ReadyPlanet.com


การอ้างแย้งสิทธิ์ครอบครอง นส.3 ก


 ถ้าเอกสารสิทธิ์ นส.3 ก โดยดิฉันและพี่สาวเป็นเจ้าของที่ดินถือร่วมกันคนละครึ่ง ได้มาโดยมรดกคือพินัยกรรมที่ตาทำไว้ให้ เมื่อตาเสียใน เดือน สิ้นปี 53 ดิฉันและพี่สาวจึงไปยื่นเรื่องเปิดพินัยกรรมและดำเนินการเป็นเจ้าของที่ดิน ณ สิ้นปี 53 แต่ปัจจุบัน น้าชายที่อาศัยอยู่บนที่ดินซึ่งมีดิฉันและพี่สาวเป็นเจ้าของที่ดิน นส.3 ก นั้น ได้ปลูกปาล์มบนที่ดิน ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีดิฉันไม่ได้ไปแจ้งความดำเนินคดี แต่อย่างใดแต่ก็ไม่เต็มใจให้น้าชายปลูกปาล์มในที่ดินของดิฉัน (ปลูกประมาณ 3 งาน จากที่ดิน 3 ไร่ 3 งาน) และเมื่อไม่นานมานี้น้าชายของดิฉันได้แย้งขึ้นมาให้ดิฉันโอนสิทธิส่วนที่น้าชายปลูกปาล์มไว้ โดยอ้างว่าหากต่อไปปาล์มใหญ่จะมีเรื่องภายหลัง ขณะที่ถ้าประมาณการตั้งแต่วันที่น้าชายปลูกปาล์มก็มีอายุไม่น่าจะถึง 1 ปี 

คำถาม

1. น้าชายจะมีสิทธิแย้งการครอบครองที่ดินของดิฉันและพี่สาวในภายหลังได้หรือไม่เพราะน้าชายได้ปลูกปาล์มในที่ดินของดิฉันโดยที่ดิฉันไม่เต็มใจแต่ไม่ได้แจ้งความว่าไม่ยินยอมให้ปลูก

2. ถ้าน้าชายมีสิทธิ์แล้วดิฉันจะดำเนินการอย่างไรได้บ้างถึงจะไม่สูญเสียพื้นที่ส่วนดังกล่าวให้น้าชาย

3. หากพื้นที่ดังกล่าว ประมาณ 3 งาน น้าชายได้ถือทะเบียบบ้านเป็นเจ้าบ้านในที่ดินแปลงที่ดิฉันได้รับมรดกมากว่า 10  ปี จะมีผลใดๆบ้างทางกฎหมาย เนื่องจากดิฉันไม่ต้องการเสียที่ดินส่วนดังกล่าวให้น้าชายไป

4. หากดิฉันจะไปขอออกเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินหลังจากครอบครองมาร่วม 2 ปีแล้วจะมีผลให้สิทธิ์ในการครอบครองปรปักษ์ของน้าชายได้หรือไม่เพราะปรึกษาเพื่อนมาเหมือนน้าชายจะมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินดังกล่าว

5. มีวิธีใดบ้างที่จะนิ่มนวลมากกว่าการฟ้องศาลเนื่องจากไม่อยากมีปัญหากับญาติคนอื่น ๆ เพราะเราเป็นเด็กกลัวญาติจะครหาได้

รบกวนคุณทนายช่วยตอบปัญหาที่ค้างคาใจนี้ให้แก่ดิฉันด้วย



ผู้ตั้งกระทู้ เด็กมีปัญหา :: วันที่ลงประกาศ 2012-08-14 00:59:05


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2301011)

1. น้าชายจะมีสิทธิแย่งการครอบครองที่ดินของดิฉันและพี่สาวในภายหลังได้หรือไม่เพราะน้าชายได้ปลูกปาล์มในที่ดินของดิฉันโดยที่ดิฉันไม่เต็มใจแต่ไม่ได้แจ้งความว่าไม่ยินยอมให้ปลูก

ตอบ -  สามารถอ้างได้ครับ ควรฟ้องขับไล่โดยด่วนก่อนครบ 1 ปีครับ  (มาตรา 1375  ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครอง เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครองได้
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง)

2. ถ้าน้าชายมีสิทธิ์แล้วดิฉันจะดำเนินการอย่างไรได้บ้างถึงจะไม่สูญเสียพื้นที่ส่วนดังกล่าวให้น้าชาย

ตอบ - แจ้งให้ทำสัญญาเช่าหรือฟ้องขับไล่ครับ

3. หากพื้นที่ดังกล่าว ประมาณ 3 งาน น้าชายได้ถือทะเบียบบ้านเป็นเจ้าบ้านในที่ดินแปลงที่ดิฉันได้รับมรดกมากว่า 10  ปี จะมีผลใดๆบ้างทางกฎหมาย เนื่องจากดิฉันไม่ต้องการเสียที่ดินส่วนดังกล่าวให้น้าชายไป

ตอบ - หากข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า น้าชายเข้ามาอยู่ในที่ดินโดยขออนุญาตจากตา เจ้าของที่ดินเดิมก็จะอ้างแย่งการครอบครองไม่ได้ แต่ในทางคดีย่อมมีการปฏิเสธเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่คดีของตนให้มากที่สุด คำถามและคำตอบ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์เริ่มต้นที่น้าชายเข้ามาทำประโยชน์ในที่ดินได้อย่างไร 

4. หากดิฉันจะไปขอออกเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินหลังจากครอบครองมาร่วม 2 ปีแล้วจะมีผลให้สิทธิ์ในการครอบครองปรปักษ์ของน้าชายได้หรือไม่เพราะปรึกษาเพื่อนมาเหมือนน้าชายจะมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินดังกล่าว

ตอบ - เขาอาจได้สิทธิครอบครองแต่หากที่ดินได้เปลี่ยนแปลงเป็นโฉนดก็ต้องนับการครอบครองใหม่ครับ นับแต่วันออกโฉนดที่ดิน แต่ไม่ควรให้ทุกอย่างสายเกินไป น่าจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนที่จะยุ่งยากมากขึ้นเรื่อย ๆ 

5. มีวิธีใดบ้างที่จะนิ่มนวลมากกว่าการฟ้องศาลเนื่องจากไม่อยากมีปัญหากับญาติคนอื่น ๆ เพราะเราเป็นเด็กกลัวญาติจะครหาได้

ตอบ - ต้องพิจารณาสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเป็นหลัก สำหรับเรื่องนี้น่าจะไม่มีทางอื่นนอกจากใช้สิทธิทางศาล


 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์0859604258 วันที่ตอบ 2012-09-14 09:23:44


ความคิดเห็นที่ 2 (2301012)

ระยะเวลา 1 ปี ที่จะฟ้องเรียกเอาที่ดินคืนไม่ใช่อายุความ จำเลยไม่ต่อสู้ศาลยกขึ้นเองได้

อ่านรายละเอียดคลิ๊กที่นี่

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2012-09-14 09:26:37



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล