ReadyPlanet.com


ความแตกต่างระหว่าง การรับมรดกแทนที่ กับการสืบมรดก


ขอรายละเอียดหน่อยค่ะ เพื่อการศึกษา ^^

1.การรับมรดกแทนที่  มีมาตราอะไรบ้าง 
2.การสืบมดก มีมาตราอะไรบ้าง

( 1,2 ขอแค่เลขมาตราก็ได้ค่ะ)

3.ความแตกต่างระหว่างการรับมรดกแทนที่กับการสืบมรดกมีอะไรต่างกันบ้าง

(ขออธิบายละเอียดหน่อยนะค่ะ ถ้าเป็นไปได้ขอข้อที่เหมือนกันด้วยนะค่ะ )

 

 

ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ ยุรีวรรณ (y-dot-w_-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2012-12-18 16:12:47


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2321836)

หมวด 4
การรับมรดกแทนที่กัน
                 
 
มาตรา 1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นรายๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย
 
มาตรา 1640  เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้มีการรับมรดกแทนที่กันได้
 
มาตรา 1641  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (2) หรือ (5) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้ามีทายาทในลำดับเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตกได้แก่ทายาทนั้นเท่านั้น ห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป
 
มาตรา 1642  การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม
 
มาตรา 1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรงผู้บุพการีหามีสิทธิดั่งนั้นไม่
 
มาตรา 1644  ผู้สืบสันดานจะรับมรดกแทนที่ได้ต่อเมื่อมีสิทธิบริบูรณ์ในการรับมรดก
 
มาตรา 1645  การที่บุคคลใดสละมรดกของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น ไม่ตัดสิทธิของผู้สละที่จะรับมรดกแทนที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นในการสืบมรดกบุคคลอื่น
 

การสืบมรดก

มาตรา 1607  การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัว ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว แต่ในส่วนทรัพย์สินซึ่งผู้สืบสันดานได้รับมรดกมาเช่นนี้ ทายาทที่ว่านั้นไม่มีสิทธิที่จะจัดการและใช้ดั่งที่ระบุไว้ในบรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 3 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในกรณีเช่นนั้นให้ใช้มาตรา 1548 บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 1615  การที่ทายาทสละมรดกนั้น มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย
เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้นต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น

 

3.ความแตกต่างระหว่างการรับมรดกแทนที่กับการสืบมรดกมีอะไรต่างกันบ้าง

ตอบ - (ความเห็น) การสืบมรดกตาม มาตรา 1607 กับ มาตรา 1615 เป็นการสืบมรดกของทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนการรับมรดกแทนที่เป็นสิทธิของผู้สืบสันดานของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแต่เสียชีวิตก่อนเจ้ามรดก

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์0859604258 วันที่ตอบ 2012-12-18 17:05:49



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล