ReadyPlanet.com


ฟ้องหย่าได้หรือไม่


ดิฉันแต่งงานและจดทะเบียนกับสามีเมื่อปี 2546 ค่ะ  ต่อมาปี 2548  ทะเลาะกันแม่สามีอย่างรุนแรง  ขณะนั้นสามีทำงานอยู่ต่างจังหวัดค่ะ  ไม่ได้อยู่บ้าน  โดนแม่สามีไล่ออกจากบ้าน  แม่สามีให้สามีเลือกว่าจะอยู่กับใคร สามีเลือกแม่ค่ะ  ดิฉันเลยกลับไปอยู่ที่บ้านแม่ดิฉันตามเดิม โชคดีที่ไม่มีลูกค่ะ หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ดิฉันกับสามีก็ไม่ได้ติดต่อกันอีกเลยจนปัจจุบัน  แต่เมื่อประมาณเดือนที่แล้วสามีโทรมาขอหย่า ด้วยความโมโหดิฉันจึงไม่ยอมหย่าให้  หลังจากนั้นก็ติดต่อสามีไม่ได้อีกเลย  คำถามค่ะ

1.  ถ้าเป็นอย่างนี้ดิฉันจะฟ้องหย่าและเรียกค่าเลี้ยงดูได้ไม๊คะ  (ปัจจุบันสามีเงินเดือน 30000 ค่ะ  ดิฉันเงินเดือน 2000)

2.  ถ้าสามีต้องการหย่าจริง ๆ เค๊าสามารถฟ้องหย่าโดยใช้เหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปีได้หรือไม่ อย่างไร

 



ผู้ตั้งกระทู้ ลังเล :: วันที่ลงประกาศ 2008-08-02 17:21:10


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1812620)

ขอโทษค่ะ post ผิด  ปัจจุบันดิฉันเงินเดือน 20000 ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลังเล วันที่ตอบ 2008-08-02 17:22:40


ความคิดเห็นที่ 2 (1812742)

คำถาม*  

1.  ถ้าเป็นอย่างนี้ดิฉันจะฟ้องหย่าและเรียกค่าเลี้ยงดูได้ไม๊คะ  (ปัจจุบันสามีเงินเดือน 30000 ค่ะ  ดิฉันเงินเดือน 20000)

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 บทบัญญัติตามอนุมาตรา (6)

(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

คุณน่าจะตั้งเรื่องฟ้องหย่าด้วยเหตุไม่อุปการะเลี้ยงดูฉันสามีภริยาตามสมควรหรือสมัครใจแยกกันอยู่ก็ได้ แต่เมื่อเรื่องไปสู่ศาลแล้วก็ขอให้ศาลมีคำสั่งให้หย่ากันโดยสัญญาประนีประนอมยอมความได้เพราะทางสามีคุณก็มีความประสงค์จะขอหย่าอยู่แล้วครับ

ส่วนเรื่องการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น

มาตรา 1526 ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนล เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่าง สมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่า เลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ ให้และฐานะของผู้รับและให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1598/39,มาตรา 1598/40 และ มาตรา 1598/41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด ถ้ามิได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดี หย่านั้น

ดังนั้นตามกฎหมายแล้วศาลจะสั่งให้คุณหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรครับ

2.  ถ้าสามีต้องการหย่าจริง ๆ เค๊าสามารถฟ้องหย่าโดยใช้เหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปีได้หรือไม่ อย่างไร

การที่จะยกเหตุสมัครใจแยกกันอยู่นั้นต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจที่จะแยกกันอยู่จริง ๆ ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแยกไปอยู่ต่างหากเพราะเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถทนอยู่กับสามีได้เช่นตามที่คุณเล่ามาก็ไม่ได้มีปัญหากับสามีโดยตรงแต่ที่คุณกล่าวอ้างว่าเพราะเหตุมารดาของสามีจึงได้ออกจากบ้าน ดังนี้แล้วจะเห็นได้ว่าตัวคุณเองก็ไม่ได้สมัครใจแยกกันอยู่กับสามี

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อต่างฝ่ายต่างก็ประสงค์จะหย่ากันหากคุณไม่ต่อสู้ก็ไม่มีประเด็นว่าสมัครใจหรือไม่ เมื่อตกลงกันแล้วว่าต้องการหย่าศาลก็ต้องหย่าให้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-08-02 23:22:21



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล