ReadyPlanet.com


ค่าเลี้ยงดูบุตร


ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ฝ่ายชายฟ้องร้องขอดูเจอลูกจะได้สิทธิ์อย่างไร   และถ้าเค้าฟ้องขอเจอลูก  เราสามารถฟ้องค่าส่งเสียเลี้ยงดูกลับได้หรือไม่หากฝ่ายชายไม่ส่งเสีย   ปัจจุบันลูกอยู่กับญาติฝ่ายหญิง



ผู้ตั้งกระทู้ มณเทียร :: วันที่ลงประกาศ 2008-06-02 12:30:19


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1762087)

ในเบื้องต้นต้องทำความใจเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาก่อนนะครับ

บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย

ตาม

มาตรา 1546  เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

ในกรณีของคุณไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลูกที่เกิดมาจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาคนเดียวครับ แม้ว่าในสูติบัตรจะปรากฎชื่อคุณมณเทียร เป็นบิดาก็ตามครับ

จากชื่อผู้ถามคือมณเทียร ผมเข้าใจว่าคุณคือบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงขอตอบคำถามดังนี้

ถามว่าฝ่ายชายฟ้องร้องขอดูเจอลูกจะได้สิทธิอย่างไร?

คือคุณต้องการจะถามว่าจะฟ้องขอให้ศาลสั่งว่าคุณเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรและเลี้ยงดูบุตรแต่เพียงผู้เดียว

ตอบว่าคุณต้องทำให้ลูกของคุณเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของคุณเสียก่อน คุณถึงจะมีสิทธิใช้อำนาจปกครองบุตรได้ และการที่จะทำให้ลูกเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมี 3 ทางคือ

1. จดทะเบียนสมรสกับแม่ของเด็กในภายหลัง(ภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส)

2. ไปที่สำนักงานเขต/อำเภอ ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร โดยได้รับความยินยอมของแม่และบุตร

3. ขอให้ศาลสั่งว่าเด็กเป็นบุตร

ประการต่อไปคือ เมื่อเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายแล้วย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองร่วมกับมารดาซึ่งกฎหมายบอกว่าเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายโดยผลของกฎหมายอยู่แล้วโดยไม่ต้องทำอะไร

ถามว่าแล้วทำอย่างไรถึงจะได้เลี้ยงดูบุตรแต่เพียงผู้เดียว

ต้องถอนอำนาจปกครองของมารดาบุตร แต่จะถอนได้ต้องเป็นกรณีที่มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นต้องโทษจำคุก ทอดทิ้งไม่ดูแลบุตรผู้เยาว์เป็นต้น

คำถามต่อไปที่ถามว่า** และถ้าเค้าฟ้องขอเจอลูก

เมื่ออ่านคำถามแล้วคุณน่าจะเป็นมารดานะครับ

ขอตอบดังนี้ก็ใช้สิทธิตามที่อธิบายข้างต้นครับ

คำถามต่อไปคือ เราสามารถฟ้องค่าส่งเสียเลี้ยงดูกลับได้หรือไม่หากฝ่ายชายไม่ส่งเสีย

ตอบว่าถ้าเขาเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเขาก็มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรร่วมกับมารดาครับ

มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควร แก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะ ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้

บิดาและมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายย่อมเป็นลูกหนี้ร่วมที่จะต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรตามสมควรแก่ฐานะผู้ให้ ดังนั้นหากเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่จ่ายค่าอุปการะ  ผลก็คือฝ่ายที่จ่ายไปสามารถฟ้องร้องเรียกเอาจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-06-02 13:35:53


ความคิดเห็นที่ 2 (1762095)

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2533 มีบุตร 1 คนคือ เด็กชายทันตพล เวชวงศ์วาน ผู้เยาว์ ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2535โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเอกสารหมาย ล.3 คดีจึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นแรกตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยต้องรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์หรือไม่ เห็นว่า ภาระหน้าที่สำคัญของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ได้แก่หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 และภาระหน้าที่อันสำคัญยิ่งนี้มิได้หมดสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนหย่าตราบใดที่จำเลยยังมีอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ ซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้เป็นที่ยุติแล้วว่า ตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่า ให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566วรรคหนึ่ง ส่วนที่มาตรา 1522 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่าย หรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เป็นจำนวนเงินเท่าใด" นั้น ก็มีความหมายเพียงว่า ในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดหากสามีและภริยามิได้กำหนดจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ในบันทึกข้อตกลง ศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ให้ศาลเป็นผู้กำหนด" ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวหาได้หมายความถึงขนาดที่ว่า เมื่อมิได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรดังที่จำเลยฎีกาโต้แย้งแต่อย่างใดไม่ เมื่อพิเคราะห์ข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเอกสารหมาย ล.3 ในข้อ 3ที่ว่า "คู่หย่าทั้งสองฝ่ายสาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกันมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ด.ช.ทันตพล เวชวงศ์วาน อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา" แล้วเห็นว่า ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามมาตรา 1522วรรคหนึ่งแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเอกสารหมาย ล.3 แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดแย้งกับพยานเอกสารดังกล่าวตามข้อกล่าวอ้างของจำเลยเช่นกัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2523 ที่จำเลยยกขึ้นอ้าง ข้อเท็จจริงและประเด็นข้อพิพาทไม่ตรงกับคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ให้แก่โจทก์นั้น ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์มีว่า โจทก์เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งเป็นปีที่โจทก์อ้างว่า จำเลยไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน80,000 บาท นอกเหนือจากค่าอุปการะเลี้ยงดูนับแต่วันฟ้องเดือนละ5,000 บาท จนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะได้หรือไม่ ข้อนี้ เห็นว่าเมื่อได้วินิจฉัยไว้ในประเด็นแรกแล้วว่า หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ เป็นภาระหน้าที่อันสำคัญของจำเลยผู้เป็นบิดา ซึ่งมิได้สิ้นสุดลงหลังการจดทะเบียนหย่า แม้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเอกสารหมาย ล.3 มิได้ระบุให้จำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เป็นจำนวนเงินเท่าใด ศาลก็ย่อมกำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควร เมื่อโจทก์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยเองก็ยอมรับว่า หลังจดทะเบียนการหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้ ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่กำหนดให้ตามสมควรเป็นเงิน 80,000 บาท เพราะทั้งโจทก์จำเลยต่างก็มีอาชีพเป็นหลักฐานมั่นคง แต่จำเลยมีอาชีพเป็นทันตแพทย์ ย่อมมีรายได้ดีกว่าโจทก์ที่มีอาชีพเป็นเภสัชกร ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อีก 80,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้นไม่ชอบ ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-06-02 13:40:22


ความคิดเห็นที่ 3 (1762200)

ขอโทษที่แจ้งรายละเอียดไม่ครบค่ะ มณเทียรคือมารดา  พ่อของเด็กไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรกันและไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน   แต่ฝ่ายชายแจ้งว่ามีพิธี(แต่งงาน) ถือว่าเค้าสามารถฟ้องร้องดูแลลูกได้  เลยอยากทราบว่าถ้าเค้าฟ้องเค้าจะได้ลูกไปเลี้ยงกี่วัน

ผู้แสดงความคิดเห็น มณเทียร วันที่ตอบ 2008-06-02 15:24:11


ความคิดเห็นที่ 4 (1762412)

ถ้าบิดาเด็กฟ้องก็จะฟ้องขอเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายก่อนตามที่อธิบายไว้ข้างต้นครับ

ตอนนี้ถือว่าเขาเป็นบิดานอกกฎหมาย ที่ไม่มีสิทธิอะไรในตัวบุตรครับ

เมื่อเขาเป็นบิดาที่ถูกต้องแล้ว เขาก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะขอดูแลเด็กได้ แต่ตอนฟ้อง ทางมารดาอาจต้องต่อสู้ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ถ้าศาลบอกว่าต้องแบ่งกันคนละกี่เดือนกี่ปีก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

แต่โดยมากศาลก็จะกำหนดให้บุตรอยู่กับมารดา หรือบิดา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อสะดวกในการเลี้ยงดูและใช้อำนาจปกครอง และอาจอนุญาตให้ฝ่ายที่ไม่ได้เลี้ยงดูมาพบและเยี่ยมบุตรได้ตามสมควร

และศาลก็คงกำหนดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นรายเดือนๆ ละเท่าใดก็ได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-06-02 19:41:45


ความคิดเห็นที่ 5 (1847346)
ในกรณีที่ฝ่ายชายไม่ได้จดทะเบียนและต้องการยื้นฟ้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งว่าเด็กเป็นบุตรต้องทำอย่างไรค่ะ เพราะตอนนี้เด็กอายุแค่ 2ขวบ อยู่กับยาย ส่วนแม่มีหนี้สินมาก แต่เป็นแบบนอกระบบ จึงไม่สารมารถมาเลี้ยงดูลูกได้ และได้มอบหมายให้ฝ่ายชายนำลูกมาอยู่กับยายแต่ฝ่ายชายก็ส่งเสียค่าเลี้ยงดูไม่ได้ขาดตามอัตภาพ พักหลังฝายหญิงแอบไปมีผู้ชายใหม่จึงให้แม่ช่วยปกปิดที่อยู่และนำรถจักรยานยนต์ที่เป็นชื่อฝ่ายชายไปขายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากฝ่ายชาย ฝ่ายชายสามารถฟ้องได้ไหมค่ะและช่วงหลังแม่ฝ่ายหญิงพยายามกีดกันไม่ให้ฝ่ายชายเจอลูก เพราะความที่ไม่ชอบฝ่ายชายแต่เดิมอยู่แล้วค่ะ ช่วยกรุณาตอบด้วยนะค่ะ ต้องทำอย่างไรถึงจะให้ศาลสั่งได้ว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบธรรม   ขอคำตอบด่วนค่ะเพราะตอนนี้ทางฝ่ายหญิงกำลังยื่นฟ้องขอมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว
ผู้แสดงความคิดเห็น อาของหลาน วันที่ตอบ 2008-10-08 12:29:22


ความคิดเห็นที่ 6 (1847789)
ตอบให้ในกระทู้ที่ตั้งใหม่หน้าแรกแล้วครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-10-09 09:50:37


ความคิดเห็นที่ 7 (1852985)

บันทึกตกลงยินยอมหลังการหย่าด้วยความสมัครใจที่อำเภอ

ในกรณีแรกระบุให้บุตรสาวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง แต่ภายหลังคู่กรณี ได้ตกลงขอเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นของฝ่ายชายเพียงผ้เดียว จะมีวิธีการดำเนินการอย่างไรถึงจะถูกต้องตามกฏหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น - วันที่ตอบ 2008-10-20 23:09:34


ความคิดเห็นที่ 8 (1941296)

ดิฉันแต่งงานมาหกปี   สามีมีภาระหนี้สินมากจากการเล่นการพนันบอลประมารเจ็ดแสน บาท  และนอกใจมีกิ๊กอีกด้วย ดิฉันจึงแยกกันอยู่ไม่เคยมีความสัมพันธ์ทางเพศมาสี่ปีแล้ว สามีรับราชการทหารที่สามจังหวัดชายแดน รายได้รวมเบี้ยเลี้ยง ประมาณสองหมื่นบาทต่อเดือนแต่หักหนี้หมดไม่พอจ่าย เขามาบ้านพักทหารที่ดิฉันอาศัยทุกเดือนแต่ออกจากบ้านไปค้างที่อื่นกลับหกโมงเช้าทุกวัน มีบุตรหญิงหนึ่งคน จดทะเบียนสมรส  ถามว่า

-  ฟ้องหย่าได้ไหมคะ  ถ้าได้ค่าใช้จ่ายประมาณรวมเท่าไร

-  เรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้เท่าไหร่  (ดิฉันเป็นข้าราชการรายได้ประมาณหมื่นห้าพันบาทต่อเดือน)

ผู้แสดงความคิดเห็น สุดจัง วันที่ตอบ 2009-05-22 19:25:22


ความคิดเห็นที่ 9 (1947125)

ฝ่ายชายมีแฟนอยู่แล้วมาหลอกกับเราว่าไม่มีใครแล้วเกิดมีลูกด้วยกัน เค้าไม่ยอมจ่ายค่าเลี้งดูบุตรมา 2-3 เดือนแล้วสามารถจะฟ้องร้องค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือเปล่าค่ะ เรามารู้ว่าเค้ามีแฟนอยู่แล้วหลังจากคลอดลูกได้เดือนกว่า ๆ เค้ายังพาแฟนไปเจอพ่อแม่และญาติ ทั้ง ๆ ที่พ่อแม่และญาติทางฝ่ายชายก็ทราบเรื้องลูกแล้วแต่ก็ยังชวนแฟนสาวไปเที่ยวบ้าน

ผู้แสดงความคิดเห็น กิ่งกาญจน์ (kns_1212-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-06-05 16:43:24


ความคิดเห็นที่ 10 (1947869)

อยากทราบการฟ้องร้องขอเป็นผู้เลี้ยงลูบุตรแต่เพียงผู้เดียวครับ

ผมได้แต่งานกับภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันและมีบุตรหนึ่งคนอายุ6ขวบโดยที่ภรรยาผมเป็นฝ่ายบอกหย่ากับผมก่อนเนื่องจากเค้าได้มีผู้ชายคนอื่น(เป็นแฟนเพื่อนภรรยา)และเขาได้ทิ้งให้ผมเป็นผู้เลี้ยงดูลูกคนเดียวจากอายุ2ขวบจนถึงตอนนี้6ขวบแต่มาไม่กี่เดือนมานี้ภรรยาผมก็ได้มาพาลูกผมไปอยู่ด้วยโดยอ้างว่าจะให้ไปเรียนหนังสือแต่ลูกผมไม่ยินยอมที่จะไปด้วยเนื่องจากลูกผมจะติดพ่อแม่ผมมากทุกครั้งที่ผมไปหาลูกผมจะบอกให้ผมพากลับบ้านและร้องให้ไม่อยากอยู่กับแม่ ผมจึงดำเนินการฟ้องร้องขอเป็นพ่อถูกต้องด้วยกฏหมายโดยการขอให้ศาลสั่งนั้น และเมื่อศาลสั่งแล้วผมจะสามารถเรียกร้องขอเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรแต่เพียงผู้เดียวได้หรือไม่  และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ผมมีสิทธิชนะหรือไม่ และผมจะยกเรื่องการมีชู้ของฝ่ายหญิงมาเป็นข้ออ้างในการขอเป็นผู้เลี้ยงดูบูตรแต่เพียงผู้เดียวได้หรือไม่ โปรดตอบด้วยครับ (โจ้)

ผู้แสดงความคิดเห็น โจ้ (preeaha-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-06-08 09:45:15



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล