ReadyPlanet.com


ธนาคารอายัดเงินเดือน


ธนาคารกรุงไทยฟ้องลูกหนี้ธนวัฎ และผู้ค้ำประกันในฐานะลูกหนี้ร่วม  ลูกหนี้ที่ 1 ไม่มีเงินเดือนผ่านธนาคารฯ เนื่องจากลาออกจากราชการแล้ว ส่วนผู้ค้ำประกันฐานะลูกหนี้ร่วม ยังคงรับราชการ และเงินเดือนผ่านธนาคารฯ ศาลมีคำบังคับให้ลูกหนี้ร่วมกันชำระหนี้ให้แก่ธนาคารฯ ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้  ธนาคารฯ ได้อายัดเงินเดือนของผู้ค้ำประกันฯ อยากทราบว่า ธนาคารฯ ใช้ระเบียบหรือกฎหมายใด ระงับการเบิก-จ่ายเงินเดือนของผู้ค้ำประกันในฐานะลูกหนี้ร่วม


ผู้ตั้งกระทู้ Chamoh :: วันที่ลงประกาศ 2008-06-05 14:32:00


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1765589)

มาตรา 286 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
(1) เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกำ หนดไว้และเงินรายได้เป็นคราว ๆ อันบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพ เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
(2) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บำนาญ หรือบำเหน็จที่หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น
(3) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (2) ที่นายจ้างจ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรส หรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท หรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
.....

เงินเดือนข้าราชการไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีนะครับ ดังนั้นหากดำเนินการไปโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็คัดค้านไปยังสำนักงานบังคับคดีได้ครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-06-05 17:37:47


ความคิดเห็นที่ 2 (1765611)

เงินขวัญถุงที่ข้าราชการได้รับจำนวน 7 เท่า ของเงินเดือนตาม พ.ร.ฎ. เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2542 มาตรา 8 เป็นส่วนหนึ่งของเงินที่ทางราชการจ่ายเพื่อช่วยเหลือข้าราชการที่ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ ถือได้ว่าเป็นเงินบำเหน็จ ซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-06-05 17:54:42


ความคิดเห็นที่ 3 (1765615)

เนื่องจาก พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 มาตรา 12 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ดังนั้น เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการจึงมิใช่เงินเดือนในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมบังคับคดีได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-06-05 17:56:40


ความคิดเห็นที่ 4 (1765619)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2546

 

เนื่องจาก พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 มาตรา 12 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ดังนั้น เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการจึงมิใช่เงินเดือนในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมบังคับคดีได้

 

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน 148,223.50 บาท ตามสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ ต่อมาโจทก์และจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ขอให้บังคับคดี ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดและอายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสาม เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2

จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการพลเรือน สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งจากเงินงบประมาณ หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง เนื่องจากเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการเป็นเงินเดือนหรือค่าตอบแทนส่วนหนึ่งของเงินเดือน จึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2) ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่อายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 อยู่ในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2) ซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี จึงให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2

โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีหรือไม่ เห็นว่า คำว่าเงินประจำตำแหน่งนั้น ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจ่ายเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ พ.ศ.2539 มาตรา 3 หมายความว่า เงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งกฎหมายที่ว่านี้ก็คือพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 โดยมาตรา 12 วรรคสาม ของพระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ดังนั้น เมื่อเงินประจำตำแหน่งไม่มีสภาพเป็นเงินเดือน จึงไม่อยู่ในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2) อันจะไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี โจทก์ย่อมบังคับเอาจากเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น

ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่อายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 เสียค่าธรรมเนียมศาลไม่ครบจึงเป็นคำขอที่ไม่ชอบนั้น เห็นว่า การร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่อายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 เป็นคำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการบังคับที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งต้องทำเป็นคำร้องและต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามตาราง 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (3) เป็นค่าคำร้องเป็นเงิน 20 บาท และข้อ (7) เป็นค่าคำสั่งอีกเป็นเงิน 50 บาท โดยต้องชำระเมื่อยื่นคำขอต่อศาล เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นคำขอโดยเสียค่าธรรมเนียมศาล 20 บาท และพนักงานศาลระบุว่าเป็น "ค่าคำร้อง" ตามที่พนักงานศาลเรียกให้เสีย แม้จำเลยที่ 2 มิได้เสียค่าคำสั่งเป็นเงิน 50 บาท อันเป็นการเสียค่าธรรมเนียมศาลไม่ครบ แต่ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยที่ 2 และมีคำสั่งชี้ขาดแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 จงใจหลีกเลี่ยงไม่ยอมเสียค่าธรรมเนียมศาลซึ่งขาดอยู่เพียง 50 บาท ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด จึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยที่ 2 เสียค่าธรรมเนียมศาลให้ครบตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ.

( สดศรี สัตยธรรม - วิรัช ลิ้มวิชัย - มานะ ศุภวิริยกุล )

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-06-05 17:58:59


ความคิดเห็นที่ 5 (1766262)

ผมอ่านความเห็นของคุณลีนนท์ แล้วผมก็ยังงงอยู่ดี เพราะฟมไม่เข้าใจคำว่าอุทธร์ และก็ฎีกา แล้วทำไมศาลถึงได้กลับไปกลับมา งงครับท่าน 

ผู้แสดงความคิดเห็น คนชอบสงสัย วันที่ตอบ 2008-06-06 13:16:19


ความคิดเห็นที่ 6 (1766427)

ศาลฎีกา เป็นศาลชั้นสูงสุด เมื่อศาลอุทธรณ์ตัดสินแล้วคู่ความไม่พอใน และเมื่อเมื่อศาลฎีกาตัดสินย่อมยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกาครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-06-06 16:01:28


ความคิดเห็นที่ 7 (1843945)

ไร้ไขมัน ปฏิวัติรูปร่างใหม่ !!!

กับสุดยอดโปรแกรมโภชนาการ ระดับโลก จากสหรัฐอเมริกา คืนความสมดุลให้ร่างกาย

ควบคุมน้ำหนัก ลดสัดส่วน และไขมัน ในร่างกาย

ฟื้นฟูความเสื่อมของร่ายกาย  ให้คุณสวย หล่อ และแข็งแรงสมวัย

 

สัมผัสการเปลี่ยนแปลงใน 10 วัน

อิ่มเร็วขึ้น รับประทานอาหารได้เท่าที่ต้องการ
ดื่มน้ำได้มากขึ้น ขับถ่ายปัสสาวะได้ดี ปริมาณมาก


ขับถ่ายอุจจาระได้ดี ไม่ท้องผูก
กล้ามเนื้อกระชับ ไม่เหี่ยว หย่อย คล้อยจากการลดน้ำหนัก


พลังงานมากขึ้น ทำงานได้นานขึ้น ไม่เพลียง่ายเหมือนเคย ไม่ง่วงนอน
ลดอาการบวมน้ำ แก้ไขผิวเปลือกส้ม (เซลลูไลท์)

 

หลับสนิท หลับลึก ตื่นได้เองในตอนเช้า อย่างสดชื่น
ผิวพรรณ เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล ผม เล็บ ดีขึ้นอย่างสังเกตได้


ตัวเบาสบายขึ้น ไม่รู้สึกอัดเหมือนที่ผ่านมา
กางเกง กระโปรงเริ่มหลวม ได้ในสัปดาห์แรก

 

*นอกจากน้ำหนักตัว และสัดส่วนของคุณจะดีขึ้นแล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น mind&care (tnt_816-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-09-30 12:24:20



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล