ReadyPlanet.com


ขอคำปรึกษา


ดิฉันได้เลิกกับสามี ก่อนเลิกดิฉันได้ซื้อบ้านซึ่งเป็นบ้านของสามีไว้ชื่อในโฉนดที่ดินเป็นของดิฉันเอง ดิฉันมีสิทธิที่ให้เขาย้ายออกไปหรือเปล่าค่ะ (บ้านหลังนี้ยังผ่อนอยู่ค่ะ)   ดิฉันอยากให้ย้ายทะเบียนชื่อของเขาออกไปจากทะเบียนบ้านหลังนี้ แต่ดิฉันไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน เจ้าบ้านคือพ่อของสามีค่ะ ต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ OOO :: วันที่ลงประกาศ 2012-08-20 17:13:55


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2301127)

คุณซื้อบ้านอดีตสามีที่เลิกร้างกันไปแล้ว เบื้องต้นต้องมีชื่อคุณเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน คุณสามารถนำสัญญาซื้อขายที่ดิน พร้อมโฉนดที่ดินไปติดต่อกับสำนักงานเขตเพื่อขอเปลี่ยนตัวเจ้าบ้านได้ครับ ส่วนเรื่องการฟ้องขับไล่สามีนั้นมีเพียงโฉนดที่ดินแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็เพียงพอที่จะฟ้องขับไล่ได้ครับ ติดต่อทนายความดำเนินการให้ครับ 0859604258

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์0859604258 วันที่ตอบ 2012-09-14 16:25:30


ความคิดเห็นที่ 2 (2301133)

   คำถาม
               ขอคำปรึกษาเรื่อง : ดิฉันและสามีอยู่ด้วยกันโดยไม่ได้จดทะเบียนกัน มาเกือบสิบปีแล้วค่ะมีลูกชายด้วยกันหนึ่งคนอายุ 9 ขวบสามีดิฉันไม่ได้หย่ากับภรรยาเค้าน่ะค่ะ  เค้าแยกกันอยู่แต่เค้ายังส่งเสีครอบครัวเค้าอยู่น่ะคะ  เรื่องที่ดิฉันอยากจะปรึกษาคือตลอดเวลาที่สามีอยู่กับดิฉันเค้าไม่เคยกลับไปอยู่กับภรรยาเค้าเลย เค้าจะกลับไปดูแลเยี่ยมลูกเท่านั้น  สามีซื้อบ้านและรถยนต์ให้ดิฉัน โดยเป็นชื่อของดิฉัน แต่เมื่อสองปีที่ผ่านมาสามีบอกว่าจะขอเอาบ้านเข้าธนาคารเพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนทำธุรกิจโดยเค้าเสนอว่าดิฉันเงินเดือนน้อยถ้าเอาบ้านเข้าธนาคารดิฉันจะส่งไม่ไหว เพราะดิฉันเงิเดือนน้อยกว่าเค้ามากค่ะ เค้าก็บอกว่าเค้าจะจัดการเอง  โดยทำเป็นให้ดิฉันเสนอขายบ้าน ( เพราะตอนนั้นบ้านเป็นชื่อดิฉัน เค้าซื้อให้เป็นเงินสด) และเค้าเป็นผู้ซื่อ เค้าบอกว่าต้องการนำเงินมาหมุนเวียน ประมาณ สองล้านห้าแสนบาท และเค้าขอเวลาประมาณไม่เกินสองปีจะเคลียรเรื่องนี้ให้  ( หมายถึงจะจัดการโอนกลับให้เป็นชื่อดิฉันใหม่) ความที่ดิฉันเชื่อใจและไม่ได้คิดว่าเค้าจะหักหลังดิฉันได้

               ดิฉันก็ตกลงไปทำสัญญาซื้อขายกันที่ที่ดินจังหวัดปทุมธานี  ( บ้านดิฉันอยู่อำเภอธัญญบุรีคะ)  และเมื่อซื้อขายกันแล้ว เค้าได้ให้เงินสดดิฉันหนึ่งล้านห้าแสนบาทเผื่อให้ฝากไว้กับสหกรณ์
และเผื่อเป็นหลักประกันว่าเค้าจะไม่โกงดิฉัน และเค้าบอกว่าไม่ต้องเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านให้เป็นชื่อดิฉันเหมือนเดิม  อยู่ต่อมาอีกหนึ่งปี โดยประมาณเค้าก็ขอเอาชื่อเค้ามาไว้ในทะเบียนบ้านเป็นผู้อาศัย ดิฉันก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะเค้าเป็นคนที่แตะต้องอะไรเค้าไม่ได้อยู่แล้วเค้าถือว่าเค้าเป็นคนเลี้ยงดูดิฉันและลูก และเป็นคนซื้อบ้านซื้อรถยนต์ให้  ดิฉันลืมบอกว่าดิฉันมีคุณพ่ออาศัยอาศัยอยู่ด้วย  ท่านช่วยดูแลบ้านและเลี้ยงหลานให้ค่ะ แต่ปัจจุบันท่านป่วยผ่าตัดสมอง ต้องมีพยาบาลดูแลตลอด 24 ชั่วโมง   ดิฉันและสามีอายุห่างกัน ประมาณ 16 ปี ค่ะ พูดกันคนละภาษาไม่ค่อยเข้าใจกัน และเค้าจะเป็นคนขี้หึงมาก เมื่อ 3 เดือนก่อนสามีดิฉันจับได้ว่าดิฉันมี ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง (ดิฉันและสามีไม่เคยมีเรื่องบนเตียงกันมาหลายปีแล้ว )   ดิฉันก็ยอมรับว่าดิฉันผิด ที่ทำแบบนี้ แต่คนในครอบครัวดิฉันและคนรอบข้างดิฉันเค้าเห็นใจ เพราะรู้นิสัยของสามี    ตอนนี้ดิฉันไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับเพื่อนชายคนนั้นแล้วลืมบอกค่ะตอนที่มี  ปัญหากันเค้าได้ อีเมล์ มาฟ้องร้องที่บริษัท จะเอาเรื่องให้ดิฉันกับเพื่อนชายออกจากบริษัทให้ได้  ขู่ขอค่าเสียหายจากเค้า ห้าแสนบาท  และขอรถยนต์ของดิฉัน และเงินเก็บ หนึ่งล้านห้าแสนบาทของเค้าคืน( ปัจจุบันเงินเหลืออยู่ แปดแสนบาท เพราะเค้าขอถอนออกไปลงทุน )   พอเรื่องร้องเรียนขอเค้าถึงบริษัทดิฉัน  ฝ่ายบุคคลขอเชิญเค้ามาบริษัทเพื่อฟ้องร้องและต้องเค้าพบพร้อมกันทุกคนเค้ากลับบอกกับฝ่ายบุคคลว่า เค้าปรับความเข้าใจกันได้และขอยกเลิกคำร้องเรียน  ( เพราะประวัติที่ showในบริษัทนั้นสามีดิฉันเป็นแค่ผู้รับรองบุตร เพราะเค้าไม่ได้จดทะเบียนกับดิฉันและเค้าก็ยังไม่ได้หย่ากับภรรยาเค้า ) และเค้าก็ไปบอกเพื่อนชายดิฉันว่า เค้าขอยกเลิกที่เค้าขอเงิน ห้าแสนบาทค่าเสียหาย  ดิฉันก็ไม่ทราบว่าทำไมเค้าถึงยกฟ้องที่บริษัท  และไม่รับเงิน ห้าแสนบาท ( เคยมีคนเตือนเค้าว่าทำอย่างนี้ระวังเค้าจะแจ้งความว่าข่มขู่ )     ปัจจุบันนี้เค้าไม่ได้อยู่กับดิฉันแล้วค่ะ เค้าไปเช่าทาวเฮาว์อยู่ ซึ่งก็อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันและเค้าบอกว่า  เค้าจะประกาศขายบ้าน  ให้ดิฉันและลูกเตรียมตัวหาที่อยู่ใหม่  ดิฉันไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย  ขอถามเป็นข้อน่ะค่ะ
               1.    ดิฉันและลูกจะมีสิทธ์ในบ้านนี้รึเปล่าค่ะ เพราะดิฉันไม่ได้จดทะเบียน
               2.   เค้าบอกจะไม่ส่งเสียลูกตอนนี้  จะส่งเสียอีก 2 ปีข้างหน้า เพราะเค้าบอกว่า ดิฉัน ยังมีเงินแปดแสนอยู่  ถ้าเค้าไม่ส่งเสียดิฉันจะฟ้องร้องได้มั้ยค่ะ
               3. สามีเค้าบอกกับพยาบาลที่ดูแลคุณพ่อว่าไม่ให้พ่อดิฉันอยู่บ้านแล้วเค้ามีสิทธิ์ไล่รึเปล่าค่ะ
               4.   ถ้าสามีเค้าพาคนมาซื้อบ้าน เค้าจะไล่ดิฉันและลูกได้มั้ยค่ะ
               
               ตอบคำถาม

               ตอบข้อ 1. ตามที่ท่านได้ทำสัญญาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินให้กับสามีและได้จดทะเบียนการซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั้น การซื้อขายดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าท่านและสามีจะได้ตกลงกันด้วยวาจาไว้ว่าประมาณสองปีสามีท่านจะโอนบ้านให้กับท่านก็ตาม การตกลง      ดังกล่าวในทางกฎหมายถือว่าเป็นคำมั่นจะให้ทรัพย์สิน โดยคำมั่นจะให้ทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 525, มาตรา 526 แต่เมื่อสามีของท่านไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การให้ดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ท่านซึ่งเป็นผู้รับไม่มีสิทธิเรียกร้องจากผู้ให้แต่ประการใด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2508)

               ท่านและลูกจะมีสิทธิในบ้านหรือไม่ จะต้องพิจารณาในเรื่องการเป็นสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายครอบครัว ว่ามีความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินอย่างไร
               ตามกฎหมายครอบครัว สามีและภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ถ้าปรากฏว่าทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กันฉันสามีภริยาและได้ทำมาหาร่วมกันแล้วเกิดทรัพย์สินนั้น  ให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินร่วมกัน
               ตามข้อเท็จจริงบ้านหลังดังกล่าวไม่ได้เป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างท่านกับสามี  แต่สามีของท่านซื้อให้ท่าน และท่านก็ได้โอนขายบ้านให้กับสามีแล้ว ท่านจึงไม่มีสิทธิใดๆ ในบ้านหลังดังกล่าว และภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามี ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้สามีอุปการะเลี้ยงดู
               ส่วนลูกของท่านซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว มีสิทธิในทรัพย์สินของบิดาโดยการรับมรดกของบิดาในฐานะผู้สืบสันดาน ส่วนสิทธิในบ้านหลังดังกล่าว หากสามีของท่านให้ลูกของท่านออกจากบ้าน ก็สามารถทำได้ ซึ่งถึงแม้ว่าบิดามีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูบุตรที่เป็นผู้เยาว์ แต่ก็ต้องแยกพิจารณาออกจากกัน  เพราะตามหลักเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินของตน
 
               ตอบข้อ 2. บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันเป็นบุตรนอกกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายไม่อาจฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาได้ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสามีของท่านได้จดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว บุตรนอกกฎหมายจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาตั้งแต่วันจดทะเบียน บิดาและมารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ดังนั้น ตามที่สามีของท่านจะส่งเสียลูกในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยอ้างว่าท่านยังมีเงินแปดแสนอยู่ จึงไม่ถูกต้อง  สามีของท่านซึ่งเป็นบิดาของบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีหน้าที่ต้องดูแลเลี้ยงดูบุตร หากสามีของท่านไม่ส่งเสียเลี้ยงดูบุตร ท่านในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร         มีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาบุตรได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 7228/2537) แต่บุตรไม่สามารถฟ้องบุพการีได้ แม้บุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม เพราะเป็นคดีอุทลุม

--------คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7228/2537

 

บุตรที่จะมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูและการให้การศึกษาจากบิดามารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคแรกจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกหรือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในภายหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 3 คน ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะขณะอยู่กินกับจำเลยได้ให้การรับรองบุตรทั้งสาม ต่อมาจำเลยได้ขอหย่าขาดกับโจทก์และมอบบุตรทั้งสามให้อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเพียง 2 คนจำนวนเงิน 349,400 บาท พร้อมดอกเบี้ย

จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเป็นบิดาตามความเป็นจริง มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคแรก โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลยนั้น เห็นว่า บุตรที่จะมีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูและการให้การศึกษาจากบิดามารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคแรก จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดามาแต่แรกหรือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในภายหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547และหากเป็นบุตรนอกสมรสโดยบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันและมิได้ฟ้องคดีขอให้บิดารับเด็กเป็นบุตรมาด้วยแล้ว จะฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาจากบิดาไม่ได้ ข้อเท็จจริงในคดีนี้ได้ความว่า โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยรับเด็กเป็นบุตรมาด้วยดังนั้น ในชั้นนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาจากจำเลย

พิพากษายืน

-----

               ตอบข้อ 3. และ 4. หากสามีท่านจะขายบ้านให้บุคคลอื่นและหรือให้ท่านพร้อมบริวารตามข้อหารือ 3. และ 4. ย้ายออกจากบ้าน ก็สามารถทำได้ เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของสามีท่านแล้ว ถ้าท่านและบริวารไม่ยอมย้ายออก สามีท่านมีสิทธิฟ้องขับไล่ท่านและบริวารของท่านออกจากบ้านได้
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2012-09-14 16:45:09



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล