ReadyPlanet.com


การร้องขอกันส่วนคืออะไร


การร้องขอกันส่วนนั้นใครเป็นผู้มีสิทธิที่จะร้องขอกันส่วนได้บ้าง และจะต้องต้องภายในระยะเวลาใด หรืออายุความเท่าใด



ผู้ตั้งกระทู้ ** :: วันที่ลงประกาศ 2008-03-11 18:10:46


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615290)

การร้องขอกันส่วนคืออะไร

การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินโดยอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อนำออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์แล้ว แต่การยึดทรัพย์ดังกล่าวไปกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลอื่น เช่น ไปยึดทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส เมื่อสามีมีสิทธิในสินสมรสนั้น สามีที่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วยจึงถือว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการถูกยึดทรัพย์สิน ซึ่งจะสามารถยื่นคำร้องขอให้ให้ศาลเจ้าของสำนวนกันส่วนทรัพย์สินของตนเองออกมา ก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือที่ดินแปลงดังกล่าวนี้ การกันส่วนนั้นหากเป็นทรัพย์สินที่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้เป็นส่วนๆ ก็สามารถที่จะทำได้ตามกฎหมาย แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ไม่สามารถที่จะแบ่งแยกได้โดยสภาพแห่งทรัพย์นั้น ผู้ขอกันส่วนก็สามารถที่จะขอกันส่วนในเงินที่ได้รับจากการขายทอดตลาดทรัพย์นั้นก็ได้ตามส่วนของตน

 

ใครเป็นผู้มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอกันส่วน

 

1.สามีหรือภรรยาที่ได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่ได้ร่วมกันทำมาหาได้ดังนั้นทรัพย์สินดังกล่าวนั้นถือว่าสามีภริยาเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพย์ที่ทำมาหาได้ดังกล่าว แม้ทรัพย์สินนั้นจะปรากฎเพียงชื่อของสามีหรือภรรยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้

2.เจ้าของรวมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษาในทรัพย์สินที่ถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อนำออกขายทอดตลาด

3. เจ้าหนี้บุริมสิทธิ เช่นเจ้าหนี้จำนำ จำนอง หนี้ภาษีอากร เจ้าหนี้เหล่านี้มีสิทธิ์ขอยื่นคำร้องขอกันส่วนของเงินที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินในส่วนของตนเองได้

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ วันที่ตอบ 2008-03-11 18:25:35


ความคิดเห็นที่ 2 (2431780)

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9761/2555

 
          ป.พ.พ. มาตรา 1361 บัญญัติว่า “เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน” แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง 1 ใน 7 ส่วน แต่จากการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของจ่าสิบเอก บ.  จดทะเบียนใส่ชื่อของจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพียงคนเดียว และนำที่ดินดังกล่าวไปจำนองเพื่อประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและบรรดาทายาทอื่นของจ่าสิบเอก บ. โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใด ทั้งผู้ร้องและพี่น้องคนอื่นซึ่งเป็นบุตรของจำเลยยังเคยเจรจากับโจทก์ว่าไม่คิดจะโกงโจทก์ และภายหลังโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว ผู้ร้องยังมีส่วนเจรจากับโจทก์โดยขอให้โจทก์ยอมลดยอดหนี้ให้แก่จำเลย จนจำเลยและโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และเมื่อมีการยึดที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาด ผู้ร้องยังได้ไปดูแลการขายทอดตลาดแทนจำเลยอีกด้วย แสดงว่าตลอดระยะเวลาประมาณ 20 ปี นับแต่จำเลยนำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไปจำนองไว้แก่โจทก์ ผู้ร้องรู้มาโดยตลอด แต่ไม่เคยโต้แย้งหรือคัดค้าน แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาให้จำเลยแสดงตนเป็น เจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวและยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพิพาทได้ การจำนองผูกพันผู้ร้องตาม ป.พ.พ.          มาตรา 1361 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงออกจากการขายทอดตลาดได้
ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ วันที่ตอบ 2013-11-21 11:40:08



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล