ReadyPlanet.com


ถูกเลิกจ้าง


ข้าพเจ้าทำงานเป็นพนักงานบัญชีอยู่บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับการขุดเจาะน้ำมัน ในปีนี้สัญญาที่ทำไว้กับลูกค้าได้หมดลง และไม่สามารถประมูลงานในไทยได้ ทำให้รายได้ลดลงไปมาก แต่ทางบริษัทก็ยังพอมีรายได้ จากการส่งคนไปทำงานกับบริษัทในเครือที่เมืองนอกซึ่งกิจการก็ยังไม่ขาดทุน บริษัทได้เลิกจ้างข้าพเจ้าและพนักงานชั่วคราวอีก1 โดยให้เหตุผลว่าต้องการลดค่าใช้จ่าย คนทั้งที่แผนกของข้าพเจ้ามีกันอยู่4คนโดยที่ทุกคนต่างทำงานเกินเวลาปกติทั้งนั้น โดยทางบริษัทได้แจ้งล่วงหน้า1เดือน และจ่ายค่าชดเชยให้อีก3เดือน โดยทำงานวันสุดท้ายวันที่31ส.ค.51 บริษัทเพิ่งมีการปรับขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงานบางคน โดยที่แผนกของข้าพเจ้าไม่ได้ปรับขึ้นเลย กรณีนี้ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ข้าพเจ้าสามารถเรียกร้องเงินเพิ่มเติมได้หรือไม่ ข้าพเจ้าอายุงาน2ปีครึ่ง ถ้าได้อยู่ถึงสิ้นปี จะได้การันตีโบนัสอีก1เดือน แล้ววันลาพักร้อนมีสิทธิ์ได้เต็มจำนวนหรือไม่หรือหรือว่าได้เพียง3/4เนื่องจากออกเดือนสิงหาคม รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ



ผู้ตั้งกระทู้ เตะฝุ่น :: วันที่ลงประกาศ 2008-08-16 18:15:06


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1820837)

กรณีการจ้างงานที่ไม่มีระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน ตามกฎหมาย การเลิกจ้างจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อถึง หรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้มีผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป

ในกรณี หากนายจ้างบอกเลิกสัญญาให้มีผลล่วงหน้าแล้ว แต่ไม่ประสงค์จะให้ลูกจ้างปฏิบัติงานจนถึงวันที่จะให้เลิกสัญญาแล้ว นายจ้างจะจ่ายสินจ้างให้ครบตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวนั้นแทนก็ได้ ซึ่งเรามักจะเรียกกันว่า สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

ระยะเวลาในการบอกกล่าวล่วงหน้า เพื่อให้มีผลเลิกสัญญากันในงวดการจ่ายสินจ้างคราวต่อไปนั้น วันที่บอกกล่าวจะต้องเป็นวัน ก่อน หรือ ภายใน วันจ่ายค่าจ้าง เพื่อให้การบอกเลิกสัญญานั้น เต็ม ระยะเวลาของงวดการจ่ายเงินล่วงหน้าดังกล่าว การบอกเลิกสัญญาช้าไปเพียง 1 วัน อาจมีผลทำให้การบอกเลิกสัญญานั้นไม่ครบกำหนดเวลาในวันจ่ายสินจ้างคราวต่อไป ซึ่งจะมีผลทำให้นายจ้างต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามากกว่าค่าจ้าง 1 งวดได้

มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบหนึ่งปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบสามปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีแต่ไม่ครบหกปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปีแต่ไม่ครบสิบปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(5) ลูกล้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไปให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้างตามมาตรานี้หมายความว่าการกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใดและหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้ สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตาม ฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งงานนั้นจะต้อง แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

นายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้แต่ต้องจ่ายค่าชดเชยและเงินอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

เมื่อนายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าและได้จ่ายค่าชดเชยให้คุณตามที่กฎหมายกำหนดแล้วย่อมเป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

สำหรับวันลาพักร้อนนั้นก็คิดถึงวันทำงานคือสิ้นเดือนสิงหาคม ดังนั้นจึงเป็น 3/4 ตามที่คุณเข้าใจนั้นถูกต้องแล้ว

มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับแรงงาน ลองโทรไปปรึกษาเจ้าพนักงานตรวจแรงงานได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-08-17 15:14:37



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล