ReadyPlanet.com


บ้านเป็นชื่อร่วม2คนเขาจะแอบขายหรือจำนองได้ไหม


บ้านเดียวโอนชื่อที่เขตแล้วใส่ชื่อหนู  เขาจะแอบขายหรือจำนองโดยที่เราไม่รู้ได้หรือไม่รู้  ได้หรือไม่ ขอความกรูณาตอบด้วยนะคะ



ผู้ตั้งกระทู้ เย็น :: วันที่ลงประกาศ 2008-05-10 13:34:43


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615386)

ที่บอกว่าโอนชื่อที่เขตแล้ว เข้าใจว่าโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินใช่หรือไม่

ถ้าในโฉนดที่ดินมีชื่อ บุคคล 2 คนเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ตาม  มาตรา 1357 ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน

มาตรา 1361 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือ จำนอง หรือก่อให้เกิดภารติดพันก็ได้

แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภารติดพันได้ ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน

เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะจำนองส่วนของตนก็ได้คือได้ส่วนของตนเท่านั้นครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-05-11 02:41:49


ความคิดเห็นที่ 2 (1615387)

 

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าว โจทก์ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้กับธนาคารทหารไทย จำกัดเพื่อเป็นประกันหนี้สินต่าง ๆ ของโจทก์และนายสุภกิจ เรืองฤทธิ์ สามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต่อมาโจทก์ทราบว่านายสุภกิจได้ทำการไถ่ถอนจำนองที่ดินและบ้านของโจทก์แล้วโอนขายให้จำเลยที่ 1 และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้กับจำเลยที่ 2 โดยอาศัยใบมอบอำนาจ ซึ่งโจทก์ไม่ได้ทำใบมอบอำนาจดังกล่าวให้นายสุภกิจไปทำการไถ่ถอนจำนองที่ดิน และจดทะเบียนขายต่อให้จำเลยที่ 1แต่อย่างใด ขอให้เพิกถอนการโอนและจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ถ้าไม่สามารถเพิกถอนจำนองได้ให้จำเลยที่ 1ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 ให้การว่า ที่ดินและบ้านโจทก์กับนายสุภกิจเรืองฤทธิ์ เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ขณะที่นายสุภกิจทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่จำเลยที่ 1โจทก์รู้เห็นโดยตลอดและยินยอมให้นายสุภกิจดำเนินการในฐานะตัวแทนโจทก์ การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านได้กระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่และโดยมีค่าตอบแทน จำเลยที่ 1 จึงได้กรรมสิทธิ์ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมรู้เห็นหรือร่วมทุจริตในการปลอมหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจที่จะนำไปจำนองไว้กับจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 2 ให้การว่า โจทก์และนายสุภกิจได้ร่วมกันกู้เงินมาซื้อที่ดินแปลงพิพาท แต่ได้จดทะเบียนใส่ชื่อไว้ในสารบัญโฉนดที่ดินเป็นชื่อของโจทก์เพียงผู้เดียว โจทก์และนายสุภกิจเรืองฤทธิ์ จึงมีอำนาจร่วมกันและแทนกันจัดการที่ดินดังกล่าวได้ต่อมาโจทก์และนายสุภกิจ เรืองฤทธิ์ ได้ร่วมกันและแทนกันโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยที่ 1ได้จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวนั้นไว้กับจำเลยที่ 2โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 เชื่อว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อปลอม และได้ดำเนินการจดทะเบียนจำนองถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งกระทำโดยสุจริตและมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อสมคบกับบุคคลใดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างโจทก์โดยนายสุภกิจ (น่าจะเป็นสุภกิจ เรืองฤทธิ์ กับจำเลยที่ 1และเพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาท และให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามเดิมหากไม่สามารถเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยที่ 2 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ที่ดินและบ้านพิพาทนายสุภกิจเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ เพราะได้มาระหว่างอยู่กินด้วยกันกับโจทก์แม้จะมิได้จดทะเบียนสมรส นายสุภกิจกับโจทก์ย่อมมีอำนาจจัดการที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมได้การทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของนายสุภกิจที่ได้กระทำไปแล้วย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ไม่สามารถขอให้เพิกถอนการโอนในส่วนนี้ได้นั้น เห็นว่า แม้จะฟังว่าที่ดินกับบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับนายสุภกิจการทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้าของรวมจะมีผลผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนใดโดยไม่ผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นนั้นจะต้องเป็นการทำนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นเท่านั้น นิติกรรมอันนั้นจึงจะมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของผู้ทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1361 วรรคแรก แต่สำหรับคดีนี้เป็นกรณีที่นายสุภกิจได้ใช้ใบมอบอำนาจปลอม ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังนั้นจึงถือได้ว่านิติกรรมทั้งหมดไม่มีผลผูกพันโจทก์ และต้องถือว่านิติกรรมซื้อขายกับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทมิได้เกิดขึ้น ต่างกับกรณีที่เป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่มิได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นดังได้วินิจฉัยมาแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนทั้งหมดได้

พิพากษายืน

( สุวรรณ ตระการพันธุ์ - นาม ยิ้มแย้ม - สุรินทร์ นาควิเชียร )

(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2537)

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-05-11 21:05:56


ความคิดเห็นที่ 3 (1615388)

 

คดีได้ความว่า โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชำระหนี้ตามสัญญาจำนองศาลได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยไม่ชำระโจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินและห้องแถว 4 ห้องตามสัญญาจำนองเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้

ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่า ที่ดินที่ยึดเป็นของจำเลยแต่ห้องแถว 4 ห้องเป็นของผู้ร้อง ขอให้ศาลสั่งถอนการยึด

ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ห้องแถวที่ยึดเป็นของจำเลยให้ยกคำร้องขัดทรัพย์

ผู้ร้องขัดทรัพย์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ผู้ร้องขัดทรัพย์ฎีกา

ศาลฎีกาเห็นว่า ผู้ร้องกับจำเลยอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาโดยมีอาชีพในทางค้าขายร่วมกันมาประมาณ 7-8 ปี ผู้ร้อง ซึ่งปลูกห้องแถวพิพาทขึ้น เมื่อจำเลยเอาห้องพิพาทไปจำนอง ผู้ร้องก็รู้และให้ความยินยอม จึงเป็นเรื่องเจ้าของรวมคนหนึ่งยินยอมให้เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งจำหน่ายทรัพย์นั้นได้ กรณีเข้าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 ฉะนั้น การจำนองรายนี้จึงมีผลผูกพันห้องแถวพิพาทซึ่งเป็นส่วนของผู้ร้องด้วย

พิพากษายืน ยกฎีกาผู้ร้อง

(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2503)

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-05-11 21:08:59


ความคิดเห็นที่ 4 (1615389)

เจ้าของร่วมคนหนึ่ง ๆ ขายที่ดินให้ผู้อื่นโดยระบุส่วนสัดของคนบอกจำนวนเนื้อที่ไว้อย่างชัดแจ้ง มิได้เกินกว่าส่วนสิทธิของตนนั้น แม้เจ้าของร่วมคนอื่นจะมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ก็ตาม การซื้อขายนั้นก็ย่อมสมบูรณ์ตาม ป.ม.แพ่ง ฯมาตรา 1361 วรรค 1 ส่วนมาตรา 1361 วรรค 2 นั้น ท่านประสงค์ห้ามมิให้เจ้าของร่วมคนหนึ่ง ๆ จำหน่าย จำนำ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์สินนั้น โดยมิได้รับความยินยอมแห่งเจ้าของร่วมทุกคนเพราะเป็นการทำลายสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นด้วย มิใช่แต่เฉพาะส่วนของตน

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-05-11 21:12:03



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล