ReadyPlanet.com


เรื่องครอบครัว (จดทะเบียนสมรสซ้อน)


 ดิฉันจดทะเบียนสมรสเมื่อ   ตค. 37  เปลี่ยนนามสกุลตามเขา  แต่งงานเมื่อ   กค. 2539 และ หย่าเมื่อ    สค. 39  เนื่องจากสามีสารภาพว่าเคยจดทะเบียนสมรสกับแฟนคนก่อนแล้วพร้อมมีหลักฐานยืนยัน แต่เราอยู่ด้วยกันมาตลอด มีบุตร 2 คน จนถึงเดี่ยวนี้ ครอบครัวมีความสุขดีค่ะคนรู่จักก็เยอะ สามีดูแลดีมาก  ทรัพย์สินมี บ้านใหญ่  1 หลัง ชื่อดิฉัน  ผ่อนที่สวนไว้ชื่อดิฉัน  บ้านเล็กอีก 2 หลัง ชื่อสามีค่ะผ่อนอยู่ สัญญาระบุว่า ถ้าตาย ให้เป็นของดิฉันละลูกอีก 2 คน ตามลำดับ ในทางกฎหมายลูกเป็นลูกของสามีหรือไม่  ถ้าสามีไม่หย่า ดิฉันต้องทำอย่างไร ดูท่าทางเขาไม่ได้สนใจจะทำให้ตัวเองเป็นอิสระดิฉันไม่ทราบเหตุผล เหมือนไม่เดือดร้อนอะไร ในทางกฎหมายดิฉันและลูกมีสิทธิอะไรบ้าง ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ 



ผู้ตั้งกระทู้ :: วันที่ลงประกาศ 2013-05-20 21:48:13


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2359373)

-ในทางกฎหมายลูกเป็นลูกของสามีหรือไม่

ตอบ - จดทะเบียน ตุลาคม 37 จดทะเบียนหย่า สิงหาคม 39 บุตรคนใดเกิดระหว่างที่เป็นคู่สมรสกันย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาไม่ว่าในภายหลังจะได้จดทะเบียนหย่า หรือการสมรสจากการจดทะเบียนสมรสซ้อน(โมฆะ ตาม มาตรา 1452) แต่หากเกิดขึ้นภายหลังจดทะเบียนหย่าย่อมเป็นบิดานอกกฎหมายของเด็ก(บุตร) แต่มีสิทธิรับมรดกของบิดา(โดยสายโลหิต) แต่สามารถที่จะจดทะเบียนรับรองบุตร หรือขอให้ศาลสั่งว่าเป็นบุตรได้

-ถ้าสามีไม่หย่า ดิฉันต้องทำอย่างไร ดูท่าทางเขาไม่ได้สนใจจะทำให้ตัวเองเป็นอิสระดิฉันไม่ทราบเหตุผล เหมือนไม่เดือดร้อนอะไร

ตอบ - คุณไม่อยู่ในฐานะที่จะดำเนินการใด ๆ ในทางกฎหมายได้ นอกจากนั้นยังอาจถูกภริยาชอบด้วยกฎหมายเรียกค่าทดแทนในความผิดฐานละเมิด ไปเป็นชู้กับสามีเขาได้ (หมายเหตุ- แม้ว่าเขาไม่ได้อยู่กินฉันสามีภริยา แต่ตราบใดยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า กฎหมายถือว่ายังเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมาย)

-ในทางกฎหมายดิฉันและลูกมีสิทธิอะไรบ้าง ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ 

ตอบ - คุณและสามี มีสิทธิในทรัพย์สินที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาคนละครึ่ง โดยไม่คำนึงว่าจะมีชื่อของใครในทางทะเบียน แต่ไม่ถือว่าคุณเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของสามีได้ เว้นแต่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของเขา(กรรมสิทธิ์รวม) ให้คุณหรือให้ลูก สำหรับลูกแล้วในทางมรดกลูกมีสิทธิรับมรดกของบิดานอกกฎหมายที่บิดายอมรับ รับรองว่าเป็นบุตรได้ตามที่ตอบไว้ข้างต้น

 

มาตรา 1538  ในกรณีที่ชายหรือหญิงสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1452 เด็กที่เกิดในระหว่างการสมรสที่ฝ่าฝืนนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีซึ่งได้จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง
ในกรณีที่หญิงสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1452 ถ้ามีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีซึ่งได้จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง ให้นำข้อสันนิษฐานในมาตรา 1536 มาใช้บังคับ
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่เด็กที่เกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้การสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 ด้วย

มาตรา 1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายลีนนท์0859604258 วันที่ตอบ 2013-05-21 18:39:31



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล