได้ 400,000 บาท)  ซึ่งเจ้าของรถจะให้ผมจ่ายส่วนที่ เขาดาวน์รถออกมา คือ เอา 130,000 - 10,000 = 120,000 คือผมต้องจ่าย 120,000 บาท

กรณีแบบนี้ผมต้องทำอย่างไรครับ ผมก็ยอมจ่าย แต่เขาจะเอาที่เดียวทั้งหมด ผมต้องทำอย่างไรครับ



ผู้ตั้งกระทู้ เตี้ย :: วันที่ลงประกาศ 2012-04-07 09:04:48


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2265620)

คุณยอมผ่อนให้แล้ว เขาไม่ยอมให้ผ่อนก็ให้เขาฟ้องมา ถ้าคุณพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้ประมาทก็มีสิทธิชนะคดีนะครับ ผมมีคำพิพากษาฎีกามาฝากครับ

 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  526/2529
 

          โจทก์ติดต่อซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุเพื่อใช้ในราชการโดยโจทก์ได้รับรถยนต์จากผู้ขายมาใช้ก่อนในวันเกิดเหตุจำเลยยืมรถยนต์คันดังกล่าวจากโจทก์ไปใช้และเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหายโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญายืมใช้คงรูปเมื่อรถยนต์คันที่จำเลยยืมไปใช้เกิดความเสียหายแม้โจทก์จะได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์ให้แก่ผู้ซ่อมหรือเจ้าของรถยนต์นั้นแล้วหรือไม่ก็ตามถือได้แล้วว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิตามสัญญายืมใช้คงรูปเกิดขึ้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง. คำฟ้องของโจทก์กล่าวว่าจำเลยยืมรถยนต์คันเกิดเหตุไปจากโจทก์ต่อมาเกิดอุบัติเหตุชนกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อของบุคคลอื่นรถยนต์คันดังกล่าวเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างที่โจทก์ดูแลและทดลองใช้อยู่โจทก์ชำระเงินค่าซ่อมให้เจ้าของรถแล้วจำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนแก่โจทก์ตามคำฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา643ที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นเลยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์.
________________________________

          โจทก์ ฟ้องว่าจำเลย ยืมรถยนต์ ปิคอัพไปจากโจทก์ต่อมาเกิดอุบัติเหตุ ชนกับ รถยนต์บรรทุก สิบล้อของ บุคคลอื่น โจทก์แจ้งให้ห้างหุ้นส่วน จำกัด โตโยต้า ศรีสะเกษ เจ้าของ รถยนต์ ทราบ เจ้าของได้ นำรถยนต์ไปซ่อม ที่อู่ขอ ตน และเรียกค่าเสียหาย จากโจทก์เพราะรถยนต์ ดังกล่าวเกิดความเสียหายขึ้น ในขณะ ที่เจ้าของรถมอบให้โจทก์ดูแล และทดลองใช้ อยู่ โจทก์ ชำระเงินให้ไปครบถ้วนแล้ว จำเลยมีหน้าที่ ต้องรับผิด ชดใช้เงินคืนแก่โจทก์ ขอให้ศาล พิพากษาบังคับจำเลย ใช้เงินให้แก่โจทก์ จำนวน 40,000 บาท

           จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ มีอำนาจฟ้อง รถยนต์คันเกิดเหตุ ไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์มิได้ชำระ ค่าเสียหาย ให้เจ้าของ รถ หากโจทก์ ชำระไปก็โดย ความสมัครใจ ของโจทก์เอง จึง ไม่มีสิทธิ เรียกร้องจากจำเลย จำเลยไม่เคยยืมรถยนต์ ไปจากโจทก์

           ศาลชั้นต้น พิพากษาให้ จำเลยใช้เงินให้ โจทก์ 30,000 บาท
           จำเลย อุทธรณ์

           ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่ ได้ ชำระค่าซ่อมรถยนต์ ให้แก่ผู้ซ่อม หรือเจ้าของรถ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษา กลับ ยกฟ้องโจทก์
           โจทก์ ฎีกา

           ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดีมีปัญหา ตามฎีกา โจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง หรือไม่ ข้อเท็จจริง ได้ ความว่า โจทก์ติดต่อ ซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ เพื่อ ใช้ในราชการ โจทก์ ได้ รับรถยนต์ จากห้างหุ้นส่วน จำกัด โตโยต้า ศรีสะเกษ ผู้ขาย มาใช้ก่อน ในวันเกิดเหตุ จำเลยยืมรถยนต์คันดังกล่าว จากโจทก์ ไปใช้ และ เกิดอุบัติเหตุได้ รับความเสียหาย ศาลฎีกา เห็นว่า คดีนี้ โจทก์ ฟ้อง ให้จำเลยรับผิด ตามสัญญา ยืมใช้คงรูป เมื่อรถยนต์ คันที่ จำเลยยืมไปใช้ เกิดความเสียหาย แม้ โจทก์ จะได้ ชำระค่าซ่อมรถยนต์ ให้แก่ผู้ซ่อม หรือ เจ้าของรถยนต์ นั้นแล้ว หรือไม่ก็ตาม ถือ ได้แล้วว่า มีข้อโต้แย้ง สิทธิตามสัญญา ยืมใช้ คงรูป เกิดขึ้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องอย่างไร ก็ตาม ศาลฎีกา เห็นควร วินิจฉัย ในปัญหาต่อไป โดย ไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาพิพากษาใหม่ว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามฟ้องหรือไม่ ในการยืมใช้คงรูปนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 บัญญัติ ว่า "ทรัพย์สิน ซึ่งยืม นั้นถ้า ผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่น นอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือ นอกจากการอันปรากฏใน สัญญาก็ดีเอาไป ให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่า ผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุ ทรัพย์สินนั้นสูญหาย หรือ บุบสลายไปอย่างหนึ่ง อย่างใด แม้ถึงจะเป็น เพราะเหตุสุดวิสัย" เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ กล่าวว่า จำเลยยืมรถยนต์คันเกิดเหตุไปจากโจทก์ ต่อมาเกิด อุบัติเหตุชนกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อของบุคคลอื่น รถยนต์คันดังกล่าว เกิด ความเสียหายขึ้น ในระหว่างที่โจทก์ดูแล และทดลองใช้อยู่ โจทก์ชำระเงินค่าซ่อมให้เจ้าของรถแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนแก่โจทก์ ตามคำฟ้องดังกล่าว ไม่ปรากฏเหตุใด ตามกฎหมาย ที่จะทำให้จำเลย ต้องรับผิดต่อโจทก์ ในความเสียหาย ที่เกิดขึ้นเลย ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

           พิพากษา ยืน.

( สาระ เสาวมล - สหัส สิงหวิริยะ - เสวก จันทร์ผ่อง )

                 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-04-07 14:34:20



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล