ReadyPlanet.com


พินัยกรรมที่ไม่มีพยานลงชื่อเป็นพยานใช้ได้หรือไม่


คุณแม่เขียนพินัยกรรมยกที่ดินไว้ให้แต่ในพินัยกรรมไม่มีคนลงชื่อเป็นพยานจะใช้ได้หรือไม่


ผู้ตั้งกระทู้ รวงข้าว :: วันที่ลงประกาศ 2008-04-26 09:59:44


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615353)

มาตรา 1656 พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดั่งนี้ก็ได้กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อ รับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ไว้ในขณะนั้น

การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับ การทำพินัยกรรมตาม มาตรานี้

การทำพินัยกรรมแบบทำเป็นหนังสือเรียกว่า พินัยกรรมแบบธรรมดา ต้องมีพยานลงชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมอย่างน้อยสองคน ซึ่งผู้ที่จะเป็นพยานได้นั้นต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว

มาตรา 1657 พินัยกรรมนั้นจะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ ก็ได้กล่าวคือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความ ทั้งหมด วัน เดือนปี และลายมือชื่อของตน

การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรม นั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และ ลงลายมือชื่อกำกับไว้

การทำพินัยกรรมแบบเขียนขึ้นมาเองทั้งฉบับกรณีนี้ไม่ต้องมีพยานลงชื่อก็มีผลบังคับกันได้

คำพิพากษาฎีกา

เจ้ามรดกทำพินัยกรรมแบบธรรมดาโดยเขียนเองทั้งฉบับ มีผู้ลงชื่อรับรองเป็นพยาน 2 คน โดยพยานคนหนึ่งที่ลงชื่อนั้นเป็นผู้เยาว์นั้นจะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้ ฉะนั้นพยานในการทำพินัยกรรมนั้นก็จะเหลือเพียงคนเดียว ซึ่งไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับพินัยกรรมแบบธรรมดา  พินัยกรรมที่ทำนั้นก็เป็นโมฆะ แต่โดยเหตุที่ผู้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ได้เขียนพินัยกรรมฉบับนี้ด้วยตนเองทั้งฉบับ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พินัยกรรมฉบับนี้สมบูรณ์ในฐานะที่เป็นนิติกรรมแบบซึ่งไม่ต้องมีพยานเลยก็ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-04-26 21:02:58



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล