ReadyPlanet.com


คนไทยสมรสกับคนต่างชาติ ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้หรือไม่


คนไทยสมรสกับคนต่างชาติ ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ ** :: วันที่ลงประกาศ 2008-02-24 17:51:23


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615248)

คนไทยสมรสกับคนต่างชาติ ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้หรือไม่

เดิมคนไทยที่จดทะเบียนสมรสกับคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินมิได้เลย อาจจะเป็นด้วย เหตุผลทางด้านความมั่นคงของชาติ กลัวต่างชาติจะเข้ามาใช้เงินกว้านซื้อที่ดินโดยผ่านทางคู่สมรสที่เป็นคนไทย ประมวลกฎหมายที่ดินจึงไม่อนุญาตให้คนต่างชาติถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ และถ้าหากอนุญาตให้คนไทยที่สมรสกับต่างชาติถือ
กรรมสิทธิ์ในที่ดินได้แล้ว ที่ดินก็จะเป็น สินสมรสระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย

ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 บัญญัติว่าบุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน…..ฯลฯ การจำกัดขอบเขตแห่งสิทธิใดๆของประชาชนต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้อง กับรัฐธรรมนูญดังกล่าว และเพื่อให้คนไทยที่มีคู่สมรสเป็นต่างชาติสามารถถือครองที่ดินได้ กระทรวงมหาดไทยได้วางหลักเกณฑ์ให้เจ้าหน้าที่ที่ดินปฏิบัติดังนี้ คือ

ข้อ 1.ถ้าคนสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอซื้อที่ดินหรือขอรับโอนที่ดิน ในกรณีที่คล้ายคลึงกันในระหว่างสมรส หากสอบสวนแล้ว ผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวได้ยืนยัน เป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่า เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมดเป็นสินส่วนตัวของบุคคล สัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรสก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้ แต่ถ้าหากคนต่างด้าวที่เป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยไม่ยืนยันตามนัยดังกล่าว หรือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นสินสมรส เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินเพื่อขอคำสั่งรัฐมนตรี ตามนัย(มาตรา74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน)

ข้อ 2.ถ้าคนสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขอซื้อที่ดิน หรือขอรับโอนที่ดินในกรณีอื่นที่คล้ายคลึงกันในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภรรยากับคนต่างด้าว หากสอบสวนแล้ว ผู้ขอ และ คู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวได้ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่า เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมด เป็นทรัพย์ส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่ทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้ แต่ถ้าหากคนต่างด้าว ที่เป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยไม่ยืนยันตามนัยดังกล่าว หรือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร ว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นเงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งเรื่องไปกรมที่ดินเพื่อขอคำสั่งรัฐมนตรี ตามนัย(มาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน)

ข้อ3.ถ้าคนสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวทั้งที่ชอบ และมิชอบด้วยกฎหมายขอรับการให้ที่ดิน ในระหว่างสมรสหรือระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยากัน หากสอบสวนแล้วเป็นการรับ ให้ในฐานะที่เป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว มิได้ทำให้คนต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินร่วมด้วย ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้ แต่ถ้าหากเป็นการรับให้ในฐานะที่เป็นสินสมรส หรือมีผลทำให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมด้วย เมื่อ พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเสร็จแล้วให้ส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินเพื่อขอคำสั่งรัฐมนตรี ตามนัย (มาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน)

ข้อ4.ถ้าคนสัญชาติไทยที่เคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวแต่ได้หย่าขาดจากกันหรือเลิกร้างกันแล้ว ขอทำ นิติกรรมให้ได้มาซึ่งที่ดินหากสอบสวนแล้ว ไม่ปรากฏพฤติการณ์ที่แสดงว่าเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย ก็ให้ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้กับผู้ขอต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากระทรวงมหาดไทยได้วางหลักเกณฑ์ให้พนักงานที่ดินปฏิบัติแล้วก็ตาม ก็ยังเกิดปัญหา ขัดข้องในทางปฏิบัติอยู่บ้าง คือ กรมที่ดินได้วางระเบียบการให้ความยินยอมโดยคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าว ว่าจะต้องไปให้ความยินยอมด้วยตนเอง จะทำเป็นหนังสือเพียงอย่างเดียวโดยไม่ไปแสดงตนไม่ได้ ซึ่งระเบียบดังกล่าวของกรมที่ดินแม้ว่าจะมีเจตนาที่ดี แต่ก็นับว่าเป็นปัญหาอย่างมากในทางปฏิบัติของผู้ขอ

หากเทียบเคียงถึงการทำนิติกรรมอื่นๆ ที่มีคนต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อคนต่างชาติไปทำหนังสือหรือ ให้ถ้อยคำต่อโนตารี่พับลิค และกงสุลไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศของตนยังสามารถนำหนังสือมาใช้แสดง ในการทำนิติกรรมใดๆ ได้ ดังนั้นถ้าหากคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวมีเหตุขัดข้องไม่สามารถเดินทางมา ประเทศไทยเพื่อแสดงความยินยอมตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทยได้ ถ้าคนต่างด้าวนั้นไปทำหนังสือยินยอม และให้ถ้อยคำยืนยันต่อโนตารี่พับลิกและกงสุลไทยในประเทศของตน เหตุใดจะนำหนังสือ ยืนยันไปใช้แสดงต่อกรมที่ดินไม่ได้ ทั้งๆ ที่เป็นวิธีการแก้ปัญหาข้อขัดข้องอย่างหนึ่ง

แหล่งข้อมูล**http://www.pantown.com/board.php?id=9364&area=4&name=board7&topic=4&action=view

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-02-24 17:56:15



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล