ReadyPlanet.com


ซื้อทรัพย์จากธนาคาร แต่เจ้าของเดิมไม่ยอมออกไป ทำอย่างไร


ซื้อบ้านหลุดจำนองจากธนาคาร แต่ผู้จำนองยังอาศัยอยู่ ธ.ได้ดำเนินการฟ้องร้อง ศาลมีคำพิพากษาขับไล่ แต่เจ้าของเดิมยังไม่ออก ตอนทำสัญญา ธ.แจ้งว่าผู้ซื้อรายใหม่ต้องดำเนินการในเรื่อง ฟ้องขับไล่เอง จะทำยังไงดีเพราะ ธ.ก็ฟ้องไปแล้ว

ท่านผู้รู้ที่ใจบุญช่วยตอบหน่อยครับ ไม่ค่อยเข้าใจในกฏหมาย



ผู้ตั้งกระทู้ นอนไม่หลับ :: วันที่ลงประกาศ 2007-12-18 07:12:50


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615133)

การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วมีผู้รบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อมีทางแก้โดยใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 309 ตรี ที่แก้ไขใหม่ซึ่งบัญญัติว่า

เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ หากทรัพย์สินที่โอนนั้นมีลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารอยู่อาศัยและลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ยอมออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น (ซื้อชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลให้ออกคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพากษหรือบริวาร ออกไจกอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด แต่ไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ให้บังคับตาม มาตรา 296 ทวิ มาตรา 296 ตรี มาตรา 296 จัตวา ....โดยอนุโลม ทั้งนี้ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งคำบังคับโดยซื้อมีหน้าที่จัดการนำส่งและให้ถือว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารที่อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์นนั้นสเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าว

มาตรา 309 ตรี เพิ่มเติมโดย พรบ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2548
 การที่ผู้ถามซื้อทรัพย์จากธนาคาร ที่ว่าหลุดจากจำนองนั้นลองสอบถามธนาคารดูว่าเป็นทรัพย์ที่ธนาคารเข้าประมูลได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีใช่หรือไม่
   ในเวลาที่ผู้ถามซื้อทรัพย์ต่อจากธนาคารทราบเข้อเท็จจริงหรือไม่ว่ามีผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอาศัยอยู่ในบ้านถ้าไม่รู้ทางธนาคารต้องรับผิดในการที่ทรัพย์ที่ขายถูกรอนสิทธิ

ลองสอบถามฝ่ายกฎหมายของธนาคารดูว่าได้ยื่นคำร้องขับไล่ตามมาตรา 309 ตรี ข้างต้นแล้วหรือยัง ซึ่งเป็นได้ว่าอาจอยู่ในระหว่างดำเนินการแล้วผู้ถามได้เข้ารับโอนทรัพย์ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเข้าดำเนินการให้

กรณีของคุณน่าจะเข้ารับช่วงสิทธิของธนาคารได้ถ้าทางธนาคารได้ซื้อทรัพย์มาจากการขายทอดตลาด แล้วใช้สิทธิตามมาตรา 309 ตรีในนามของคุณเองได้

ถ้าทรัพย์ที่ซื้อได้มาจากการเอาทรัพย์จำนองหลุดโดยไม่มีการขายทอดตลาดจริง ๆ อย่างที่ข้อมูลที่ให้มาก็ไม่เข้าบทกฎหมายมาตรา 309 ตรี เพราะไม่ใช่ทรัพย์ที่ได้จากการขายทอดตลาด มีทางเดียวคือฟ้องขับไล่เป็นคดีใหม่  แต่อย่างไรก็ตามสอบถามทางธนาคารก่อนว่าที่มาของทรัพย์เป็นมาอย่างไรถ้าธนาคารซื้อมาจากการขายทอดตลาดก็ยื่นคำร้องต่อศาลในคดีเดิม
  การยืนคำร้องขับไล่ไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ ให้ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดต้องยื่นคำร้องเข้าไปในคดีเดิมหรือต่อศาลแห่งท้องที่ที่ ที่ดินและบ้านตั้งอยู่ในเขตอำนาจเท่านั้น โดยต้องแนบเอกสารท้ายคำร้องเพื่อให้ศาลพิจารณาดังนี้

(1)   รายงานการขายทอดตลาดครั้งที่ผู้ร้องซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด
(2)   หนังสือสัญญาซื้อขายทรัพย์ระหว่างผู้ร้องซื่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจากเจ้าพนักงานบังคับคดี
(3)   หนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่มีถึงเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่ผู้ร้อง (เป็นสำเนาหนังสือที่มีการรับรองถูกต้อง)
(4)   โฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิที่ดินที่จดทะเบียนใส่ชื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แล้ว

กรณีถ้าผู้ถามยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์จากธนาคาร เป็นแต่เพียงว่าทำสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้นก็ไม่เป็นไร เพราะผมเคยเห็นแบบสัญญาสำเร็จของธนาคารแล้วที่ระบุว่าเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกเอง

กรณีข้างต้นให้คุณขอผ่อนเวลาการโอนกรรมสิทธิ์จากธนาคารก่อนแต่ให้คุณชำระราคาตามเงื่อนไขตามสัญญาเดิมและกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ให้ยาวหน่อยเพื่อให้คดีที่ธนาคารได้ยื่นฟ้องแล้วหรือยื่นคำร้องแล้วได้ส่งหมายเรียกและคำร้องให้จำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เสียก่อนแล้วทางฝ่ายกฎหมายของธนาคารจะตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดหมายให้ลูกหนี้แสดงอำนาจพิเศษว่าอยู่ในบ้านดังกล่าวโดยใช้สิทธิอะไร และถ้าไม่แสดงอำนาจพิเศษภายในกำหนดแปดวันเจ้าหนี้โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธินำตำรวจมาจับตัวไปคุมขังไว้ก่อนระหว่างการขนย้ายทรัพย์สินออกจากบ้านพิพาทได้

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2007-12-18 14:42:01


ความคิดเห็นที่ 2 (2051735)

เมื่อตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วโดยส่วนมากในทางปฎิบัติหลังปิดประกาศ ผู้ร้องจะต้องดำเนินการเองในการจับกุมจำเลยโดยการนำตำรวจจับกุม ทั้งหาข้อมูลในการออกหมายจับบริวารจำเลยซึ่งเป็นเรื่องวุ่นวายพอสมควร แนวทางที่ดีน่าจะซื้อทรัพย์ธนาคารที่ได้ดำเนินการขับไล่เรียบร้อยทั้งต้องสอบถามเกี่ยวกับสัญญาให้รอบคอบ

ผู้แสดงความคิดเห็น สหการลออร์ วันที่ตอบ 2010-04-02 13:45:29


ความคิดเห็นที่ 3 (3805997)

 ข้อ 1. คำถาม บุคคลผู้มีสิทธิบังคับคดีได้แก่บุคคลใด

 คำตอบ มาตรา 271 บัญญัติถึงผู้มีสิทธิ์ขอให้บังคับคดีได้คือคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีซึ่งเรียกว่า " เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา"  ส่วนผู้ที่จะจะถูกบังคับคดีคือคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งเรียกว่า  " ลูกหนี้ตามคำพิพากษา"  มาตรา 271 ไม่ได้บัญญัติว่าผูู้ชนะคดีจะต้องเป็น "โจทก์" แสดงว่าผู้ชนะคดีอาจเป็นฝ่ายใดก็ได้  ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะคดีต้องพิจารณาจากคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
 1 ไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี
 2 ผลของคำพิพากษาทำให้โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน จำเลยก็มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้
 3 บุคคลที่มิใช่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี(เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ไม่มีสิทธิบังคับคดีได้
3.1 ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอม 
3.2 ผู้รับโอนสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตามคำพิพากษาจากโจทก์ 
3.3 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์
 
4 ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยผลของกฎหมายมีสิทธิบังคับคดีได้
 
5 ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้บังคับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ได้โดยถือว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ. พ. มาตรา 309 ตรี
 
มาตรา 309 ตรี  เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อหากทรัพย์สินที่โอนนั้นมีลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารอยู่อาศัย และลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ยอมออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ซื้อชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลให้ออกคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด แต่ไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ปฏิบัติตามคำบังคับให้บังคับตามมาตรา 296 ทวิ มาตรา 296 ตรี  มาตรา 296 จัตวา มาตรา 296 ฉ  มาตรา 296 สัตต  มาตรา 299  มาตรา 300  มาตรา 301  และมาตรา 302  โดยอนุโลม ทั้งนี้ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งคำบังคับโดยผู้ซื้อมีหน้าที่จัดการนำส่งและให้ถือว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารที่อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าว
 
ไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี
 
(อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2549)
 
ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2015-05-01 17:34:46



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล