ReadyPlanet.com


หนี้สินของเจ้ามรดกหลังการตาย กับทรัพย์สินที่บิดาให้ก่อนตาย


คือว่าผมได้รับการโอนให้โดยเสน่หาเป็นที่ดินแปลงหนึ่งจากพ่อผม และตอนปี 2546 พ่อผมเสียชีวิต ต่อมาเขามาฟ้องผมกับแม่ให้ชำระหนี้ อย่างนี้พวกเราต้องรับผิดชอบหรือไม่ครับ


ผู้ตั้งกระทู้ บอย :: วันที่ลงประกาศ 2008-05-15 17:25:32


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1691768)

มาตรา 1600 ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

กฎหมายบอกว่า สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ เป็นกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้นหนี้สินของผู้ตายก็เป็นหน้าที่และความรับผิดของกองมรดก ซึ่งกองมรดกต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ทั้งหลาย เมื่อได้จัดการชำระหนี้สินของผู้ตายให้เจ้าหนี้แล้วยังมีหนี้ค้างชำระอีกก็ต้องตกเป็นพับไป

แต่โดยปกติเมื่อลูกหนี้เสียชีวิต เจ้าหนี้ก็จะฟ้องทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเพื่อตั้งสิทธิรับชำระหนี้จากกองมรดกของผู้ตาย โดยมิได้หมายความว่า ทายาทของผู้ตายต้องรับผิดในหนี้ของผู้ตายเอาชำระจากทรัพย์สินของทายาทนั้น

ในกรณีที่มีการโอนทร้พย์สินของผู้ตายให้ทายาทก่อนตายนั้นไม่ใช่การโอนมรดก เพราะมรดกนั้นหมายถึงทรัพย์สินของผู้ตาย ไม่ใช่ทร้พย์สินของผู้มีชีวิตอยู่ ดังนั้นเมื่อได้โอนไปแล้วโดยชอบทรัพย์สินนั้นก็ไม่ใช่กองมรดกครับ

แต่ต้องพิจารณาว่าการโอนนั้นทำให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบหรือไม่ตาม

มาตรา 237    เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆอันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบแต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หาท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้

หลักเกณฑ์ของกฎหมายก็คือทั้งๆ ที่ลูกหนี้รู้ว่าตนมีหนี้แต่ก็ได้ทำการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนออกไปทำให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบแล้ว เจ้าหนี้ก็ขอให้เพิกถอนได้ครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-05-17 08:47:20



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล