ReadyPlanet.com


อายุความการบังคับคดี


ตามที่ข้อกฏหมายบอกว่า ให้โจทก์ยึดทรัพย์บังคับคดีของจำเลยภายในระยะเวลา 10 ปี นับจากวันพิพากษานั้น ขอเรียนถามดังนี้

1.ถ้าเกินระยะเวลา 10 ปี โจทก์( เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ )ไม่สามารถยึดทรัพย์บังคับคดีทรัพย์จำนองได้ หรือ ไม่สามารถยึดทรัพย์บังคับคดีทรัพย์อื่นที่สืบพบ( กรณีที่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วขายได้ไม่พอชำระหนี้ ) ค่ะ

2.จากข้อที่ 1 ถ้าไม่สามารถยึดทรัพย์ได้ โจทก์จะสามารถทำอย่างไรกับทรัพย์ที่ติดจำนองนี้ได้ค่ะ

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้อยากรู้ค่ะ :: วันที่ลงประกาศ 2008-05-10 15:22:48


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615390)

กรณีที่ผู้รับจำนองฟ้องลูกหนี้ผู้จำนองแล้ว และบังคับจำนองแล้ว

กรณีที่ 1.มีคำพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้ทำได้สองกรณีคือ เอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นของเจ้าหนี้ กับนำทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้  ตามที่ถามมานั้นว่าโจทก์( เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ )ไม่สามารถยึดทรัพย์บังคับคดีทรัพย์จำนองได้ นั้นยังไม่เข้าใจคำถามนะครับ เพราะเจ้าหนี้มีทรัพย์อยู่ในมืออยู่แล้วเขาดำเนินการได้เสมอ โดยเฉพาะคำว่าเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ นั้นแม้หนี้ประธานขาดอายุความไปแล้ว ตาม

มาตรา 745    ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้

ขนาดยังไม่ได้ฟ้องกฎหมายยังอนุญาตให้บังคับจำนองได้

ถ้าฟ้องคดีแล้วเจ้าหนี้คงไม่ปล่อยให้เลยสิบปีแน่นอน

ประการที่สอง เมื่อนำทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ และเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์สินอื่นได้โดยที่เจ้าหนี้จำนองได้ทำสัญญายกเว้นตาม

มาตรา 733    ถ้าเอาทรัพย์จำนองหลุดและราคาทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดีเงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น

เมื่อพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่มีคำพิพากษาย่อมเป็นอันสิ้นสุดการบังคับคดีสิทธิของเจ้าหนี้ย่อมระงับไปด้วยครับ

คำถามข้อที่ 2. คำว่าไม่สามารถยึดทรัพย์ได้ กับเจ้าหนี้ละเลยไม่ดำเนินการหรือกรณีใดครับ แต่ผมเข้าใจว่ามีการบังคับคดียึดทรัพย์แล้วแต่ยังไม่ขายทอดตลาด อย่างนี้แม่เกิน 10 ปี ก็ถือว่าได้บังคับคดีแล้วตาม

มาตรา 271 ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมด หรือบางส่วนคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำ พิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตาม คำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น

แต่ถ้าเลยสิบปีแล้วไม่บังคับคดีก็หมดสิทธิ์บังคับคดีแต่สิทธิที่จะเรียกเอาหนี้บุริมสิทธิ์ยังคงอยู่ครับ

ลองอ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้ดู

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่าเดิมโจทก์จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๙๐๕๒๔ เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์ให้ชำระเงินกู้และบังคับจำนองต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยชนะคดี ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๑๓๓๖๐/๒๕๒๕ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๒๕ คดีถึงที่สุด แต่จำเลยไม่ได้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยต้องจดทะเบียนถอนจำนองที่ดินพิพาทและส่งมอบโฉนดที่ดิน คืนแก่โจทก์โดยรับเงินค่าถอนจำนองจำนวน ๓๙๒,๐๐๐ บาท ที่โจทก์วางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์กลางตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ เห็นว่า แม้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยชนะคดีโจทก์ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๑๓๓๖๐/๒๕๒๕ และคดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยมิได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจนล่วงพ้นระยะเวลา ๑๐ ปี ที่จำเลยจะร้องขอให้บังคับคดีแก่โจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗๑ จำเลยย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาดังกล่าวอีกต่อไป อย่างไรก็ดี เมื่อไม่ปรากฏว่า การจำนองที่ดินพิพาทได้ระงับสิ้นไป การจำนองที่ดินพิพาทจึงยังคงมีอยู่ ฉะนั้น แม้จำเลยสิ้นสิทธิ ที่จะบังคับคดีเอาแก่หนี้จำนองตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่จำเลยยังคงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จำนองตามกฎหมาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา ๗๔๕ บัญญัติว่า "ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าไปไม่ได้" ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จำนองจากต้นเงินจำนวน ๒๔๕,๐๐๐ บาท กับดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเป็นเวลา ๕ ปี เท่านั้น เมื่อโจทก์เสนอขอชำระหนี้ ดังกล่าว แต่จำเลยไม่ยอมชำระหนี้ การที่โจทก์นำเงินจำนวนดังกล่าวไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์กลางเพื่อชำระหนี้จำนองแก่จำเลย จึงเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้จำนองโดยชอบแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนถอนจำนอง ที่ดินพิพาทและส่งมอบโฉนดที่ดินคืนแก่โจทก์ โดยรับเงินค่าถอนจำนองจำนวน ๓๙๒,๐๐๐ บาท ที่โจทก์วางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา ๒,๐๐๐ บาท แทนโจทก์ .

(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2547)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-05-11 03:25:06


ความคิดเห็นที่ 2 (1615391)

คำถามข้อที่ 2. คำว่าไม่สามารถยึดทรัพย์ได้ กับเจ้าหนี้ละเลยไม่ดำเนินการหรือกรณีใดครับ แต่ผมเข้าใจว่ามีการบังคับคดียึดทรัพย์แล้วแต่ยังไม่ขายทอดตลาด อย่างนี้แม่เกิน 10 ปี ก็ถือว่าได้บังคับคดีแล้วตาม

***สมมุติว่าเจ้าหนี้ละเลยไม่ดำเนินการยึดทรัพย์บังคับคดีภายใน 10 ปี ค่ะ( สมมุติว่าลืม ) เจ้าหนี้จะมีสิทธิดำเนินการใดบ้างค่ะ*****

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้อยากรู้ค่ะ วันที่ตอบ 2008-05-11 11:57:48


ความคิดเห็นที่ 3 (1615392)

เจ้าหนี้ลืมจนล่วงพ้น 10 ปี ก็หมดสิทธิ์บังคับคดีแต่ กรณีเจ้าหนี้จำนองแม้หมดสิทธิบังคับคดีตาม มาตรา 271 แต่ไม่หมดสิทธิตาม มาตรา 745 ครับ

อ่านฎีกาที่ให้ไว้ข้างบนก็จะพอเข้าใจตามคำถามนะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-05-11 12:26:50


ความคิดเห็นที่ 4 (1769857)
เป็นความเข้าใจผิดนะครับ บังคับจำนอง นั้นเจ้าหนี้ไม่สามารถไปบังคับเองได้ ไม่เชื่อก็ลองไปสำนักงานที่ดินจังหวัดดู แจ้งเขาว่าขอบังคับหนี้จำนองเป็นชื่อของเจ้าหนี้เพราะลูกหนี้ผิดเงื่อนไขสัญญาซิครับ รับรองเจ้าหน้าที่เขาจะส่ายหน้า เขาจะยอมรับเฉพาะคำบังคับของศาลเท่านัน
ผู้แสดงความคิดเห็น ปู้ วันที่ตอบ 2008-06-10 19:16:39


ความคิดเห็นที่ 5 (1895250)

บังคับจำนองก็ต้องฟ้องศาลก่อนครับ ไม่มีคำตอบว่าเจ้าหนี้จะไปบังคับเอาเองตามอำเภอใจครับต้องฟ้องบังคับจำนองครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-01-30 19:48:56



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล