ReadyPlanet.com


ย้ายลูกจ้างได้ไหม


มีสัญญาจ้างตอนเข้าทำงานกับลูกจ้างว่า ทำงานไม่เกิน 48 ชมต่อสัปดาห์  
1) ช่วงแรกลูกจ้างทำงานกะ มีเวลาทำงานวันละ 7 ชม (8.00-16.00 = 8 ชม พัก 1)
2) ต่อมาจะย้ายมาทำงานกลางวัน ทำงานวันละ 8 ชม (8.00-17.00 = 9 ชม พัก 1)
3) ทั้ง 2 แบบ เวลาทำงานรวมไม่เกิน 48 ชม ตามสัญญาจ้าง 
ลูกจ้างโวยวายว่าย้ายไม่ได้เพราะแย่กว่าเดิม คือ ชม. ทำงานมากกว่า /เงิน OT ต่อ ชม,น้อยกว่า ย้ายได้ไหมครับ? 



ผู้ตั้งกระทู้ อาคม :: วันที่ลงประกาศ 2015-09-21 17:19:28


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3874011)

กฎหมายให้นายจ้างกำหนดเวลาที่ลูกจ้างต้องทำงานแต่ละวันไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ดังนั้นทำงาน 8.00 - 17 พัก 1 ชั่วโมง ไม่ฝ่าฝืนกฎหมายสามารถทำได้ครับ ล่วงเวลาน้อยลงไม่ใช่ความผิดของนายจ้างครับ 

 มาตรา 23 ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง ในกรณีที่เวลาทำงานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมง นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนทีเหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวันละเก้าชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินเจ็ดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมง

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2015-09-22 19:25:20


ความคิดเห็นที่ 2 (3874063)

 นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถขนส่งทำงานติดต่อกันถึงวันละ 24 ชั่วโมงไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

 
ลูกจ้างขับรถขนส่งเป็นกะ กะละ 24 ชั่วโมง แล้วหยุดในวันรุ่งขึ้น 24 ชั่วโมง พนักงานตรวจแรงงานเข้าตรวจสอบแล้ว มีคำสั่งให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติของลูกจ้างให้ถูกต้อง ศาลแรงงานวินิจฉัยว่างานของนายจ้างเป็นงานขนส่งทางบกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ระบุให้นายจ้างกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้างในงานขนส่งทางบกวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถขนส่งทำงานติดต่อกันถึงวันละ 24 ชั่วโมง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย 
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2015-09-22 21:16:55


ความคิดเห็นที่ 3 (3874706)

 -----การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง

-----นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไม่ได้
 
ลูกจ้างมีเวลาทำงานปกติตั้งแต่เวลา 8.30 ถึง 17.30 นาฬิกา การที่นายจ้างมีคำสั่ง ให้ ลูกจ้างเข้าปฎิบัติการใช้เครื่องก๊าซคัทติ้งตั้งแต่เวลา 18 ถึง 20 นาฬิกา จึงเป็นการสั่งให้ลูกจ้างทำงานนอกเวลาทำงานปกติ ซึ่งถือว่าสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลานั้นเอง เมื่อลูกจ้างไม่ยินยอมทำงานล่วงเวลาจะถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งของจ้างอันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนไม่ได้ นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2015-09-23 22:07:20



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล