ReadyPlanet.com


ที่ดินของคุณพ่อได้รับมาจากปู่-ย่า และโอนกรรมสิทธิในปีพ.ศ.2548


คุณพ่อเสียชีวิต และไม่มีพินัยกรรม ดิฉันเป็นลูกของแม่ที่จดทะเบียนสมรส และอยู่ในระหว่างการดำเนินการขอเป็นผู้จัดการมรดก

ที่ดินของคุณพ่อได้รับมาจากปู่-ย่า และโอนกรรมสิทธิในปีพ.ศ.2548 ดิฉันจึงเชื่อว่า คุณแม่ต้องมีสิทธิในการครอบครองครึ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อย

ดิฉันเข้าใจว่าทรัพย์สินของคุณพ่อครึ่งหนึ่งต้องตกเป็นของคุณแม่ และที่เหลือ คุณแม่ก็ยังได้มามีส่วนแบ่งจากทายาทที่เหลือด้วย

ญาติผู้ใหญ่ทางฝ่ายคุณพ่อ ไม่พอใจที่คุณแม่ของดิฉันจะได้ที่ดิน อย่างน้อยครึ่งหนึ่งจากคุณพ่อ พวกญาติผู้ใหญ่คงกลัวว่าดิฉันจะไม่แบ่งปันทรัพย์สินให้กับลูก ๆ ของคุณพ่อ หรือไม่ก็กลัวว่าตนเองจะไม่ได้ใช้ที่ดินบางส่วนทำนาต่อไป พวกญาติจะมีสิทธิอะไรในทรัพย์สินของคุณพ่ออีกได้หรือ ที่ดินก็แบ่งกันไปหมดตามส่วนแล้ว

ถ้าถูกคัดค้านการขอเป็นผู้จัดการมรดก ถ้าท้ายสุดดิฉันเลือกเปลี่ยนให้คุณแม่ (ผู้มีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจ) เป็นผู้ขอแต่งตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก เรื่องมันจะสิ้นสุดได้มั๊ย ไม่งั้นก็คงต้องค้านต้องแย้งกันต่อไป

 



ผู้ตั้งกระทู้ นันท์ :: วันที่ลงประกาศ 2008-06-02 14:14:35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1762426)

ตามข้อเท็จจริงนั้น ที่ดินของพ่อรับมาจากปู่-ย่า ย่อมเป็นการให้โดยเสน่หา ซึ่งเป็นการให้โดยเสน่หาก็จะเข้าหลักเกณฑ์

ตาม

มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

ขอให้สังเกตุว่า ใน (3) นั้นถ้าพ่อรับมาโดยการให้โดยเสน่หาจากปู่-ย่า ย่อมเป็นสินส่วนตัว

คราวนี้เมื่อพิจารณาได้ว่าเป็นสินส่วนตัวของพ่อจะแบ่งกันอย่างไร

ทายาทของพ่อมีใครบ้าง

ปู่-ย่า ถ้าเสียชีวิตแล้วก็ตัดไป

ผู้สืบสันดานก็คือลูกทุกคน (เพื่อความเข้าใจง่ายจะเว้นผู้รับมรดกแทนที่ไป)

ภริยาของผู้ตาย

ลูกทุกคน(ลูกเมียน้อยเมียหลวง) + แม่   จะได้คนละส่วนเท่าๆ กัน

ดังนั้นในกรณีนี้ที่ดินดังกล่าวไม่ใช่สินสมรสและแม่ก็ไม่ได้แบ่งครึ่งก่อนที่จะแบ่งให้กับทายาทครับ

เมื่อทรัพย์มรดกแบ่งปันให้แก่ทายาทหมดแล้ว ญาติพี่น้องเดิมที่เคยอาศัยอยู่ตามคำอนุญาตของพ่อก็หมดสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินดังกล่าว และทายาทมีสิทธิที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้อยู่ต่อไปก็ได้

เรื่องการคัดค้านการขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้น เป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งให้ใครเป็นผู้จัดการมรดา หรืออาจแต่งตั้งคุณกับผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันก็ได้ แม้จะให้แม่คุณเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่ใช่ประเด็นในการยุติปัญหาครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-06-02 19:57:33



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล