ReadyPlanet.com


ลักศพ


การลักศพ เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่

 



ผู้ตั้งกระทู้ มุก :: วันที่ลงประกาศ 2008-07-09 15:37:05


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1798059)

มาตรา 137   ทรัพย์ หมายความว่าวัตถุมีรูปร่าง

 

มาตรา 138   ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้

เบื้องต้นต้องให้ได้ความยุติว่าศพ เป็นทรัพย์หรือไม่ ขณะถูกลัก อยู่ในความครอบครองหรือหวงกันของใคร และจะถือว่าเป็นทรัพย์หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ทรัพย์ก็ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-07-10 07:08:27


ความคิดเห็นที่ 2 (1798060)

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยคืนศพบิดาโจทก์ให้แก่โจทก์
จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะศพบิดาโจทก์ไม่ใช่ทรัพย์สินของโจทก์และบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมอุทิศศพของตนเองให้แก่จำเลยแล้ว

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าผู้ตายทำพินัยกรรมตั้งบุคคลใดโดยเฉพาะให้จัดการศพของผู้ตายได้ พิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ผู้ตายได้แสดงเจตนาอุทิศศพของผู้ตายให้แก่จำเลย หาใช่เพียงแต่ให้ศพไปทำการผ่าตัดให้นักศึกษาหาความรู้เท่านั้นไม่

ที่โจทก์ฎีกาว่า ศพของผู้ตายไม่ใช่ทรัพย์สิน เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกศพของผู้ตายให้แก่จำเลย จึงไม่เกิดผลตามกฎหมายเพราะไม่มีตัวทรัพย์สินที่กำหนดเผื่อตายเห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 นอกจากผู้ตายจะแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินแล้ว ยังแสดงเจตนาในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ คำว่า "การต่าง ๆ" ตามที่กฎหมายบัญญัตินั้นก็สุดแต่ผู้ตายจะได้แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในการต่าง ๆ ไว้ หากชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้จะไม่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ก็มีผลบังคับได้ตามพินัยกรรมเมื่อตนตายแล้ว และการต่าง ๆ นั้นมิใช่จะต้องมีกฎหมายระบุไว้ว่าเป็นการใดบ้าง ผู้ตายได้แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับศพของผู้ตาย โดยอุทิศศพของผู้ตายให้แก่จำเลย และได้ทำถูกต้องตามแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 พินัยกรรมของผู้ตายจึงสมบูรณ์หาเป็นโมฆะไม่

พิพากษายืน ยกฎีกาโจทก์



 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-07-10 07:09:35



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล