ReadyPlanet.com


ภาษีะธุรกิจเฉพาะ


ผมได้ที่ดินมา 1 แปลง  จากนั้นไม่นานนำไปเข้าธนาคารแล้วปลูกบ้าน  ผ่อนได้ 2 ปีกว่าแล้วไม่ไหวก็เลยขาย จากนั้น 5 ปีก็มีหนังสือให้ไปชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่เงินไม่พอจึงชำระไปบางส่วน แล้วก็ไม่ได้ไปชำระอีกเลย เป็นเวลา 5 ปีกว่าแล้ว  ตอนนี้บัตรประชาชนหมดอายุ  เจ้าของบ้านที่ผมอยู่  จะให้ย้ายเข้ามาเป็นเจ้าบ้านที่นี่ (ทะเบียนบ้านยังไม่มีชื่อใครอยู่)  ไม่ทราบว่าจะมีปัญหาอะไรรึเปล่าครับเกี่ยวกับสิ่งของในบ้านที่เป็นของเจ้าของบ้าน  (และกรณีถ้าไม่เป็นเจ้าบ้านจะดีกว่าไหม)  ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ  ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ชัยสิทธิ์ :: วันที่ลงประกาศ 2012-09-12 16:03:26


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2305296)

ตามคำถามไม่เป็นเจ้าบ้านดีกว่าครับ เพราะหากมีชื่อเป็นเจ้าบ้านก็ต้องสันนิษฐานว่าทรัพย์สินในบ้านเป็นของเจ้าบ้านครับ ถ้าจะให้ดีกว่านั้นก็น่าจะไปคุยกับทางสรรพากรขอชำระภาษีให้แล้วเสร็จดีที่สุดครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์0859604258 วันที่ตอบ 2012-10-03 16:53:59


ความคิดเห็นที่ 2 (2305298)

กฏเกณฑ์ การอายัด(ยึด)ทรัพย์สินภายในบ้านของจำเลย(ลูกหนี้)

- เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ทำการตรวจสอบสำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้แล้ว ปรากฎว่าลูกหนี้เป็น “เจ้าบ้าน”

จพค.จะไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามทะเบียนบ้านหลังนั้นๆ หากไปแล้วพบว่าบ้านหลังนั้น ถูกปิดประตู หรือถูก Lock อยู่ จพค.สามารถใช้อำนาจในการเปิดบ้าน เพื่อทำการยึดทรัพย์ตามที่เจ้าหนี้นำชี้ได้ เนื่องจากกฏหมายระบุไว้ว่า หากผู้ใดที่มีฐานะเป็น“เจ้าบ้าน”ก็ให้สันนิษฐานว่าทรัพย์สินใดๆที่อยู่ในบ้านของเจ้าบ้าน เป็นทรัพย์ของเจ้าบ้านเอาไว้ก่อนเป็นหลัก ดังนั้นหากลูกหนี้ตามคำพิพากษามีฐานะเป็น“เจ้าบ้าน”หลังใด ก็สามารถยึดทรัพย์ที่อยู่ภายในบ้านหลังนั้นได้ ถึงแม้นว่าจะถูกปิดประตูอยู่ก็ตาม
โดยอาศัยขั้นตอนให้เจ้าหนี้แถลงความรับผิดชอบ เชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเป็นสักขีพยาน , ตามช่างกุญแจมา ไข/งัด/หรือทุบทำลาย วัสดุที่ใช้ Lock บ้าน , มีการบันทึกภาพถ่ายหรือวีดีโอไว้เป็นหลักฐาน , ลงบันทึกประจำวัน

เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ตรวจสอบสำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้แล้ว ปรากฎว่าลูกหนี้เป็นแค่ “ผู้อาศัย”

จพค.จะไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามทะเบียนบ้านหลังนั้นๆ เพราะกฎหมายสันนิษฐานว่า หากลูกหนี้อาศัยอยู่ที่ไหน ทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ควรอยู่กับลูกหนี้ที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นด้วย แต่ถ้าหากไปแล้วพบว่าบ้านหลังนั้น ถูกปิดประตูหรือ ถูก Lock อยู่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่สามารถ ไข/งัด/หรือทุบทำลาย สิ่งที่ใช้ Lock บ้าน ในการเปิดบ้านเพื่อทำการยึดทรัพย์ ไม่เหมือนกับกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าบ้าน เพราะบุคคลที่อยู่ในฐานะ“เจ้าบ้าน” ก็ได้รับการสันนิษฐานตามกฎหมายว่า เจ้าบ้านก็เป็นเจ้าของทรัพย์สินภายในบ้านเช่นกัน และมีน้ำหนักหลักที่ดีกว่าทางฝ่ายลูกหนี้ ที่เป็นฐานะผู้อาศัยภายในบ้าน

ในกรณีนี้ หาก จพค.จะทำการเข้าไปตรวจสอบหรือยึดทรัพย์ภายในบ้านหลังนั้น จะต้องได้รับการ“อนุญาต”จากผู้ที่เป็น“เจ้าบ้าน”เสียก่อน เพราะผู้ที่เป็น“เจ้าบ้าน”มิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แถมยังมีน้ำหนักแห่งความเป็นเจ้าของทรัพย์ภายในบ้าน สูงมากกว่าผู้อาศัย

ดังนั้น...
หากเจ้าบ้านอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าไปในตัวบ้านได้ แล้วหลังจากนั้นมีการโต้แย้งจากทางเจ้าหนี้ว่า ทรัพย์ที่ตรวจพบภายในบ้าน เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีหลักฐานมาแสดงยืนยัน โดยผู้ที่อาศัยอยู่ภายในบ้านไม่มีหลักฐานโต้แย้งกลับ ก็ให้ทำการยึดทรัพย์นั้นๆ

แต่ถ้าหาก“เจ้าบ้าน”ออกมาแสดงตน พร้อมกับหลักฐานความเป็น“เจ้าบ้าน”ต่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ณ.ที่หน้าบ้านของตนเอง พร้อมกับยืนยันว่า ทรัพย์สินทุกอย่างภายในบ้าน เป็นทรัพย์ของเจ้าบ้านแต่เพียงผู้เดียว...“ผู้อาศัย”(ลูกหนี้)ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ภายในบ้านแต่อย่างใด แค่มาอาศัยอยู่เท่านั้น
ให้ถือว่า“เจ้าบ้าน”เป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าวตามที่แจ้ง และให้ เจ้าพนักงานบังคับคดี “งดยึด” แล้วทำรายงานต่อไปยังศาล เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 283 ต่อไป

***หมายเหตุ***
กรณีผู้ที่เป็น“เจ้าบ้าน”(ที่มิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา) ยังไม่ได้อนุญาตให้บุคคลภายนอกอื่นใดเข้ามาในตัวบ้าน หากบุคคลภายนอกอื่นใดเข้าไปภายในอาณาบริเวณพื้นที่ครอบครองของ“เจ้าบ้าน” โดยที่ยังไม่ได้รับการ“อนุญาต” อาจมีความผิดในข้อหา“บุกรุกเคหสถาน”ได้


 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2012-10-03 17:00:22



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล