ReadyPlanet.com


พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ


สวัสดีค่ะคุณทนาย ต้องการถามว่าพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับจำเป็นหรือไม่ต้องทำเป็น 2 ฉบับ และถ้าดิฉันไม่ได้หย่ากับสามีจะกำหนดข้อความในพินัยกรรมว่า  เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้สินส่วนตัวทั้งหมดของข้าพเจ้าและสินสมรสในส่วนของข้าพเจ้าทั้งหมดตกแก่ แม่ของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว"  ได้หรือไม่    และพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับมีจุดสำคัญๆที่จำเป็นต้องมีซึ่งจะขาดไม่ได้อะไรบ้างคะ....รบกวนคุณทนายด้วยค่ะ....ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ มีนา :: วันที่ลงประกาศ 2012-05-14 18:28:42


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2274263)

 พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องทำเป็นสองฉบับ การทำพินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนาก่อนตาย ผู้ทำพินัยกรรมจะทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนและสินสมรสในส่วนของตนให้กับใครก็ได้ไม่จำต้องเป็นญาติ สามี บุตรครับ  สิ่งสำคัญในการทำพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับคือ 1. เขียนด้วยตตเอง  2. ต้องมีวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม  3. ต้องลงชื่อ(หรือลายเซ็นต์)  4. รอย ขีด ฆ่า แก้ไข ต้องลงชื่อกำกับไว้  

 

มาตรา 1657 พินัยกรรมนั้นจะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ ก็ได้กล่าวคือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความ ทั้งหมด วัน เดือนปี และลายมือชื่อของตน 
การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรม นั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และ ลงลายมือชื่อกำกับไว้
บทบัญญัติ มาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่ พินัยกรรมที่ทำขึ้นตามมาตรานี้ 
 
(มาตรา 9 เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้อง ลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น
ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับหรือเครื่องหมายอื่นทำนอง เช่นว่านั้นที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลาย มือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ
ความในวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่การลงลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับหรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้น ซึ่งทำลงในเอกสาร ที่ทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ )

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-05-19 08:29:49



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล