ReadyPlanet.com


อยากได้ลูกมาเลี้ยงเอง


 สวัสดีค่ะ ดิฉันมีเรื่องอยากจะสอบถาม  คือ ดิฉันกับสามีได้หย่าร้างกันและในหนังสือเซ็นยินยอมดิฉันได้ให้ สามีมีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร เพราะถ้าดิฉันไม่ยอมให้ลูกกับเขา  เขาจะไม่ยอมหย่าให้ดิฉัน  และด้วยความที่เราเลี้ยงลูกมาตั้งแต่เล็กจนโต ตอนนี้ลูกอายุได้ 3 ปีค่ะ ดิฉันอยากได้ลูกมาเลี้ยงเองเพราะทางบ้านฝ่ายชายไม่ค่อยสนใจและชอบพาเด็กไปในที่ไม่เหมาะสมเช่นวงเหล้าเป็นต้น  ดิฉันคิดถึงลููกแทบจะขาดใจ  แม้แต่จะไปหาฝ่ายชายก็ไม่ค่อยจะยอม  เวลาไปรับลูกมาเล่นด้วยขอให้ลูกนอนด้วยสักคืนเขาก็ไม่ให้ทุกวันนี้ นอนร้องไห้คิดถึงลูกตลอดไม่รู้จะทำยังไงค่ะ  



ผู้ตั้งกระทู้ หัวอกของแม่ :: วันที่ลงประกาศ 2016-11-27 00:13:18


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4099740)

 การทำบันทึกท้ายทะเบียนการหย่า มีเงื่อนไขให้อำนาจปกครองบุตรเป็นสิทธิของคู่หย่าฝ่ายชายแต่เพียงผู้เดียวนั้น ถือเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่คู่หย่ามีเจตนาที่จะให้เงื่อนไขในบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าเป็นตามที่ตกลงกันไว้จึงต้องปฏิบัติตามบันทึกนั้น

คู่หย่าจะอ้างว่าถ้าไม่ทำข้อตกลงแบบนั้นเขาก็ไม่ยอมหย่าให้นั้น ไม่สามารถอ้างต่อศาลได้ เนื่องจากการหย่าจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ หากฝ่ายใดยอมตกลงเงื่อนไขให้อีกฝ่ายเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยคำนึงแต่เพียงต้องการได้ใบทะเบียนหย่าเท่านั้น จึงเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด เนื่องจากเป็นการตกลงโดยทำเป็นหนังสือแล้ว หากจะอ้างว่าถ้าไม่ตกลงเขาก็ไม่ยอมหย่า จึงเป็นข้อตกลงที่คำนึงถึงการจดทะเบียนหย่าเป็นสำคัญ ไม่ได้คำนึงถึงข้อสัญญาว่าได้ตกลงเงื่อนไขที่เสียเปรียบกันอย่างไร จึงฟังไม่ขึ้น

แม้จะได้มีข้อตกลงกันว่าคู่หย่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ตามแต่ก็ไม่ตัดสิทธิอีกฝ่ายหนึ่งที่จะพบบุตรของตนได้ตามสมควร ดังนั้นเมื่อคู่หย่าฝ่ายหญิงถูกคู่หย่าฝ่ายชายกีดกันไม่ใช้ตนพบกับบุตร ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และเป็นการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ไม่ชอบ คู่หย่าฝ่ายที่ต้องเสียหายนั้นก็มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนอำนาจปกครองที่คู่หย่าฝ่ายชายมีต่อบุตรผู้เยาว์ตามสัญญาได้

ส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร ผลของคดีจะเป็นอย่างไร ก็เป็นดุลพินิจของศาล ดังนั้นจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของคู่หย่าฝ่ายหญิง คู่หย่าฝ่ายหญิงจึงสามารถใช้สิทธิทางศาลได้

 

สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์

บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2016-12-05 09:02:00



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล