ReadyPlanet.com


การยื่นอุทธรณ์คดีฉ้อโกง


สามีหนูได้ถูกศาลชั้นต้นตัดสินคดีฉ้อโกงจำคุก 1 ปี ตอนนี้ติดไปแล้ว 5 เดือน แต่คดียังไม่เด็ดขาด หมายความว่ายังงัยคะ อัยการสามารถยื่นอุทธรณ์ได้อีกหรือเปล่าคะ สงสารลูกมากค่ะ โกหกเค้ามาตลอดว่าพ่อจะได้กลับบ้านแล้ว..

ขอบพระคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ศศิธร :: วันที่ลงประกาศ 2012-05-21 16:19:51


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2278163)

โดยหลักกฎหมายคือ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว คู่ความมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เพื่อคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ แต่ต้องเป็นคดีที่กฎหมายบัญญัติรับรองให้คู่ความอุทธรณ์ได้ ในความผิดฐานฉ้อโกง (ธรรมดาคือไม่ใช่ฉ้อโกงประชาชน) มีอัตราโทษอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี จึงห้ามโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามคำถามของคุณว่า คดียังไม่เด็ดขาดทั้ง ๆ ที่ถูกขังมาแล้ว 5 เดือนจึงมีความเป็นไปได้ดังนี้ 1. อยู่ระหว่างที่โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ หรือ 2. อยู่ระหว่างที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลอุทธรณ์เพื่อขออุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นลงโทษจำคุกจำเลยต่ำเกินไป 3. ทางเรือนจำไม่มีข้อมูลว่าคดีถึงที่สุดแล้ว ดังนั้นเพื่อตอบคำถามนี้ได้ไม่ยากครับ ให้จำเลยมอบฉันทะ หรือมอบอำนาจให้เข้าไปตรวจสำนวนที่ศาล หรือสอบถามประชาสัมพันธ์ของศาลได้ครับ

มาตรา 193ทวิ ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหา ข้อเท็จจริงในคดี ซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(1) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้ลงโทษกักขัง แทนโทษจำคุก
(2) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลง โทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษ ไว้ หรือ
(4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท


มาตรา 193ตรี ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตาม มาตรา 193ทวิ ถ้าผู้พิพากษาใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการซึ่งอธิบดีกรม อัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์ จะได้วินิจฉัย ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-06-06 12:05:38



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล