ReadyPlanet.com


การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง


หากอยากทราบว่ามีเจ้าหนี้รายใดฟ้องเราบ้าง จำเลยสามารถไปเช็คการนำส่งหมายที่ศาลได้ และหากมีการนำส่งจริงแต่หมายถูกตีกลับมาที่ศาล
เพราะไม่มีผู้รับโดยชอบและหรือไม่ได้มีการปิดหมายไว้ ก็สามารถขอคัดหมายนั้นได้

 

 




ผู้ตั้งกระทู้ เพื่อการศึกษา :: วันที่ลงประกาศ 2008-01-10 14:31:34


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615189)

การนำส่งหมายศาลทำได้ 3 วิธี
1.นำส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หากไม่มีผู้รับหมายนั้น
จะไปอยู่ที่ที่ทำการไปรษณีย์เพื่อรอผู้รับไปติดต่อขอรับหมายหากถึงระยะเวลาที่กำหนดแล้วไม่มีผู้มารับหมายนั้นอีก
ไปรษณีย์ลงทะเบียนที่บรรจุหมายศาลก็จะถูกตีกลับไปที่ศาล

2.นำส่งโดยเจ้าหน้าที่เดินหมาย คือการนำส่งโดยเจ้าหน้าที่ศาลไปที่ภูมิลำเนาของจำเลย หากไม่มีผู้รับหมาย
และผู้พิพากษาไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปิดหมาย
เจ้าหน้าที่เดินหมายก็จะบันทึกรายละเอียดการนำส่งหมายไม่ได้ในครั้งนั้นๆ และจึงนำหมายศาลกลับไปที่ศาล
เพื่อรอโจทก์แถลงความประสงค์ต่อไป

3.นำส่งด้วยการปิดหมาย คือกรณีที่ผู้พิพากษามีคำสั่งอนุญาต
ให้ปิดหมายหากไม่มีผู้รับโดยชอบ (ผู้รับโดยชอบ
คือจำเลยเป็นผู้รับเอง หรือผู้รับแทนที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์)

หากจำเลยไม่ได้รับหมายไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
ซึ่งหมายศาลอาจสูญหายหรือถูกตีกลับไปที่ศาล
ถ้าทางฝ่ายโจทก์ขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งส่งหมายใหม่
และโจทก์แสดงเหตุผลเพียงพอว่าจำเลยไม่มีที่อยู่
เป็นหลักแหล่ง และโจทก์ไม่สามารถสืบหาที่อยู่อื่นอีกได้
โจทก์อาจขอศาลและศาลอาจมีคำสั่งให้ใช้วิธีไปลงประกาศ
ในหนังสือพิมพ์แทน ซึ่งการลงประกาศในหนังสือพิมพ์
ก็มักจะเป็นหนังสือพิมพ์ที่ไม่ค่อยจะมีคนอ่าน
หรือมีคนรู้จักเท่าใดนัก

หากอยากทราบว่ามีเจ้าหนี้รายใดฟ้องเราบ้าง
จำเลยสามารถไปเช็คการนำส่งหมายที่ศาลได้
และหากมีการนำส่งจริงแต่หมายถูกตีกลับมาที่ศาล
เพราะไม่มีผู้รับโดยชอบและหรือไม่ได้มีการปิดหมายไว้
ก็สามารถขอคัดหมายนั้นได้
โดยเสียค่าธรรมเนียมการขอคัดหมาย
การคอยตรวจเช็คว่ามีการเดินหมายส่งมาให้เราหรือไม่
เป็นสิ่งที่ควรกระทำโดยอาจจะไปเช็คที่ศาลเดือนละครั้ง
ว่ามีการฟ้องหรือไม่ หรือได้รับแจ้งจากเจ้าหนี้ว่าเขาฟ้องคุณแล้วแต่หมายศาลยังไม่มาที่บ้านคุณก็ไปขอคัดหมายที่ศาลได้
เพื่อจะได้ทราบรายละเอียดที่เขาฟ้องคุณ, วันเวลาที่ต้องไปศาลและหากจะยื่นคำให้การสู้คดีก็จะได้มีเวลาเตรียมตัวหาทนาย
เพื่อเขียนคำให้การสู้คดีต่อไป

ปิดหมายคือการแปะวางหรือขึงหมายศาลอย่างระวัง
ไว้ณ ภูมิลำเนาจำเลย บริเวณที่พบ สังเกตได้ง่าย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-01-10 14:33:24


ความคิดเห็นที่ 2 (2025813)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7608/2550 (การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย)

การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย

พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายที่บ้านเลขที่ทะเบียนบ้านกลาง 317 ซึ่งเป็นสำนักงานเขตดุสิต ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลย จึงไม่ใช่การปิดคำคู่ความ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย เป็นการส่งที่ไม่ชอบ ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางนับแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 มาตรา 4, 33 บัญญัติให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกของผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านซึ่งไปอยู่ที่อื่นเกิน 180 วัน และเจ้าบ้านไม่ทราบว่าผู้นั้นไปอยู่ที่ใด ต่อมานายทะเบียนโดยระบุว่าไม่ทราบที่อยู่ ให้นายทะเบียนผู้รับแจ้งเพิ่มชื่อและรายการผู้นั้นในทะเบียนบ้านกลางซึ่งนายทะเบียนบ้านกลางกำหนดให้จัดทำขึ้นสำหรับลงรายการบุคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน ไม่ปรากฏว่าก่อนหน้าที่จำเลยมีชื่อในทะเบียนบ้านกลางจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายที่บ้านเลขที่ทะเบียนบ้านกลาง 317 ซึ่งเป็นสำนักงานเขตดุสิต ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 37 จึงไม่ใช่การปิดคำคู่ความ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย เป็นการส่งที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางนับแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาเรื่องการส่งหมายและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบเป็นกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ชอบที่จะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บงจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 55,552.26 บาท (ที่ถูก 55,522.96 บาท) พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 33,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยขาดนัด ศาลแรงงานกลางให้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว

ศาลแรงงานกลาง พิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นตัวแทนของนายจ้างต่างประทศหรือเป็นบริษัทจัดหางานอันจะทำให้สามารถส่งคนไปทำงานต่างประเทศได้ และไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกันโดยจำเลยตกลงจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างและโจทก์ตกลงทำงานให้จำเลยโดยประสงค์จะได้รับค่าจ้างจากจำเลย ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยจึงมิได้เป็นไปโดยมีนิติสัมพันธ์กันในลักษณะที่เป็นคู่สัญญาในเรื่องจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญาดังกล่าวจากจำเลยได้พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

โจทก์ฟ้องจำเลยโดยระบุที่อยู่จำเลยในคำฟ้องเป็นบ้านเลขที่ทะเบียนบ้านกลาง 317 ทะเบียนบ้านกลางของเขตดุสิต แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยไม่ปรากฏว่าก่อนหน้านั้นจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด และปรากฏตามรายงานการเดินหมายว่าพนักงานเดินหมายและสำเนาคำฟ้องไว้ตามภูมิลำเนาที่ระบุไว้ในหมาย (ที่อยู่จำเลยระบุตามคำฟ้อง)

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่าตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 มาตรา 4, 33 บัญญัติให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกของผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านซึ่งไปอยู่ที่อื่นเกิน 180 วัน และเจ้าบ้านไม่ทราบว่าผู้นั้นไปอยู่ที่ใดต่อนายทะเบียนโดยระบุว่าไม่ทราบที่อยู่ และให้นายทะเบียนผู้รับแจ้งเพิ่มชื่อและรายการผู้นั้นในทะเบียนบ้านกลางซึ่งนายทะเบียนบ้านกลางกำหนดให้จัดทำขึ้นสำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน ดังนั้นบ้านเลขที่ทะเบียนบ้านกลาง 317 ซึ่งเป็นสำนักงานเขตดุสิตไม่ใช่ถิ่นที่อยู่อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37 การที่พนักงานเดินหมายปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตามที่อยู่ที่ระบุในคำฟ้องจึงไม่ใช่การปิดคำคู่ความ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย เป็นการส่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางนับแต่การส่งหมายและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบเป็นกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ชอบที่จะเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ตามรูปคดีต่อไป.

( วิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์ - พิชิต คำแฝง - พิทยา บุญชู )

ศาลแรงงานกลาง - นายสมฤกษ์ โรจนสุพจน์

ป.พ.พ. มาตรา 37

ป.วิ.พ. มาตรา 27, 79

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 มาตรา 4, 33
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2010-01-18 09:34:11


ความคิดเห็นที่ 3 (2025819)

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 "เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้วให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน

ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น

จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก

ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไปหรือสั่งไม่รับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18

บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียกเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตามมาตตรา 57 (3) โดยอนุโลม"

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2010-01-18 09:44:45



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล