ReadyPlanet.com


การให้เงินโดยเสน่หา


ถ้ามีคนนึงเข้ามาจีบแล้ว บอกว่าอยากจะช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สินของเรา โดยที่เราไม่ได้อยากได้ของเขา แล้วก็จ่ายค่างวดรถให้โอนเงินเข้าบัญชีให้เราหลายครั้ง แต่พอเราบอกว่าเราคบเขาไม่ได้ เขากลับขอเงินคืนทั้งหมด แล้วเอาหลักฐานการโอนเงินทั้งหมดไปแจ้งตำรวจ บอกว่าเราหลอกเงินเขาไป ขอถามท่านผู้รู้หน่อยค่ะว่า เรามีวิธีตอบโต้เขาหรือเปล่า เพราะเราไม่ได้ร้องขอ หรือขู่บังคับให้เขาโอนเงินมาให้เราเลย แต่เขากลับเอาหลักฐานการโอนเงินไปแจ้งตำรวจ เราควรตอบโต้เขายังไงดีคะ เพราะเราบอกแต่แรกแล้วว่าเราไม่ต้องการเงินของเขาแต่ช่วงนี้เรามีปัญหาเลยต้องใช้เงินที่เขาโอนมาให้ก่อน แต่บอกเขาทุกครั้งว่าถ้ามีเงินแล้วจะไปคืนให้ค่ะ ถ้าคนที่มาจีบผู้หญิงเป็นแบบนี้ทั้งประเทศ แล้วเขาจะดำเนินคดี แจ้งตำรวจของเงินและของที่เคยให้สมัยจีบกันคืนหมดเลยหรือเปล่าคะ

 

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ withnat :: วันที่ลงประกาศ 2008-04-26 17:35:24


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615354)

ในทางกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน การให้โดยเสน่หา หมายถึง การมอบทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้ให้กับผู้รับ โดยผู้ให้จะต้องตั้งใจที่จะให้กับผู้รับ และผู้รับเต็มใจที่จะรับมอบและยอมรับทรัพย์สินนั้น

เมื่อให้อะไรใครโดยเสน่หาแล้ว จะเอาคืนไม่ได้ ยกเว้นในกรณีที่ผู้รับเนรคุณ จึงจะมีสิทธิฟ้องเรียกคืนได้

เป็นเรื่องที่ผู้รับจะต้องตัดสินใจว่าจะรับการให้หรือไม่ การรักษามารยาทด้วยการรับทั้ง ๆ ที่ขัดใจ ก็ทำให้การให้สมบูรณ์แล้ว ดังนั้นเมื่อผู้รับไม่รับก็ไม่เป็นการให้ตามความหมายของกฎหมาย ถ้าผู้ให้ยังรั้นจะให้ และเป็นการให้ที่ไม่ใช่การส่งมอบของแก่กัน กฎหมายก็ยังรู้เท่าทันกำหนดสิทธิและหน้าที่เอาไว้ด้วย เช่นการชำระหนี้แทน กฎหมายบอกว่าจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้เสียก่อน มิเช่นนั้นถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยฝืนใจเจ้าหนี้ ซึ่งมีเกิดขึ้นได้เพราะลูกหนี้รายนี้ไม่ยอมชำระหนี้หรือจะยังไม่ชำระหนี้เพราะเขาอาจมีข้อเรียกร้องอะไรกับเจ้าหนี้รายนี้อยู่ ผู้หวังดีมาชำระหนี้ให้ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ การทำอะไรให้โดยพลการไม่เป็นการให้ตามความหมายของกฎหมาย แต่เป็นการ “จัดการงานนอกสั่ง”

เมื่อให้แล้วไม่อาจเรียกคืนได้เว้นแต่จะเข้าหลักเกณฑ์ของกฎหมายคือ

มาตรา 531    อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น ท่านว่าอาจจะเรียกได้แต่เพียงในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา หรือ
(2) ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้าย แรง หรือ
(3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลา ที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้

นอกจากนี้แล้วไม่สามารถเรียกคืนได้ ในเรื่องการถอนคืนการให้อ่านต่อที่นี่...

http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538670997&Ntype=5

 

http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538615218&Ntype=5

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-04-26 21:20:37



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล