ReadyPlanet.com


ใครมีสิทธิรับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ผู้ยึดทรัพย์เราฟ้องไล่เบี้ยลูกหนี้


เรื่องมีอยู่ว่า
1. จำเลยที่ 1 อา
2. จำเลยที่ 2 พ่อ
3. แม่ คู่สมรสไม่ได้จดทะเบียน 1 ในหลาย ๆ ภรรยาของพ่อ
4. ลูก ผู้ร้องขัดทรัพย์ และผู้ชำระหนี้

อาซื้อรถและรถถูกยึด โดยมีพ่อเป็นคนค้ำประกัน ต่อมาเจ้าหนี้ได้ขอยึดทรัพย์คือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งในกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของแม่แต่เพียงผู้เดียวและในการทำการซื้อขายจะลงว่าโสดไม่มีคู่สมรส เพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรสและพ่อมีทะเบียนสมรสอยู่กับภรรยาเก่า บ้านหลังนี้มีพ่อเป็นเจ้าบ้าน และมีบุตรด้วยกัน 3 คน แต่พ่อก็ไม่ได้อาศัยอยู่ที่นี่เพราะแยกทางกับแม่นานแล้ว แต่ก็ไม่ยอมให้ใครเป็นเจ้าบ้านแทน

ต่อมาแม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินในลูก(คือตัวดิฉันนี่แหละค่ะ) โดยโอนวันเดียวกับมีที่คำสั่งอายัติที่ดินจากศาลแต่คำสั่งศาลมาหลังจากที่โอนประมาณ 1 ชั่วโมง

ทนายแนะนำว่าให้ลูกเป็นผู้ร้องขัดทรัพย์เพราะว่าได้มาโดยสุจริต และไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับการเป็นหนี้ของพ่อ
สู้กันยาวค่ะ แต่สรุปแล้วศาลยกคำร้อง เพราะศาลเห็นว่าการโอนจากแม่ให้ลูกนั้นเป็นการโอนที่ไม่สุจริต และพ่อมีสถานะเป็นเจ้าบ้านจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในโฉนดที่ดิน แต่ก็น่าจะทำมาหาได้ด้วยกันจริง ศาลก็ให้ยกคำร้อง ดิฉันก็เลยตัดสินใจว่าไม่อุทรธ์ดีกว่าหมดค่ทนายไปหลายบาทแล้ว หนี้แค่ไม่กี่หมื่นเอง จ่าย ๆ ไปเลยดีกว่าจะได้จบ สู้ต่อไปก็ต้องเสียค่าทนายเปล่า ๆ แค่นี้ก็หมดมากกว่าจำนวนหนี้แล้ว ก็เลยชำระหนี้โดยในวันที่ชำระหนี้พ่อไม่ได้มาที่กรมบังคับคดี ไม่ได้มอบอำนาจให้ดิฉันมาชำระหนี้แทนแต่อย่างไร เพราะว่าดิฉันไปกับเจ้าหนี้ โดยที่เจ้าหนี้ออกหนังสือรับรองให้ว่าแม่ดิฉันได้ทำการชำระหนี้ตรงนี้เพื่อถอนการยึดจากกรมบังคับคดี แต่ในความเป็นจริงแล้วเงินตรงนี้ดิฉันเป็นคนจ่าย ทางเจ้าหนี้เค้าก็แนะนำมาว่า แม่เป็นผู้เสียหายโดยตรงเพราะโฉนดเป็นชื่อแม่ตอนที่ทำการยึด (แต่ปัจจุบันเป็นชื่อดิฉัน) แต่ถ้าต้องการให้ออกใบรับรองเป็นชื่อดิฉันก็จะทำให้
คำถาม

1. ในการฟ้องไล่เบี้ยต้องทำยังไงบ้างคะ

2. เราสามารถเขียนคำร้องได้เองไหมคะ

2. ในกรณีที่จะฟ้องไล่เบี้ยกับจำเลยที่1 ใครมีสิทธิ์ฟ้องกันแน่ระหว่าง
พ่อ จำเลยที่ 2 แต่ไม่ได้ออกเงินเลยสักบาท
แม่ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่โดนยึด
ดิฉันเจ้าของโฉนดปัจจุบันและเป็นผู้ชำระเงิน ค่าหนี้ ค่าทนาย ค่าใช้จ่ายที่ กรม บังคับคดีทั้งหมด และอยากเป็นผู้สวมสิทธิ์ (แต่ถ้าจะสวมสิทธิ์ก็กลัวโดนยกคำร้อง)

ขอแถมอีกนิดนึงค่ะ ในกรณีของดิฉันเนี่ย พ่อก็ไม่ได้มาทำเรื่องฟ้องไล่เบี้ยให้ แต่ถ้าดิฉันจะไปฟ้องไล่เบี้ยก็จะมอบอำนาจให้ แต่ผ่านมาจะสองเดือนแล้วเอกสารในการมอบอำนาจยังไม่ครบเลย ขาดบัตรประชาชน แล้วดิฉันก็ไม่รู้ว่าถ้าฟ้องแล้วศาลตัดสินให้ชำระคืนให้พ่อดิฉันก็จะไม่ได้อะไรเลยและต้องเสียค่าทนายเองอีกต่างหาก

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วท่านอาจจะคิดว่าอะไรกันนักหนาเงินแค่ไม่กี่หมื่น( 85,5000 บาท) จะไปฟ้องไล่เบี้ยทำไมให้เสียเวลา เสียค่าทนาย และเสียความรู้สึกทำไมยังไงก็ญาติกัน ก็ถ้าญาติของดิฉันคนนั้นบอกกับดิฉันสักหน่อยว่าอาไม่มีก็ไม่เป็นไร แต่นี่อามีรายได้เดือนละเป็นแสน มีเมียที่เด็กกว่าดิฉันซึ่งเป็นหลาน มีรถให้เมียขับสบาย แล้วยังมาบอกให้เจ็บใจว่ารถก็ยึดไปแล้วจะมาเอาอะไรกับเค้าอีก เค้าไม่สน แต่บ้านดิฉันทั้งหลังถูกยึดเค้าก็ไม่สนใจจะโทรมาเลยตั้งแต่โดนยึดจนจบคดี
และอีกอย่างนึงดิฉันคิดว่าดิฉันใช้หนี้ให้พ่อมาหลายครั้งแล้ว ทั้ง ๆ ที่พี่ ๆ คนอื่น (คนละแม่) ก็มีธุรกิจส่งนอกใหญ่โตกันทั้งนั้นก็ไม่เห็นมาใครยื่นมามาช่วยชั้นใช้หนี้แทนสักคน แล้วยังมีรถที่ขอดิฉันไปขับแล้วบอกว่าจะส่งเองทุกวันนี้ดิฉันก็ส่งมา 2 ปี แล้วยังเหลืออีก ตั้ง 2 ปี แล้วหนี้ตรงนี้ดิฉันคิดว่าดิฉันไม่น่าจะเสียเงินตรงนี้ ไปฟรี ๆ ในเมื่อมีสิทธิ์ได้คืนก็สมควรที่จะฟ้องไล่เบี้ยนะคะ



ผู้ตั้งกระทู้ นก :: วันที่ลงประกาศ 2008-02-03 16:30:59


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615233)

1.ในการฟ้องไล่เบี้ยก็คือการฟ้องเหมือนคดีทั่วๆไป ในเมื่อคุณมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยบุคคลใดอันเนื่องมาจากคุณได้ชำระหนี้แทนไปแล้ว และเมื่อคุณทวงถามแล้วเขาไม่ชำระก็ต้องพึ่งบารมีศาลให้บังคับโดยการยึดทรัพย์ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ต่อไป

2. ถ้าคุณรู้วิธีเขียนก็ย่อมเขียนได้เองเพราะกฎหมายไม่ได้บังคับว่าคำฟ้องต้องเรียงโดยทนายความเท่านั้น ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นคู่ความสามารถทำเองได้ แต่ปัญหาว่าจะทำเป็นหรือไม่ เห็นว่าคงต้องจ้างทนายความครับ

3. ใครมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 1 นั้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 229 การรับช่วงสิทธิย่อมมีขึ้นด้วยอำนาจกฎหมาย และ ย่อมสำเร็จเป็นประโยชน์แก่บุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) บุคคลซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่เอง และมาใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีก คนหนึ่งผู้มีสิทธิจะได้รับใช้หนี้ก่อนตน เพราะเขามีบุริมสิทธิ หรือมี สิทธิจำนำ จำนอง
(2) บุคคลผู้ได้ไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์ใด และเอาเงินราคาค่าชื้อ ใช้ให้แก่ผู้รับจำนองทรัพย์นั้นเสร็จไป
(3) บุคคลผู้มีความผูกพันร่วมกับผู้อื่น หรือเพื่อผู้อื่นในอันจะต้อง ใช้หนี้ มีส่วนได้เสียด้วยในการใช้หนี้นั้น และเข้าใช้หนี้นั้น

เมื่อพิจารณาจากกฎหมายข้างต้นเมื่อคุณคือผู้มีความผูกพันเพื่อผู้อื่นคือจำเลยที่ 1 ในอันจะต้องใช้หนี้ มีส่วนได้เสียด้วยในการใช้หนี้นั้น และเข้าใช้หนี้นั้น คุณจึงรับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ผู้ทำการยึดทรัพย์ที่คุณมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ครับ

เมื่อทางเจ้าหนี้ออกหนังสือรับรองว่าคุณเป็นผู้ชำระหนี้แทนลูกหนี้หรือจำเลยที่ 1 คุณก็มีสิทธิที่จะรับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านบิดาของคุณที่ไม่ได้ชำระหนี้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-02-03 17:47:27



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล