ReadyPlanet.com


ต่อเติมบ้านบนที่ดินผู้อื่น


มารดาของดิฉันได้ต่อเติมบ้าน โดยมีผนังบ้านเดียวกันกับบ้านของคุณยาย โดยไม่มีการขอแบ่งแยกโฉนดให้เป็นสัดส่วน แค่เป็นความเข้าใจร่วมกันและโดยวาจาว่าจะยกให้เป็นมรดกภายหลัง ต่อมา มารดาของดิฉันได้เสียชีวิตก่อนคุณยาย ดิฉันยังคงอยู่ที่บ้านหลังนี้ต่อมาจนถึงปัจจุบัน (ต่อเติมใหม่ตั้งแต่ปี 2526)

ปี 2546 คุณยายเสียชีวิตโดยไม่มีพินัยกรรม มีทรัพย์มรดกคือบ้านและที่ดินของคุณยาย ซึ่งรวมกับบ้านที่มารดาดิฉันต่อเติมออกมา (บนโฉนดเดียวกัน) 1 หลัง

ขอถามว่า 1. ดิฉันสามารถใช้สิทธิ์รับมรดกแทนที่ในส่วนของมารดาได้ใช่หรือไม่ (บุตรที่ยังมีชีวิตของคุณยายยังมีอยู่อีก 2 คน) 2. ดิฉันสามารถอ้างสิทธิ์ใด ในการกันส่วนของบ้านที่ต่อเติม(ดังกล่าวข้างต้น) ไม่ให้รวมเป็นส่วนหนึ่งของมรดกที่ต้องหารแบ่งร่วมได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ หญิงหัวเดียวกระเทียมลีบ :: วันที่ลงประกาศ 2008-08-27 16:54:07


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1827209)

1. รับมรดกแทนที่ได้ครับ ส่วนของมารดาคุณย่อมตกเป็นของคุณ

มาตรา 1639 ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อน เจ้ามรดกตายถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทน ที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัด มิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับ มรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคล เป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

 

2. สำหรับบ้านที่ต่อเติม เมื่อไม่มีการก่อตั้งสิทธิใด ๆในการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นย่อมตกเป็นส่วนควบของที่ดินนั้นผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินย่อมเป็นเจ้าของส่วนควบนั้น

มาตรา 144   ส่วนควบของทรัพย์หมายความว่าส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้นและไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลายทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือ สภาพไป

เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น

มาตรา 146   ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้นความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้ สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย

 ดังนั้นหากคุยกันไม่สามารถตกลงกันได้ก็ย่อมตกเข้ากองมรดกและแบ่งแก่ทายาทต่อไปซึ่งรวมถึงคุณด้วยครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-08-27 22:23:28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล