ReadyPlanet.com


การรับรองบุตร


 ขอสอบถามครับ ว่า ถ้าแฟนเรามีลูกติด 1 คน ตอนคบกันลูกอายุ 4 เดือนแล้วปัจจุบัน ประมาณ 5 ขวบแล้ว ครับ

กรณีนี้เราจะรับรองบุตร ให้เป็นลูกของเรา โดยอนาคตจะไม่ให้ลูกเราทราบว่าเค้าเป็นบุตรบุญธรรม จะทำอย่างไรครับ ในกรณีนี้ในสูตรติบัตร ไม่ได้ระบุชื่อของบิดาไว้ครับ และผมก็รับชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านผมไปแล้วด้วยครับ



ผู้ตั้งกระทู้ Pravag :: วันที่ลงประกาศ 2012-10-05 14:22:39


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2311861)

การับรองบุตรต้องเป็นกรณีที่เด็กที่เกิดมาเป็นบุตรนอกกฎหมาย อันเนื่องมาจากบิดา มารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน การที่จะทำให้เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีได้ 3 วิธีคือ

1. บิดา มารดา สมรสกันในภายหลัง

2. จดทะเบียนรับรองบุตรที่สำนักทะเบียน

3. ใช้สิทธิทางศาล โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าเด็กเป็นบุตร

มาตรา 1547  เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

ในกรณีของผู้ถาม ต้องการจดทะเบียนรับรองบุตรของผู้อื่น (ชายอื่น) ให้เป็นบุตรของเราไม่สามารถทำได้ เพราะการจดแจ้งในเอกสารทางราชการนั้นจะต้องเป็นจริงเท่านั้น หมายถึงเป็นบิดาและบุตรกันโดยสายเลือด แม้ในสูติบัตรจะมิได้ระบุชื่อบิดาไว้ก็ไม่สามารถทำได้ครับ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการใดในสูติบัตรจะต้องได้มีคำสั่งศาลเท่านั้นสำนักทะเบียนจึงจะดำเนินการให้ครับ โดยนำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้ร้อง (พ่อ) เอกสารของบุตร และคำสั่งศาลไปที่สำนักทะเบียนที่บุตรมีทะเบียนบ้านหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตครับ

การรับผู้ใดเข้ามาในทะเบียนบ้านไม่ใช่เงื่อนไขที่จะได้สิทธิพิเศษที่จะเปลี่ยนสถานะของบุคคลมาเป็นบุตรของเราได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ วันที่ตอบ 2012-10-30 18:51:32


ความคิดเห็นที่ 2 (2400874)


เรื่อง -สัญชาติ (ข้อมูลดี ๆ จาก สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ) (สฝคป.)

หลักเกณฑ์ขอสัญชาติไทยและการรับรองบุตรจากแม่ต่างด้าว


ถาม ด้วยกระผมเป็นคนสัญชาติไทย ปัจจุบันพำนักอยู่ในต่างประเทศมีภรรยาต่างด้าวและมีบุตรสาว 1 คนเกิดในต่างประเทศ  ซึ่งเกิดจากภรรยาต่างด้าวโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส  ซึ่งกระผมอยากจะไปแจ้งเกิดเพื่อขอสัญชาติไทยให้กับบุตรที่สถานทูตไทยครับ
กระผมได้มีโอกาสอ่าน พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508  มาตรา 7  บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด (1)  ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ถาม ด้วยกระผมเป็นคนสัญชาติไทย ปัจจุบันพำนักอยู่ในต่างประเทศมีภรรยาต่างด้าวและมีบุตรสาว 1 คนเกิดในต่างประเทศ  ซึ่งเกิดจากภรรยาต่างด้าวโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส  ซึ่งกระผมอยากจะไปแจ้งเกิดเพื่อขอสัญชาติไทยให้กับบุตรที่สถานทูตไทยครับ
กระผมได้มีโอกาสอ่าน พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508  มาตรา 7  บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด (1)  ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย  กระผมเข้าใจได้ว่าบุตรสาวของกระผมย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดเนื่องมาจากบิดามีสัญชาติไทย  แต่ด้วยปรากฏคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ...... ว่า  บิดาผู้มีสัญชาติไทยแต่ไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย (ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของบุตร) บุตรย่อมไม่ได้สัญชาติไทย
 กระผมจึงขอเรียนคำปรึกษาทางกฎหมายว่า
1.   จะทำอย่างไรให้บุตรสาวของผมได้มีสัญชาติไทยครับ
2.   การจดทะเบียนรับรองบุตรซึ่งเกิดจากมารดาต่างด้าวกระทำได้หรือไม่ครับ
3.   จะสามารถจดทะเบียนรับรองบุตรที่อำเภอหรือสำนักงานเขต หรือยื่นคำร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับรองบุตร  และนำทะเบียนรับรองบุตรไปยื่นต่อสถานทูตเพื่อขอแจ้งเกิดมีสัญชาติไทยให้กับบุตรได้ไหมครับ
 
ตอบ กรณีตามที่คุณถามว่าจะทำอย่างไรให้บุตรสาวของคุณได้มีสัญชาติไทย สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ (สฝคป.) ขอเรียนว่าตามกฎหมายของประเทศไทยการที่จะมีสัญชาติของบุคคลใดนั้น ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ มาตรา ๗ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า บุคคลจะได้สัญชาติโดยการเกิด คือบุคคลใดที่เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย แต่ตามกฎหมายไทยบุตรของบิดาผู้ที่มีสัญชาติไทยจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในกรณีของคุณเมื่อคุณมิได้จดทะเบียนสมรสกับภริยา บุตรสาวคุณจึงยังไม่ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๔๗ กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนั้นตามกรณีของบุตรสาวคุณจะได้สัญชาติไทยก็ต่อเมื่อเขาเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของคุณ คุณจึงควรที่จะไปจดทะเบียนรับรองบุตรสาวก่อน ซึ่งคุณสามารถกระทำได้ไม่ว่าบุตรสาวของคุณจะเกิดจากมารดาที่เป็นบุคคลต่างด้าวก็ตาม
 ส่วนการจดทะเบียนรับรองบุตร คุณสามารถที่จะไปติดต่อที่กงสุลไทยหรือสถานทูตไทยที่ประจำอยู่ในประเทศที่คุณอาศัยอยู่ เพราะตามพระราชบัญญัติการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ กำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นส่วนราชการเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนครอบครัวให้แก่คนไทยในต่างประเทศ

ซึ่งหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนรับรองบุตรตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๑ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร โดยเด็กและมารดาเด็กมาให้ความยินยอม นายทะเบียนจะดำเนินการดังนี้
-   ตรวจสอบคำร้อง
-   ลงรายการในทะเบียนรับรองบุตร
-   ให้ผู้ร้อง ผู้ให้ความยินยอมและพยานลงลายมือชื่อในทะเบียนรับรองบุตร
-   เมื่อเห็นว่าถูกต้องนายทะเบียนจะลงลายมือชื่อในทะเบียนรับรองบุตร
 โดยการจดทะเบียนรับรองบุตรนี้ บุตรสาวของคุณจะต้องโตพอที่จะสามารถสื่อสารกับนายทะเบียนได้ เพื่อที่จะให้ความยินยอมในการรับรองบุตรของคุณ หลังจากที่คุณได้จดทะเบียนรับรองบุตรแล้วคุณก็ติดต่อกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยที่เดิมที่คุณได้ดำเนินการในการรับรองบุตรเพื่อที่แจ้งเกิดและขอสูติบัตรไทยที่แสดงว่าบุตรคุณมีสัญชาติไทย
 
ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๕๗ ที่กำหนดหลักเกณฑ์ว่า การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในกรณีที่บิดาจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตรจะมีผลนับแต่วันจดทะเบียน ทาง สฝคป. ได้ค้นหาข้อมูลทางกฎหมายจากหนังสือกฎหมายระหว่างประเทศของ ศาสตราจารย์ ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ ได้มีความเห็นว่า “ตามมาตรา ๑๕๕๗ ดังกล่าวได้กำหนดให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่บิดามารดาทำการสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือวันที่จดทะเบียนรับรองบุตร หรือวันที่คำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่กรณี แต่ผลที่กล่าวนั้นจะเห็นได้ว่าเป็นผลเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของเด็กที่ได้รับการรับรองในทางแพ่งเท่านั้น เช่น สิทธิใช้นามสกุลและรับมรดก เป็นต้น ซึ่งเป็นสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายเอกชน มิได้เกี่ยวกับสัญชาติซึ่งเป็นสิทธิที่ได้มาตามกฎหมายมหาชน ฉะนั้นหากพิจารณาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยสัญชาติในเรื่องนี้ ซึ่งปรารถนาจะให้บุตรที่เกิดจากบิดาผู้มีสัญชาติไทยได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในฐานะผู้สืบสายโลหิตแล้ว บุตรในกรณีเช่นนี้ควรจะได้สัญชาติไทยตั้งแต่เกิด คือได้สัญชาติของบิดาย้อนหลังไปถึงวันเกิด กฎหมายต่างประเทศหลายประเทศถือตามหลักเช่นว่านี้”

 แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่คุณจะดำเนินการตามข้างต้น คุณควรที่จะติดต่อไปยังกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยที่ประจำอยู่ในประเทศที่คุณอาศัยอยู่ เพื่อสอบถามถึงหลักเกณฑ์ในการดำเนินการและเอกสารที่คุณจะต้องนำไปใช้เป็นหลักฐานด้วย และจากที่ทาง สฝคป. ได้โทรศัพท์ติดต่อกับเจ้าหน้าที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ได้รับแจ้งว่าคุณควรที่จะดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรที่ประเทศที่คุณอาศัยอยู่ เนื่องจากอาจมีการสอบถามพยานในขั้นตอนการจดทะเบียนรับรองบุตร ถ้าคุณมาดำเนินเรื่องที่ประเทศไทย บุคคลที่คุณจะนำมาเป็นพยานอาจจะไม่สะดวกในการเดินทางค่ะ ทั้งนี้ทาง สฝคป. ได้แนบข้อมูลการจดทะเบียนรับรองบุตรของคนไทยจากข้อมูลใน website กระทรวงการต่างประเทศมาให้ด้วย
 
การจดทะเบียนรับรองบุตรของคนไทยในต่างประเทศ
 เหตุที่มีการจดทะเบียนรับรองบุตร เนื่องจากบิดามารดาของเด็กไม่ได้จดทะเบียนสมรส บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาฝ่ายเดียว (ป.พ.พ. 1546)
บุตรนอกสมรสจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ

1. บิดาได้จดทะเบียนสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมายซึ่งมีผลนับตั้งแต่วันสมรส (มาตรา 1547)
2. บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร มีผลตั้งแต่วันที่จดทะเบียน (มาตรา 1547)
3. ศาลพิพากษาให้เด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา  มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด (มาตรา1547)

ขั้นตอนการจดทะเบียนรับรองบุตร
การดำเนินการของผู้ร้อง
-          บิดายื่นคำร้องของจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสถานทูต สถานกงสุลและต้องนำมารดาเด็กหรือเด็กมาแสดงตนว่าจะยินยอมหรือไม่
-          ผู้ร้องยื่นหนังสือแสดงความยินยอมของบุตร และหนังสือแสดงความยินยอมของมารดาและบุตรตามแบบฟอร์มบันทึก ด้านหลังคำร้อง
-          การให้ความยินยอมของบุตรย่อมหมายถึงบุตรจะต้องโตพอที่จะรู้เดียงสา ดังนั้นแม้เด็กจะอายุไม่ถึง 15 ปี ก็อาจให้ความยินยอมได้ หากรู้และเข้าใจถึงการให้ความยินยอมหรือคัดค้านว่าผู้ขอใช่หรือมิใช่บิดาของตน
การดำเนินการของ นายทะเบียน
-          ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร
-          หากเด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนให้นายทะเบียนทำหนังสือแจ้งการ จดทะเบียน ของบิดาไปยังเด็ก และมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายใน 60 วันนับแต่การแจ้งนั้น ถึงเด็กหรือมารดาเด็กให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็น 180 วัน
-          ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดาหรือไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น บุตรมีอายุเพียง 1 ปี ยังไม่รู้เดียงสา นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนไม่ได้ ผู้ขอจดทะเบียนต้องนำคดีฟ้องศาล เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนรับรองบุตรก่อน จึงจะกระทำได้
-          นายทะเบียนจดทะเบียนและบันทึกตามแบบถ่ายสำเนารับรองสำเนาถูกต้องส่งกระทรวงการต่างประเทศ
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2013-08-15 12:01:47


ความคิดเห็นที่ 3 (2400876)

จดทะเบียนรับรองบุตร

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนรับรองบุตร (เด็กหญิง ป.) ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง (มารดา)ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อศาล เพราะไม่ได้ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรผู้เยาว์ต่อนายทะเบียนเพื่อให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนรับรองบุตรเป็นหนังสือไปยังผู้คัดค้านและผู้เยาว์ เมื่อผู้คัดค้านคลอดบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องไม่ช่วยอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่บุตร ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียว ผู้คัดค้านเลี้ยงดูผู้เยาว์มาโดยตลอด ไม่มีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะจดทะเบียนรับรองบุตรอีก ขอให้ยกคำร้อง

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ วันที่ตอบ 2013-08-15 12:12:06



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล