ReadyPlanet.com


สามีภรรยา จดทะเบียนหย่ากันหลอก ๆ


ถ้าสามีภรรยาตกลงไปหย่ากันเพราะต้องการหนีหนี้สินไม่ให้ถูกยึดทรัพย์เพราะสามีไปสร้างหนีสินไว้มากมายจะมีผลอย่างไร



ผู้ตั้งกระทู้ มีนตรา :: วันที่ลงประกาศ 2008-08-04 08:42:17


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1813707)

ถ้าสามีภริยามีหนี้สินจำนวนมาก หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประกอบธุรกิจ แต่เพื่อป้องกันหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นมิให้กระทบต่อทรัพย์สินของคู่สมรส จึงยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปไว้ที่คู่นสมรสอีกฝ่ายหนึ่งที่มิได้ประกอบธุรกิจ ดังนั้น จึงสมรู้ร่วมคิดกันจดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยกันทั้งที่ยังอยู่ด้วยกัน ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต จึงไม่มีผลผูกพันไปถึงบุคคบลภายนอก โดยยังถือว่าทั้งคู่ยังคงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของคู่สมรสฝ่ายที่ประกอบธุรกิจมีสิทธนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดสินสมรสออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ โดยคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าวได้และไม่อาจร้องขอกันส่วนของตนกึ่งหนึ่งได้ ทั้งนี้เพราะเป็นหนี้ร่วมที่ทั้งสามีและภริยาต้องร่วมกันรับผิดต่อเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2524

หนังสือข้อตกลงหย่าและการจดทะเบียนหย่า ผู้ร้องกับจำเลยแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างกันกระทำขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการกระทำขึ้นโดยสมยอมจึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดจึงเป็นสินสมรสซึ่งผู้ร้องกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันผู้ร้องไม่มีอำนาจมาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องได้มาในระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภรรยากัน แต่ปรากฏว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ตกลงทำหนังสือหย่าโดยความยินยอมกันไว้ ซึ่งผู้ร้องกับจำเลยตกลงหย่าขาดจากกันและแบ่งสินสมรสกันโดยฝ่ายจำเลยขอรับเงินสดเจ็ดแสนบาทซึ่งได้รับไปแล้วในวันทำสัญญา ส่วนทรัพย์สินอื่นทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ให้ตกเป็นของผู้ร้อง ต่อมาผู้ร้องและจำเลยได้จดทะเบียนหย่ากัน การทำหนังสือข้อตกลงหย่าและการจดทะเบียนหย่าเกิดขึ้นก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ หลังจากนั้นผู้ร้องกับจำเลยก็ยังอยู่กินร่วมบ้านกันที่บ้านผู้ร้องฉันสามีภรรยาและทำมาหากินร่วมกันตามปกติธรรมดาเสมือนหนึ่งมิได้มีการหย่าขาดจากกันตลอดมาจนกระทั่ง พ.ศ. 2518 จำเลยจึงได้หลบหนี้สินไปจากบ้านผู้ร้อง ดังนี้ เชื่อไม่ได้ว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ตกลงหย่าและทำการแบ่งสินสมรสกันเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อเป็นเช่นนี้การที่ผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่ากันตามเอกสารหมาย จ.7 โดยทั้งสองฝ่ายได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบันทึกไว้ด้านหลังทะเบียนหย่าว่าได้ตกลงกันในเรื่องทรัพย์สินที่มีมาก่อนจดทะเบียนหย่าเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงฝ่าฝืนความจริง กรณีถือได้ว่าการที่ผู้ร้องกับจำเลยตกลงทำหนังสือข้อตกลงหย่าและจดทะเบียนหย่ากันเป็นการที่ผู้ร้องกับจำเลยแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างกันกระทำขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการกระทำขึ้นโดยสมยอม จึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดจึงเป็นสินสมรสซึ่งผู้ร้องกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยจากการยึด

พิพากษายืน

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-08-04 20:59:34



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล