ReadyPlanet.com


ข้อสงสัยการแจ้งความดำเนินคดีฉ้อโกง


ในกรณีเคยแจ้งความคดีฉ้อโกงไว้ที่สน.ตำรวจ ตำรวจได้รับเรื่องและออกหนังสือเรียกตัวผู้ถูกกล่าวหา แต่เจ้าทุกข์ไม่ได้ดำเนินการมา2ปี  การดำเนินการตามกฎหมายจะสามารถทำต่อได้ไหมครับ


ผู้ตั้งกระทู้ เจ้าทุกข์ :: วันที่ลงประกาศ 2008-02-29 14:23:19


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615258)

เมื่อผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์ โดยประสงค์จะให้ลงโทษผู้กระทำความผิด เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการสอบสวนเพื่อส่งสำนวนให้ทางอัยการฟ้องต่อไป และถ้าอัยการเห็นสมควรสั่งฟ้องก็จะมีหมายเรียก เพื่อเรียกตัวผู้เสียหายไปเป็นพยาน

การที่เรื่องผ่านพ้นมาแล้วเป็นเวลาสองปีแล้วทางพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนไม่ได้ติดต่อผู้เสียหายมาน่าจะเป็นได้ว่ามีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง

หรือถ้าผู้เสียหายประสงค์ที่จะเป็นโจทก์ฟ้องเองก้สามารถทำได้อายุความคดีฉ้อโกง

มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอก ลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามหรือ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

โทษจำคุกไม่เกินสามปีมีอายุความสิบปีครับ

มาตรา 91 เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลาย กรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปแต่


ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลด มาตรา ส่วนโทษด้วยหรือไม่ ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้
1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี
(2) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี
(3) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-02-29 16:54:12


ความคิดเห็นที่ 2 (1615259)

ข้อแก้ไขครับ

มีอายุความสิบปีตาม

มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอัน ขาดอายุความ
(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษ
จำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี
(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น

ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำ ความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกิน กำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-02-29 16:57:53



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล