ReadyPlanet.com


คืนความสาวฉันมา


เปลี่ยนนางเป็นนางสาวได้หรือยังคะ   อยากได้สาวกลับคือมาแย่แล้ว  ไม่ควรไปหลวมตัวจดด้วยเลย  นางมันตรอกย้ำล่ำไป

เวลาเรียกขานชื่อ ก็เป็นนาง ไม่ชอบเลย  อยากได้คำว่าสาวคืน

มาไวไว  จะได้ไม่เสียเปรียบผู้ชายห่วยๆ 



ผู้ตั้งกระทู้ อยากได้ความสบายทางจิตใจคืน :: วันที่ลงประกาศ 2008-03-20 09:19:07


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615305)

5 มิถุนายน 2551 นี้ หญิงไทยที่จดทะเบียนสมรสแล้ว สามารถขอเปลี่ยนคำนำหน้านามเป็นนางสาวได้

 

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่28 ก. ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ได้ตีพิมพ์ พระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ.2551 โดยมาตรา 5 ระบุว่า หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้วจะใช้คำนำหน้านามว่า "นาง"หรือ"นางสาว"ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

ส่วนมาตรา 6 ระบุว่า หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว หากต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า"นาง"หรือ"นางสาว"ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

พระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อย ยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบการใช้คำนำหน้านามหญิงเป็นอ ย่างอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติ

มาตรา 4 หญิงซึ่งมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว”

มาตรา 5 หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบีย นครอบครัว

มาตรา 6 หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว หากต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตาม

เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก ราชกิจจานุเบกษา 5 กุมภาพันธ์ 2551

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การใช้คำนำหน้านามของหญิงที่ จดทะเบียนสมรสแล้ว และหญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้ว และต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลงต้องใช้คำนำหน้านาม คำเดียว โดยมิอาจเลือกได้ตามความสมัครใจ ทำให้เกิดผลกระทบต่อหญิงดังกล่าวในการดำรงชีวิตประจำ วัน อาทิ การประกอบอาชีพ การศึกษาของบุตร และการทำนิติกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้การใช้คำนำหน้านามในลักษณะดังกล่าวของหญิงมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศ สมควรกำหนดให้หญิงมีทางเลือกในการใช้คำนำหน้านามตามความสมัครใจซึ่งเป็นการสอดคล้องกับ การเลือกใช้นามสกุลตามกฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคล จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2008-03-20 09:50:29



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล